ภาษีธุรกิจ

ภาษีทางธุรกิจ การรู้เรื่องภาษีสำคัญมากในการทำธุรกิจ กฎหมายทางภาษีจะกำหนดระยะเวลาในการยื่นเอกสารเเละชำระภาษี หากไม่ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนด จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น เบี้ยปรับ ค่าปรับอาญา เเละเงินเพิ่มตามกฎหมาย ทำธุรกิจเสียภาษีอะไรบ้าง? รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไร (ทางบัญชี) รายได้ : ภาษีมูลค่าเพิ่ม (รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) ค่าใช้จ่าย : ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (เงินเดือน,ค่าบริการ, ค่าเช่า), ภาษีป้าย, ภาษีที่ดิน กำไร (ทางบัญชี) : ภาษีเงินได้นิติบุคคล  (ภาษีครึ่งปี,ภาษีประจำปี) ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ ประเภทภาษี ความหมาย วิธีการคำนวณ อัตราภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีที่เก็บจากผู้บริโภคภายในประเทศ เช่น การซื้อสินค้าหรือการใช้บริการ ราคาสินค้า/บริการ * อัตราภาษี 7% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นรูปแบบภาษีอย่างหนึ่ง ที่ผู้ซื้อสินค้า/บริการ หักออกจากยอดเต็มที่จะจ่ายให้กับผู้ขายสินค้า/บริการ…

บทความ และ กิจกรรม

5 ข้อดีทำไมต้องเป็นมาใช้ e-Tax Invoice (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) คืออะไร ใช้ตอนไหน (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ถ้าเราชำระภาษีไม่ทันตามที่กรมสรรพากรกำหนดต้องทำยังไง? (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีในการประกอบธุรกิจ มี 7 ประเภทหลัก (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีทางตรงเเละภาษีทางอ้อมต่างกันยังไง (คลิกเพื่ออ่านต่อ) การวางเเผนภาษีของบุคคลกับนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียต่างกันดังนี้ (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีไม่จ่ายได้ไหม (คลิกเพื่ออ่านต่อ) จัดทำ e-Tax ยังไง เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ Thailand 4.0 (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ระดับความปลอดภัยในการใช้งานระบบ e-tax (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 (คลิกเพื่ออ่านต่อ) Page 1  2 3 4 พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

e-Document คืออะไร

e-Document คืออะไร e-Document คือ เอกสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดทำเอกสารแบบไร้กระดาษ (Paperless) และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้งาน เพื่อจัดเก็บเอกสารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และยังช่วยในเรื่องของการประหยัดงบประมาณและทรัพยากรภายในองค์กรเพิ่มขึ้นอีกด้วย ข้อดีของการใช้ e-Document มีอะไรบ้าง ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับการทำงาน ซึ่งไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์องค์กรดีอย่างเดียงแต่ยังช่วยให้ การทำธุรกิจมีการเติบโตและดูมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสในการทำงานเพื่อให้ธุรกิจเติบโตและประสบความสำเร็จในเรื่องของธุรกิจมากยิ่งขึ้น ข้อดีของการใช้งาน e-Document มีประโยชน์ประเภทใดบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ลดต้นทุนในการซื้อกระดาษและงานพิมพ์ ลดค่าใช้จ่ายให้กับทางบริษัทเป็นอย่างมาก สะดวกในการค้นหาเอกสาร ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ เก็บเอกสารในระบบดิจิทัล ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการสูญหาย ไฟไหม้ หรือถูกขโมย และสามารถเลือกหรือตั้งค่าการใช้งานภายในระบบ และ เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานได้สามารถตั้งค่าสิทธิ์การเข้าถึงเอกสารเพื่อควบคุมว่าใครสามารถดู แก้ไข หรือลบเอกสารได้ดีอีกด้วย ความปลอดภัยของการใช้งาน e-Document สามารถกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลได้อีกด้วย เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลที่สำคัญต่างๆอีกด้วย โดยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) สามารถลงลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature) ที่เปรียบเสมือน ตราประทับรับรองบริษัท ได้รับการยืนยันตัวตน ไม่สามารถปลอมแปลงได้นั่นเองค่ะ มีมาตรฐานในการรองรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หลากหลายแพลตฟอร์ม เช่น Windows Macos ระบบโปรแกรมเบราว์เซอร์ Safari หรือ Google…

ไฟล์ XML คืออะไรนะ

ไฟล์ xml คืออะไรนะ XML ย่อมาจาก eXtensible Markup Language เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้ในการเเสดงข้อมูล เหมาะสำหรับการเเลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยทางกรมสรรพากรกำหนดให้รูปแบบเอกสารในการจัดทำเอกสารในระบบe-Tax Invoice & Receipt ให้นำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของไฟล์ XML นั่นเองค่ะ ข้อมูล XML Data จะเก็บตัวเนื้อหาสาระของเอกสารที่ออกจากระบบ โดยมีลายมือชื่อดิจิทัลกำกับอยู่ด้านล่างของไฟล์เอกสารทุกไฟล์ เพื่อเป็นการควบคุมเนื้อหาภายในเอกสาร หากใครมาเเก้ไขข้อมูลใน XML Data เเละไม่ได้มีการลงลายมือชื่อดิจิทัลใหม่ จะถือได้ว่าเอกสารนั้นไม่ถูกต้อง การเเลกเปลี่ยนข้อมูลในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล จะมาจากเจ้าของข้อมูลต้นทางจริง ข้อมูลจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างทาง เเละ เจ้าของข้อมูลที่ส่งเอกสารมาให้เราจะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อข้อมูลที่ส่งออกมาได้ พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

เอกสารที่ต้องส่งในระบบ etax invoice & e-receipt

เอกสารใดบ้างที่ต้องส่งในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 เเห่งประมวลรัษฎากร2.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อ (Abbreviated e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/6 เเห่งประมวลรัษฎากร3.ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรา 105 ทวิ เเห่งประมวลรัษฎากร4.ใบเพิ่มหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-Debit Note) ตามมาตรา 86/9 เเห่งประมวลรัษฎากร5.ใบลดหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-Crebit Note) ตามมาตรา 86/10 เเห่งประมวลรัษฎากรโดยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้น ต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) ใช้งานยังไงนะ

Digital Certificate หรือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ Digital Certificate หรือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการพิสูจน์ตัวตนของหน่วยงานเเละบริษัท หรือเปรียบเสมือนบัตรประชาชนของบุคคลธรรมดานั่นเอง ใช้สำหรับการลงลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature) บนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น บริษัทมีหลายสาขา ต้องซื้อ Digital Certificate เเยกตามสาขาไหมนะ โดยในกรณีที่บริษัทมีหลายสาขา ไม่จำเป็นต้องซื้อDigital Certificate เเยกตามสาขา สามารถใช้ใบรับรองใบเดียวกับทุกสาขาได้เลยค่ะ พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

ช่องทางการนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice)

ช่องทางการนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e tax invoice) ช่องทางการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ทางกรมสรรพากร ประกอบด้วย 3 ช่องทาง คือ เเบบWeb upload, เเบบ Service provider เเละเเบบ Host-to-Host โดยการเลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับซอฟต์เเวร์ระบบงานบัญชีที่คุณใช้งานอยู่ เเละการลงทุนของระบบ ซึ่งเเต่ละช่องทางมีค่าใช้จ่ายเเตกต่างกันจึงต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียด เพื่อให้เกิบความคุ้มค่ามากที่สุด เเละเหมาะสมต่อการใช้งาน การนำส่งแบบ Web Upload : สามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ XML ที่มีขนาดไม่เกิน 2 MB พร้อมทั้งลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน RD Website การนำส่งเเบบ Service Provider : สามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ XML หรือ Text พร้อมทั้งลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Service provider การนำส่งเเบบ Host-to-Host : สามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ XML หรือ…

e receipt ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คืออะไร ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt) เป็นหนึ่งในประเภทเอกสารที่ทางกรมสรรพากรกำหนดให้สามารถจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตามมาตรา 105 ทวิ เเห่งประมวลรัษฎากร ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt) คือ เอกสารที่บริษัทหรือผู้ขายสินค้าออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการในการแสดงข้อมูลสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยจัดทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น​ PDF/A-3, XML หรืออื่นๆ ซึ่งลงลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature) ตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนด เเละนำส่งให้กับลูกค้าเเละกรมสรรพากรค่ะ รายละเอียดของข้อมูลที่ประกอบในเอกสาร ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่รับใบกำกับภาษี เลขที่ของใบกำกับภาษี/ใบรับ รายละเอียดเเละมูลค่าสินค้า/บริการ จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี ลายมือชื่อดิจิทัลที่สอดคล้องกับข้อมูลในเอกสาร พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

eTax คืออะไร? ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?

etaxคืออะไร? ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร? โลกในยุคปัจจุบันก้าวสู่สังคมอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีเข้ามาอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค เเละทางธุรกิจมากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ไม่เพียงเเต่ทำให้การทำงานสะดวกเเละรวดเร็วขึ้น เเต่ยังสามารถลดต้นทุนในการดำเนินกิจการได้อีกด้วย ไม่ใช่ภาคเอกชนเองที่ต้องปรับตัว ทางภาครัฐก็ส่งเสริมเเละมีนโยบายในการผลักดันให้เป็นระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) เเละเข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร รวมทั้งทางกรมสรรพากร ได้พัฒนา ระบบใบกำกับภาษีเเละใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) เพื่อรองรับการจัดทำ จัดส่ง เเละจัดเก็บใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เเละใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้เหมาะสม สะดวกกับผู้ประกอบการ รวมทั้งลดปัญหาเอกสารสูญหาย หาเอกสารไม่เจอ เเละยังลดต้นทุน เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย ความต่างระหว่างใบกำกับภาษีเเบบกระดาษ vs. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารใดบ้างที่ต้องส่งในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 เเห่งประมวลรัษฎากร 2.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อ (Abbreviated e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/6 เเห่งประมวลรัษฎากร 3.ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรา 105…

เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำ e-Tax Invoice

เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำ e-Tax Invoice 1.ศึกษากฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย  (1) พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 (2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (3) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สาหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ขมธอ.3-2560) (4)ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการใช้ข้อความ XML สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน (ขมธอ.14-2560) และศึกษาวิธีการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ 2.เตรียมพร้อมระบบงานของกิจการในการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่เหมาะสม 3.จัดเตรียมใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) 4.ขออนุมัติกรมสรรพากร ความเเตกต่างระหว่าง ระบบ e-Tax Invoice by Email เเละ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ผู้ประกอบการสามารถเลือกจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ 2 วิธี 1.ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt…