รู้หรือไม่ !? พร้อมเพย์ คือจุดเริ่มต้นของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
ในยุคดิจิทัลที่การทำธุรกรรมออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ ประชาชนเริ่มคุ้นเคยกับการใช้พร้อมเพย์เพื่อโอนเงิน จ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ แทนการใช้เงินสด หลายคนอาจไม่ทราบว่า พร้อมเพย์ นั้น นอกจากจะเป็นระบบการชำระเงินที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการปูทางสู่อนาคตของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
พร้อมเพย์ (Promptpay) เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic tax system) เพราะช่วยให้ กรมสรรพากร สามารถโอนเงินคืนภาษีให้กับผู้เสียภาษีได้โดยตรง ผ่านหมายเลขประจำตัวประชาชน (เลข 13 หลัก) สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยไม่ต้องรอเช็คประชาชน สามารถตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีออนไลน์ได้สะดวก โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากร
พร้อมเพย์ คือบริการโอนเงินและรับเงินแบบทันที ที่ใช้หมายเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ (หรือหมายเลขอื่นของผู้รับ) แทนเลขที่บัญชีธนาคาร ผ่านช่องทางดิจิทัล โดยเสียค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าการทำธุรกรรมในอดีต ถ้าหากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนหน้า กรมสรรพากรเริ่มริเริ่มระบบ พร้อมเพย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้สะดวกรวดเร็ว ย่นระยะเวลาการรอคอย และลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก โดยประชาชนสามารถรับเงินคืนภาษีผ่านบัญชีธนาคารที่ผูกกับบัตรประชาชน
ต่อมาในปัจจุบัน กรมสรรพากรได้ต่อยอดระบบ พร้อมเพย์ ไปสู่ระบบ e-Tax Invoice โดยให้ผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) แทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ซึ่งช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเอกสาร
e-Tax Invoice นั้น ประกอบไปด้วย 2 รูปแบบหลัก ดังนี้
1.e-Tax Invoice by Time Stamp ซึ่งเหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการสามารถส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอีเมล โดยต้องลงทะเบียนกับทางกรมสรรพากร และนำส่งตามอีเมลที่แจ้งไว้ โดยทุกการส่งเอกสารจะส่งได้ 1 เอกสาร ต่อ 1 อีเมล อาจไม่เหมาะสมกับธุรกิจที่ออกเอกสารเป็นจำนวนมาก
2.e-Tax Invoice & e-Receipt เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยระบบนี้รองรับการใช้งานทั้งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์(e-tax invoice), ใบรับอิเล็กทรอนิกส์(e-receipt),ใบเพิ่มหนี้อิเล็กทรอนิกส์(e-debit note), ใบลดหนี้อิเล็กทรอนิกส์(e-credit note) ฯลฯ โดยเอกสารจะมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) บนเอกสาร ซึ่งได้รับความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัย รองรับในระดับสากล
ภาคธุรกิจ สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) แทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ช่วยลดต้นทุนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพราะทุกเอกสารมีการประทับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (digital signature) อีกด้วย
ปัจจุบัน ระบบ e-Tax Invoice ได้กลายเป็นระบบมาตรฐานสำหรับการออกใบกำกับภาษีในประเทศไทย ช่วยให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาษีมากยิ่งขึ้น
Promptpay (พร้อมเพย์)
พร้อมเพย์ คือจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้การพัฒนาระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปได้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้การเสียภาษีสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์อื่นๆ ของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์อีกมากมาย เช่น
- ลดการทุจริต
- ส่งเสริมการค้าออนไลน์
- กระตุ้นเศรษฐกิจ
- รัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้ครบวงจร เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ
จุดประสงค์ของ Promptpay (พร้อมเพย์)
- เพื่อส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้ช่องทางดิจิทัลในการทำธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น
- เพื่อลดการพึ่งพาเงินสด
- เพื่อลดต้นทุนค่าธรรมเนียมการโอนเงิน
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงิน
- เพื่อสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0
ประเภทของ Promptpay (พร้อมเพย์)
- พร้อมเพย์บุคคลธรรมดา ใช้สำหรับโอนเงินและรับเงินระหว่างบุคคลธรรมดา
- พร้อมเพย์ธุรกิจ ใช้สำหรับโอนเงินและรับเงินระหว่างธุรกิจ
- พร้อมเพย์ภาครัฐ ใช้สำหรับโอนเงินจากภาครัฐไปยังประชาชน
ตัวอย่างการใช้พร้อมเพย์
- การยื่นแบบแสดงรายการภาษีออนไลน์: ประชาชนสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากร
- การชำระภาษีออนไลน์: ประชาชนสามารถชำระภาษีผ่านระบบพร้อมเพย์ได้สะดวก โดยไม่ต้องไปธนาคาร
- การขอคืนภาษี: กรมสรรพากรสามารถโอนเงินคืนภาษีให้กับผู้เสียภาษีได้โดยตรง ผ่านระบบพร้อมเพย์
ประโยชน์ของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
- สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา: ประชาชนสามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับภาษีได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากร
- โปร่งใส ตรวจสอบได้: ข้อมูลการเสียภาษีจะถูกเก็บไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้ตรวจสอบได้ง่าย
- ลดต้นทุน: ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการหันมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax) กันมากขึ้น
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: ช่วยลดการใช้กระดาษ
อนาคตของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
ในอนาคต ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ประชาชนสามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับภาษีได้ครบวงจร ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากร
พร้อมเพย์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่อนาคตของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะช่วยให้การเสียภาษีสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การใช้งานพร้อมเพย์ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- Debit Cards บัญชีเงินฝากที่ถูกผูกไว้กับแอพพลิเคชั่นของธนาคาร สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้สะดวกขึ้น ทุกครั้งที่มี การใช้จ่ายผ่านบัญชี ระบบของธนาคารจะหักเงินออกจากบัญชีโดยตรง.
- Payment Gateway เป็นการชำระเงินออนไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ หรือจ่ายเงินซื้อของได้สะดวกรวดเร็ว ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือจะเลือกชำระผ่านธนาคารโดยตรง ได้เหมือนกัน
- Mobile Banking การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร ผ่าน โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์
- CVV การกรอกรหัส 3 ตัวที่อยู่บนบัตร หรือหรัส CVV เพื่อยืนยันตัวตนเจ้าของบัตรทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมต่างๆบนสื่อออนไลน์
- E-payment (Electronic Payment System) เป็นระบบชำระเงินหรือการทำธุรกรรม ผ่าน อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ
- Credit Cards เป็นสินเชื่อส่วนบุคคลที่สามารถนำมาใช้จ่ายออนไลน์ ทางธนาคารจะเป็นผู้กำหนดวงเงินในการใช้จ่าย และจ่ายคืนตามยอดที่ใช้จริงในระยะเวลาที่ธนาคารเป็นผู้กำหนด.
- OTP (One Time Password) การกรอก OTP เพื่อทำธุรกรรม ทุกครั้งที่มีการกรอกข้อมูลบัตรจ่าย เพื่อจ่ายเงินออนไลน์ และรหัสผ่าน จะถูกส่งเข้าเบอร์มือถือที่เชื่อมกับบัตรใบนั้น
- Internet Banking เป็นธุรกรรมการงินผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีความปลอดภัย และธนาคารที่มีความน่าเชื่อถือ ที่ทำผ่าน แอพพลิเคชั่น หรือ อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ
ตัวอย่างการใช้งานพร้อมเพย์สำหรับระบบภาษี
- สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีออนไลน์ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยใช้หมายเลขประจำตัวประชาชนและเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์
- วิธีหรือขั้นตอนการชำระภาษีออนไลน์สามารถชำระภาษีผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร หรือแอปพลิเคชั่นธนาคาร โดยใช้หมายเลขประจำตัวประชาชนและเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์
- พร้อมเพย์ เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ ช่วยให้การเสียภาษี มีประสิทธิภาพมากขึ้น