ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย

ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่ทุกคนจะต้องเคยได้ยินมาบ้าง แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ เราจะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย คือ เงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการ ยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้ากิจการไม่หักไว้ จะถือว่าเป็นความผิดของกิจการ หรือบางครั้งเจอคู่ค้าที่ไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย แนะนำว่าควรเปลี่ยนเจ้า เพราะตามหลักการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ออกให้ทันภายในกำหนดเวลา มีความถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด ต้องหักเมื่อไร เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่…

ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต่างๆต้องเป็นรับเป็นภาระภาษีไว้ทั้งหมด ไม่สามารถผลักภาระให้กับผู้อื่นได้เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีทางตรงซึ่งที่จัดเก็บตามบท บัญญัติประมวลกฎหมายรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท ตามหลักเกณฑ์เงินสด หากเงินได้ประเภทใดที่ได้รับ การยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนั้น จะต้องบัญญัติไว้โดยกฎหมายว่าเงินได้ประเภทนั้นได้รับการยกเว้น หน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้า ที่จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ กรมสรรพากร ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและ มีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติ จัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไป แสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษี ภาษีทางอ้อม คือ เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากสินค้าและบริการก่อนที่จะไปถึงลูกค้า ซึ่งเป็นการชำระภาษีทางอ้อมในที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของราคาตลาดของสินค้าและบริการที่ได้ทำการซื้อขายภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้มีหน้าเสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต (VAT) คือเจ้า Vat 7% ที่อยู่ในค่าสินค้า หรือบริการต่างๆ นั่นเอง ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากฐานบริโภคทั่วไปภายในประเทศ ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจประกันชีวิต,กิจการโรงรับจำนำ อากรแสตมป์…

บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล แบบไหนดีกว่า

การเข้าเป็นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ถึงระบบธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย แต่ในรูปแบบธุรกิจอาจส่งผลในการวางแผนภาษี และในการจัดการบัญชีของกิจการในอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกรูปแบบของธุรกิจให้เหมาะสมกับ กิจการของตนเองได้ ว่า ธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเป็นอย่างไร ต่างกันอย่างไรแล้วแบบไหนดีกว่า 1. การดำเนินกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปกิจการขนาดเล็กที่มีเจ้าของคนเดียว จะมีการบริหารจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ในกรณีที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจะ มีการตกลงกันเพื่อทำธุรกิจ โดยมีการแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันแต่จะไม่ได้มีการจดบริษัท หุ้นส่วนทุกคนต้องมีการเสียภาษี แบบบุคคลธรรมดากฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย และควรจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อบอกให้คนทั่วไปทราบว่า คุณทำธุรกิจแบบถูกต้องเปิดเผย มีสถานที่ตั้งประกอบกิจการชัดเจน ข้อดีของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา มีความคล่องตัวสูง เนื่องจากสามารถคิดและตัดสินใจได้คนเดียว ไม่ต้องรอความคิดเห็นจากผู้ถือหุ้น รับกำไรแต่เพียงผู้เดียว จัดตั้งง่าย ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่ต้องจัดทำบัญชี ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านเอกสาร ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา มีเงินลงทุนเท่าที่เจ้าของกิจการลงไป การระดมทุนเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขาดความน่าเชื่อถือ อาจถูกมองว่าไม่มีความมั่นคงทั้งด้านการเงิน และการบริหาร การเสียภาษีจะเป็นลักษณะเหมาจ่าย แม้ว่าปีนั้นผลประกอบการจะขาดทุน หากแต่ไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักได้…

ภาษีในการประกอบธุรกิจ

เรื่องภาษีเป็นเรื่องปวดหัวภาษีนั้นก็มีหลายประเภทซะเหลือเกิน แล้วเราจะต้องรู้ภาษีอะไรบ้างในการเริ่มต้นธุรกิจ 1ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ 2ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้ของนิติบุคคล ได้แก่ เงินได้ประเภทกำไรสุทธิ ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย เงินได้ที่จ่ายจากหรือ ในประเทศไทย หรือ การจำหน่ายเงินกำไรจากประเทศไทย 3ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ จะหัก ณ ที่จ่าย ถ้ามีการจ่ายเงินเกิดขึ้น คนที่จ่ายเงินที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือนิติบุคคล หัก ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงิน ให้กับคนรับ ที่เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาก็ได้ เพื่อนำส่งสรรพากร และเมื่อได้ทำการหักถาษี ณ ที่จ่ายแล้วจะต้องมีการออก “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ซึ่งผู้ถูกหักสามารถนำไปขอคืนจากรัฐตอนสิ้นปี หรือนำไปลดหย่อนภาษีได้ 4ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เราสามารถผลักภาระภาษีให้กับผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ซึ่งมีหลักการจัดเก็บที่แตกต่างกัน 5ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่รัฐฯ จัดเก็บจากโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ตึกแถว สำนักงาน…

ภาษีไม่จ่ายได้ไหม

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากจะกำหนดสิทธิต่างๆ ที่ประชาชนพึงมีไว้แล้ว ยังได้กำหนดหน้าที่ของประชาชน ที่จะต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งกฎหมายที่ใช้เป็นข้อกำหนดในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลกฎหมายรัษฎากร ภาษี หมายถึง เงินที่เก็บจากประชาชน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศพื่อนำมาใช้บริหารและพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษา ความสงบภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน โดยภาษีจะแบบออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากกการประกอบอาชีพ โดยมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ได้จากกการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆ ของประชาชนหรือที่เรารู้จักกันว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” นั้นเอง “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” กับ “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” จัดอยู่ในรูปแบบของ #ภาษีทางตรง โดยภาษีทั้งสองประเภทนี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปและผู้ที่คิดจะเริ่มทำธุรกิจใหม่ควรทราบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีจะจัดเก็บจากประชาชนผู้มีเงินได้ทั่วไป ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยปรกติจะจัดเก็บเป็นปี ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่ กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บได้จากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในส่วนรูปแบบ…

Thailand 4.0

พักหลัง ๆ นี้เพื่อน ๆ หลายคนคงได้ยินตามโทรทัศน์ งานสัมมนา หรืออ่านผ่านตาบนเฟซบุ๊กของนักวิชาการหลายท่านเกี่ยวกับเรื่องของ Thailand 4.0 พบเห็นจนจำได้ขึ้นใจในประโยคที่ว่า “ประเทศไทยต้องก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ให้ได้” ซึ่งมันคืออะไรก็ไม่รู้แหละ รู้แค่คร่าว ๆ ว่ามันเกี่ยวกับเทคโนโลยี เกี่ยวกับประเทศไทยทั้งประเทศ แต่เป็นยังไงมายังไง แล้วทำไมอยู่ ๆ ถึงมี 4.0 เลย มันมี 1.0 2.0 มาก่อนมั้ย แล้ว 4.0 มันคืออะไร ดียังไง เดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กัน รับรองได้ว่า ง่าย สั้น กระชับ อ่านจบไปเล่าต่อได้ทันทีครับ เริ่มต้นกันใหม่ ทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายก่อนว่า Thailand 1.0 – 4.0 ต่าง ๆ มันคืออะไร ซึ่งมันก็คือโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย แต่แตกต่างกันที่กลุ่มการลงทุนหลักของประเทศในขณะนั้น…

กรณียื่นภาษีช้า

ทำอย่างไรดี เมื่อยื่นภาษีช้า เราเชื่อว่าหลายคนคงถึงเวลาแล้วที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าอยู่ดีๆ บางครั้งเราอาจจะลืมการชำระเบี้ยเสียภาษีหรือเลยกำหนดเวลาในการชำระภาษีในเวลานั้น ไป แล้วเราควรทำอะไรต่อหลังจากนี้ถ้าเกิดเราดันลืมขึ้นมาจริงๆ หลายคนอาจเคยประสบปัญหา แต่รู้หรือไม่ว่าการยื่นภาษีล่าช้า ซึ่งส่งผลเสียตามมาหลายประการ วันนี้เราจะมาอธิบายถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากท่านยื่นภาษีล่าช้า และแนะนำวิธีแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงต่อบทลงโทษ ผลที่ตามมาของการยื่นภาษีช้า 1.ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น) ประเภท หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1,2,3,53,90,91,94 ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท ประเภท ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 , ภ.พ.36 ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท ส่วนของนิติบุคคล…

