e-signature กับ digital signature

e-Signature กับ Digital Signature คืออะไร เกี่ยวข้องกันมั้ย มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ

e-Signature กับ Digital Signature คืออะไร เกี่ยวข้องกันมั้ย มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ ในอดีต เมื่อมีการทำธุรกรรมหรือสัญญาใด ๆ มักต้องพิมพ์เอกสารออกมาเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องลงนามบนกระดาษ แต่ในยุคที่การทำงานออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้ e-Signature หรือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาแทนที่ลายเซ็นแบบดั้งเดิม การลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ซึ่งมีผลตามกฎหมายมานานแล้ว ที่คุ้นเคยกันในปัจจุบัน คือ การที่ผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าหรือคู่ค้าแบบไม่ต้องใช้กระดาษเลยหรือที่เรียกว่า e-Tax Invoice ซึ่งมีการยืนยันตัวตนโดยใช้การลงลายมือชื่อดิจิทัล  ผู้ประกอบการหลายท่านอาจกำลังสงสัย เมื่อพูดถึงระหว่าง Electronic Signature กับ Digital Signature ตกลงแล้วคืออะไร? เป็นเรื่องเดียวกันมั้ย? และลายมือชื่อดิจิทัลมีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง? บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักให้มากขึ้นค่ะ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature หรือ e-Signature) คืออะไร? e-Signature หรือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือการแสดงเจตนาลงนามในเอกสารผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่เซ็นชื่อบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากกว่านั้น เช่น การพิมพ์ชื่อ การคลิกยอมรับ หรือ…

e-Tax invoice & e-Receipt

ธุรกิจของคุณควรเริ่มใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt แล้วหรือยัง?

ธุรกิจของคุณควรเริ่มใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt แล้วหรือยัง? การทำธุรกิจในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนในอดีต ทั้งจากการแข่งขันที่สูงขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนผ่านของระบบต่าง ๆ สู่ยุคดิจิทัล หนึ่งในเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ทัน คือ ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามกฎหมายภาษีของประเทศไทย หากธุรกิจมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า โดยการจัดทำใบกำกับภาษีมักอยู่ในรูปแบบกระดาษ และต้องเก็บรวบรวมไว้เพื่อจัดส่งให้กรมสรรพากร ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และแบบออนไลน์ ทุกวันที่ 23 ของเดือนถัดไป (ตรวจสอบเพิ่มเติม: https://www.rd.go.th/62348.html) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน กรมสรรพากรได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการจัดทำและส่งเอกสารภาษีในระบบออนไลน์ โดยใช้ลายเซ็นดิจิทัลและผ่านการรับรองจากระบบกลางของกรมสรรพากร จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มตั้งคำถามว่า “ธุรกิจของเราควรเริ่มเปลี่ยนมาใช้ e-Tax Invoice แล้วหรือยัง?”บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจระบบ e-Tax ตั้งแต่พื้นฐาน ข้อดี-ข้อเสีย รวมถึงแนวทางในการตัดสินใจว่าคุณควรเริ่มต้นใช้งานหรือไม่? สารบัญ e-Tax Invoice &…

รัฐควรเก็บภาษี VAT กับธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่?

รัฐควรเก็บภาษี VAT จากกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่? พาส่องปัญหาธุรกิจ SMEs กับระบบภาษีไทย

รัฐควรเก็บภาษี VAT จากกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่? พาส่องปัญหาธุรกิจ SMEs กับระบบภาษีไทย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากข่าวที่รัฐเตรียมเก็บภาษีจากธุรกิจรายย่อยที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี เป็นประเด็นร้อนในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME อย่างมากถึงความเหมาะสมของนโยบายที่ ‘รัฐควรเก็บภาษี VAT จากกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่?’ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้ ธุรกิจที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ถูกยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายมากขึ้น ” นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ เผยแนวทางเพิ่มรายได้รัฐ อาจมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% จากธุรกิจที่มีรายได้ 1.5 ล้านบาทต่อปี อาจเพิ่มเป็นแวตประเภทที่ 2 เหมือนกรณีในประเทศยุโรปทำ ซึ่งประเมินว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้หากสามารถขยายฐานภาษีมูลค่าเพิ่มได้กว้างขึ้น นำคนเข้าระบบได้มากขึ้น จะทำให้รัฐบาลจัดทำงบฯ ขาดดุลต่ำลง จากปัจจุบันขาดดุลอยู่ที่ 4.4% ของ GDP อาจเหลือแค่ 3.5% ซึ่งการลดรายจ่ายของรัฐบาลทำได้ยาก จำเป็นต้องเพิ่มรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น โดยรัฐมองว่า ปัจจุบันคนรุ่นใหม่หันมาทำธุรกิจมากขึ้น…

e-Tax หักรายจ่ายได้ 2 เท่า ประหยัดภาษี ลดหย่อนภาษี

ลงทุนกับ EtaxEasy (e-Tax Invoice & e-Receipt) หักรายจ่ายได้ 2 เท่า!

ลงทุนกับ EtaxEasy (e-Tax Invoice & e-Receipt) หักรายจ่ายได้ 2 เท่า! การวางแผนจัดการภาษีสำหรับนิติบุคคล หรือ ธุรกิจ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืน เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินอีกด้วย หนึ่งในแนวทางที่ได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่ปีมานี้ คือ การลงทุนในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การออกเอกสารภาษีมีความสะดวก ถูกต้อง และรวดเร็วแล้ว ยังมาพร้อมกับ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สามารถ “หักรายจ่ายได้ 2 เท่า” ตามมาตรการสนับสนุนของกรมสรรพากร ธุรกิจที่วางแผนล่วงหน้าและเลือกใช้ระบบเหล่านี้อย่างถูกต้องจึงไม่เพียงแค่ “ประหยัดเวลา” แต่ยัง “ประหยัดภาษี” ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย (อ่านบทความเพิ่มเติม ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร?) รายจ่ายใดบ้างสามารถหักรายจ่ายจากการลงทุนได้ 2 เท่า รายจ่ายใดบ้างสามารถหักรายจ่ายจากการลงทุนได้ 2 เท่า เมื่อบริษัทเข้าระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt (ตามการขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม…

ระบบ e-Tax : ทำไมธุรกิจค้าปลีกถึงควรเปลี่ยนมาใช้ระบบ e-Tax ในปี 2025?

ทำไมธุรกิจค้าปลีกต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบ e-Tax ในปี 2025 | ประโยชน์และข้อควรรู้

ปี 2025 เป็นปีที่ธุรกิจค้าปลีกทุกขนาดต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบภาษีของไทย โดยเฉพาะการใช้ ระบบ e-Tax เพื่อทดแทนเอกสารกระดาษแบบเดิม บทความนี้จะสรุปเหตุผลว่าทำไมคุณต้องรีบปรับตัว พร้อมข้อดีที่ไม่ควรมองข้าม e-Tax คืออะไร? e-Tax คือ ระบบในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ทดแทนการออกใบกำกับภาษีรูปแบบเดิมหรือรูปแบบกระดาษ โดยขั้นตอนการดำเนินการ เมื่อมีการขอใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการขายสินค้า ผู้ประกอบการจะคีย์ข้อมูลและพิมพ์เอกสารต้นฉบับและสำเนาลงกระดาษ จากนั้นก็จะส่งเอกสารไปยังผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อเก็บต้นฉบับไว้ ส่วนผู้ขายเก็บสำเนาจัดเก็บเข้าแฟ้ม และรักษาเอกสาร 5-10 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากธุรกิจนั้นจำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีเป็นจำนวนมากก็ต้องเช่าคลังเพื่อเก็บเอกสาร และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเอกสารเหล่านั้น แต่การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จะนำส่งเอกสารให้ลูกค้ารวมถึงส่งให้กับกรมสรรพากรในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล ตามมาตราฐานที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งการใช้ระบบ e-tax ต้องมีการยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษีโดยลงลายมือชื่อดิจิทัล (digital signature) เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ ทำไมธุรกิจค้าปลีกต้องเปลี่ยนมาใช้ e-Tax ในปี 2025 1. ปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ เหตุผลประการแรกที่สำคัญที่สุด คือภายในปี 2571 กรมสรรพากรมีนโยบายสนับสนุนและผลักดันให้ทุกธุรกิจรวมทั้งธุรกิจค้าปลีกเข้าสู่ระบบ e-Tax โดยกรมสรรพากรได้ประกาศทิศทางการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ระบบดิจิทัล 100% (Digital Tax…

การจัดการภาษีในยุคดิจิทัล ด้วยระบบ e-Tax invoice

การจัดการภาษีในยุคดิจิทัล: เปลี่ยนภาระให้เป็นความง่ายด้วย EtaxEasy

ปัจจุบัน การจัดการภาษี มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการจัดการภาษีของธุรกิจ การจัดการภาษีในยุคก่อนอาจเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ทั้งในเรื่องของเอกสารกระดาษจำนวนมาก และขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ในปัจจุบัน จากการเปลี่ยนแปลงของ การจัดการภาษีในยุคดิจิทัล ได้เข้ามาปฏิวัติวิธีการจัดการภาษีอย่างสิ้นเชิง ทำให้การออกใบกำกับภาษี การหักภาษี ณ ที่จ่าย และการยื่นภาษีออนไลน์ มีความสะดวกและสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นผ่านระบบดิจิทัล แล้วทำไมผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ? สำหรับผู้ประกอบการ การปรับตัวเข้าสู่ระบบภาษีดิจิทัลไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่กลายเป็น “ความจำเป็น” ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาด เพิ่มความโปร่งใส และสอดคล้องกับข้อกำหนดของกรมสรรพากร ที่สำคัญ ยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจอีกด้วย เครื่องมือใน ‘การจัดการภาษีในยุคดิจิทัล’ 1. ระบบ e-Withholding Tax e-Withholding Tax คือ ระบบหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ช่วยให้ผู้เสียภาษีในการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถหักภาษีและนำส่งข้อมูลไปยังกรมสรรพากรโดยตรงผ่านระบบออนไลน์ ด้วยความร่วมมือของธนาคารในประเทษไทย ระบบนี้ช่วยให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถลดขั้นตอนการทำงาน ลดการใช้เอกสารกระดาษ และประหยัดเวลาในการบริหารจัดการภาษีอีกด้วย ขั้นตอนการนำส่ง e-Withholding Tax วิธีการใช้งาน 1.สมัครขอรับบริการกับธนาคารที่รองรับระบบ e-withhoding Tax…

ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร?

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร? หากอธิบายง่ายๆ ก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายได้ตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดเก็บจากลูกค้าและนำส่งให้กรมสรรพากร โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการสามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการมาหักออกจากภาษีขายได้ แต่ในบางกรณี ภาษีซื้อบางประเภทไม่สามารถนำมาหักออกได้ ซึ่งเราจะเรียกภาษีซื้อประเภทนี้ว่า “ภาษีซื้อต้องห้าม” การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้ามจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการภาษีได้อย่างถูกต้องและลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร ความหมายของ ภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการซื้อสินค้าและบริการบางประเภทที่ไม่เข้าเงื่อนไขในการนำมาหักออกจากภาษีขาย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/5 โดยภาษีซื้อลักษณะนี้ไม่สามารถใช้เป็นเครดิตภาษีได้ ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการจะไม่สามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวไปใช้ลดหย่อนภาษีขายได้ แม้ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก็ตาม การเข้าใจถึงข้อกำหนดเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มได้อย่างถูกต้อง ลดความผิดพลาดที่อาจนำไปสู่ค่าปรับหรือปัญหาทางกฎหมายในอนาคต ภาษีซื้อ (Input Tax) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ชำระเมื่อซื้อสินค้า บริการ หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบการสามารถนำภาษีซื้อนี้มาหักออกจากภาษีขายที่ต้องชำระให้กับกรมสรรพากร อย่างไรก็ตาม การนำภาษีซื้อมาหักภาษีขายได้นั้น จำเป็นต้องเป็นภาษีซื้อที่ถูกต้องตามกฎหมาย หนึ่งในกรณีที่ภาษีซื้อไม่สามารถนำมาหักภาษีขายได้ คือ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ตามกฎหมาย ผู้ที่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีจะต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับกรมสรรพากรเท่านั้น หากผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้ออกใบกำกับภาษีให้ ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และใบกำกับภาษีนั้นจะถือว่าไม่มีผลทางกฎหมาย ผู้ซื้อไม่สามารถนำภาษีซื้อจากใบกำกับภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายได้ ประเภทของ…

