ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย

ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่ทุกคนจะต้องเคยได้ยินมาบ้าง แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ เราจะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย คือ เงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการ ยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้ากิจการไม่หักไว้ จะถือว่าเป็นความผิดของกิจการ หรือบางครั้งเจอคู่ค้าที่ไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย แนะนำว่าควรเปลี่ยนเจ้า เพราะตามหลักการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ออกให้ทันภายในกำหนดเวลา มีความถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด ต้องหักเมื่อไร เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่…

ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต่างๆต้องเป็นรับเป็นภาระภาษีไว้ทั้งหมด ไม่สามารถผลักภาระให้กับผู้อื่นได้เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีทางตรงซึ่งที่จัดเก็บตามบท บัญญัติประมวลกฎหมายรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท ตามหลักเกณฑ์เงินสด หากเงินได้ประเภทใดที่ได้รับ การยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนั้น จะต้องบัญญัติไว้โดยกฎหมายว่าเงินได้ประเภทนั้นได้รับการยกเว้น หน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้า ที่จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ กรมสรรพากร ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและ มีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติ จัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไป แสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษี ภาษีทางอ้อม คือ เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากสินค้าและบริการก่อนที่จะไปถึงลูกค้า ซึ่งเป็นการชำระภาษีทางอ้อมในที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของราคาตลาดของสินค้าและบริการที่ได้ทำการซื้อขายภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้มีหน้าเสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต (VAT) คือเจ้า Vat 7% ที่อยู่ในค่าสินค้า หรือบริการต่างๆ นั่นเอง ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากฐานบริโภคทั่วไปภายในประเทศ ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจประกันชีวิต,กิจการโรงรับจำนำ อากรแสตมป์…