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(Electronic Signature)

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(Digital signature) กุญแจสำคัญสู่อนาคตธุรกรรมดิจิทัลที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ “ในช่วงยุคดิจิทัลที่ธุรกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์มีบทบาทสำคัญมากขึ้น ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Signature จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญสู่อนาคต” ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คืออะไร? ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ข้อมูลดิจิทัลที่ใช้แทนลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อทำหน้าที่ระบุตัวตนของผู้ลงลายมือชื่อ ยืนยันความยินยอมของผู้ลงลายมือชื่อ และป้องกันการปลอมแปลงหรือแก้ไขเอกสารเปรียบเสมือนลายเซ็นดิจิทัลที่แสดงเจตนาของผู้ลงนาม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือว่า สพธอ.ได้เผยแพร่ข้อมูล “ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ว่าด้วยแนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เลขที่ ขมธอ.23-2563 ซึ่งประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 เพื่อเป็นแนวทาง และมาตรฐาน ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในการ เลือกใช้ วิธีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้เหมาะสมกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หลายๆคนอาจจะไม่รู้ แต่การกระทำเหล่านี้ มีผลทางกฏหมายด้วย การส่งอีเมลถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ไหม การที่พิมพ์ชื่อในอีเมล (Email)      ไม่ว่าจะเป็น ชื่อและนามสกุล,ชื่อ,ชื่อย่อ หรือชื่อเล่น ต่อท้ายด้วยข้อความอีเมล อันนี้ก็ถือว่า เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ยืนยันตัวตนแล้ว แล้วการคลิก “I…

5 ข้อดีของการเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

5 ข้อดีของการเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ “การเปลี่ยนมาใช้งานระบบ eTax Invoice & e-Receipt ตัวช่วยในการออกใบกำกับภาษีนั้นสร้างความสะดวกในการทำงาน ลดหย่อนเวลาการทำงานได้ค่อนข้างมากเลยทีเดียว แต่ๆๆ รู้มั้ยว่าการใช้งานผ่านระบบนั้นย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป? แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงข้อดีของการใช้งานผ่านระบบ eTax Invoice & e-Receipt กันค่ะว่า ในการออกใบกำกกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีข้อดีอย่างไรบ้าง” ในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกแง่มุมของชีวิตการทำธุรกิจต่างๆ หรือการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมกำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังปรับตัวเพื่อทำให้การทำธุรกิจง่ายขึ้น หนึ่งในวิธีการที่ได้รับความนิยมคือ การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) แทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบ eTax Invoice & e-Receipt หรือระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นก้าวสำคัญสู่การพัฒนาระบบการเสียภาษี และ กลายเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพด้านข้อมูลและความถูกต้อง ลดต้นทุน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ข้อดี 1 : ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งเอกสารประเภทใบ e-Tax Invoice ในการดำเนินการด้วยกระดาษนั้น องค์กรหลายแห่งต้องออกใบกำกับภาษี tax Invoice แต่ละเดือนเป็นจำนวนมาก ผู้รับผิดชอบงานดังกล่าวในบริษัท ต้องให้แมสเสนเจอร์ไปส่งให้การดำเนินการเหล่านั้นเสียเวลาและแรงงาน ไม่อาจจะส่งถึงมือผู้รับได้ในทันทีแต่หากเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการส่งเอกสารและเวลาลงได้ เมื่อใบ tax Invoice เหล่านี้กลายมาเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้วสามารถส่งทางอีเมลได้ จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งมอบเอกสารลดขั้นตอนในการทำงานและเอกสารกระดาษ ระบบใบกำกับภาษีเเละใบรับอิเล็กทรอนิกส์…