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร? วิธีขอและตรวจสอบง่ายๆ

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร? วิธีขอและตรวจสอบง่ายๆ การมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ถือเป็นก้าวแรกของการเข้าสู่ระบบภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี แต่ยังไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร ตรวจสอบอย่างไร สำคัญแค่ไหน หรือจำเป็นต้องมีหรือไม่ โดยเฉพาะในยุคที่การทำธุรกรรมทางการเงินและภาษี กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต่างมีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งก่อนการยื่นภาษีหรือทำธุรกรรมต่างๆ ควรตรวจสอบเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้พร้อมเพื่อความถูกต้อง ในการจัดการภาษี บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้ชัดเจนมากขึ้น พร้อมแนะนำวิธีขอและตรวจสอบเลขประจำตัวภาษีทั้งสำหรับ บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล เพื่อให้คุณจัดการเรื่องภาษีอย่างถูกต้อง เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร? เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Tax Identification Number หรือ TIN) คือหมายเลขที่กรมสรรพากรกำหนดให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เพื่อใช้ระบุตัวตนในการทำธุรกรรมทางภาษี เช่น การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี การหักภาษี ณ ที่จ่าย การออกใบกำกับภาษี และการติดต่อราชการที่เกี่ยวกับภาษีอื่น ๆ ตรวจสอบ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ได้อย่างไร? การตรวจสอบเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยเบื้องต้นจะเป็นเลข 13 หลักเช่นเดียวกัน แต่จะมีประเด็นที่แตกต่างกัน ดังนี้ บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร ใช้เลขประจำตัวประชาชน…

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง เทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีปีใหม่ของไทย นับเป็นประเพณีนิยมที่หลายธุรกิจมักมอบของขวัญให้แก่ลูกค้า เพื่อแสดงความขอบคุณและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น กระเช้าผลไม้ ของชำร่วยรวมถึงของขวัญที่ใช้แจกเป็นที่ระลึกในช่วงสงกรานต์ เช่น ผ้าขนหนู น้ำอบไทย แต่ในขณะเดียวกัน การแจกของขวัญให้ลูกค้านั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องประเด็นภาษีด้วย เนื่องจากกระเช้าของขวัญ หรือแม้แต่การแจกของให้ลูกค้านั้น มีมูลค่าแตกต่างกัน ซึ่งรายจ่ายนั้นจะสามารถนำภาษีซื้อไปหักจากภาษีขายได้หรือไม่ และบริษัทจะนำรายจ่ายค่าของขวัญมาลงเป็นค่าใช้จ่ายอย่างไร โดยไม่ให้กรมสรรพากรบวกกลับ แล้วควรแจกของขวัญอย่างไรให้ ประหยัดภาษี ได้มากที่สุด หาคำตอบได้ที่ บทความนี้เลย แจกกระเช้าของขวัญในช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี การมอบกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลสงกรานต์นับเป็นประเพณีนิยมที่หลายๆ บริษัทให้ความสำคัญ เพื่อเป็นการแสดงถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และขอบคุณลูกค้าให้การสนับสนุนกันมาตลอดทั้งปี ของขวัญที่นำไปมอบให้กับลูกค้าดังกล่าว มีประเด็นทางภาษี ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล การให้กระเช้าของขวัญในเทศกาลสงกรานต์แก่ลูกค้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นค่ารับรอง ซึ่งบริษัทสามารถหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ในการจ่ายซื้อควรเป็นไปตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ โดยมีนามบัตรของบริษัทที่ระบุชื่อ ที่อยู่ และเครื่องหมายการค้าของบริษัทติดที่กระเช้าของขวัญ ดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกระทรวงฉบับที่ 222…

ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt รู้ไวใช้ก่อนดีกว่าอย่างไร?

เพื่อเพิ่มโอกาสที่ดีกว่าในการทำธุรกิจ โดยสำหรับการเลือกใช้งานระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการจัดทำใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดการใช้กระดาษลดเวลาในการทำงาน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเอกสาร และเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีทางธุรกิจ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คือ การจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษี รวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, PDF หรือ PDF/A-3 ที่ได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และสำหรับการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต้องจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในรูปแบบ XML File ตามมาตรฐานเท่านั้น (ETDA, สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ…