รายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่?

รายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่? การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด การรู้ว่ารายได้ของเรานั้นต้องเสียภาษีเท่าไหร่ สามารถช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1. รายได้ที่ต้องเสียภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ของผู้มีรายได้ในประเทศ ซึ่งรายได้ที่ต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็น 8 ประเภทตามกฎหมาย โดยประเภทที่พบบ่อย ได้แก่ รายได้จากการทำงานประจำ (เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส) รายได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัว รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน หรือยานพาหนะ รายได้จากการขายทรัพย์สิน เช่น หุ้น บ้าน หรือที่ดิน รายได้จากดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากการลงทุน 2. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีของบุคคลธรรมดาในประเทศไทยเป็นแบบขั้นบันได กล่าวคือ ยิ่งมีรายได้สูง อัตราภาษีจะยิ่งเพิ่มขึ้น โดยอัตราภาษีจะมีทั้งหมด 7 ขั้น ได้แก่ รายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ไม่เสียภาษี รายได้สุทธิเกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกิน 300,000 บาท อัตราภาษี 5% รายได้สุทธิเกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน…

เตรียมความพร้อม ก่อนการกลับมาEasy e-Receipt ปี 2568 ลดหย่อนภาษี

เตรียมพร้อมก่อนกลับมาของมาตรการ Easy e-Receipt ปี 2568 เริ่มเเรกเราไปทำความเข้าใจของรายละเอียดของมาตรการ Easy e-Receipt ของปี 2567 เพื่อเตรียมความพร้อมในปี 2568 ที่จะถึงนี้กันค่ะ Easy e-Receipt คืออะไร? Easy e-Receipt เป็นโครงการจากทางภาครัฐเพื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรายละเอียดของปี 2567 มีเงื่อนไขว่าบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ สามารถใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดหย่อนภาษีในปี 2567 โดยสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท และไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีแบบกระดาษได้ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2568 มาตรการนี้จะกลับมา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เรามาศึกษารายละเอียดเเละเงื่อนไขกันอีกรอบค่ะ โดยค่าใช้จ่ายที่นำมาหักลดหย่อนได้ มีดังนี้ค่ะ ค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ เช่น ค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร ค่าเดินทาง หรือค่าสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและพัฒนาทักษะ เช่น ค่าเรียนหรือค่าสัมมนาต่างๆ มาตรการ Easy e-Receipt เป็นแนวทางที่ภาครัฐผลักดันเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการใบเสร็จจากระบบกระดาษไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร บริษัท หรือ…

รายการลดหย่อนภาษีปี 2567 เตรียมพร้อมยื่นปี 2568

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2567 สำหรับยื่นภาษีต้นปี 2568 สรุปรวมวิธีการลดหย่อนภาษี กับรายการลดหย่อนภาษีปีภาษี 2567 ว่ามีอะไรบ้างมาดูเนื้อหากันเลยค่ะ การเตรียมตัวยื่นภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนในปี 2567 ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับ แต่ยังช่วยให้คุณสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่ ต่อไปนี้คือขั้นตอนและคำแนะนำที่สำคัญในการเตรียมตัว มีดังนี้ค่ะ 1.รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการกรอกยื่นภาษี รายได้: รวบรวมเอกสารแสดงรายได้ทั้งหมด เช่น ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) หรือเอกสารรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าจ้าง โบนัส ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ ค่าใช้จ่าย: เก็บใบเสร็จหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้ลดหย่อนได้ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาท คู่สมรส (ไม่มีรายได้): 60,000 บาท บุตร (อายุไม่เกิน 20 ปี): 30,000 บาท/คน การลงทุน: ตรวจสอบเอกสารการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม…

ความเเตกต่างของ ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53

ความเเตกต่างของ ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53 การทำความเข้าใจเรื่องการยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53 เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย เพราะช่วยให้สามารถดำเนินการทางภาษีอย่างถูกต้องและป้องกันปัญหาทางกฎหมายได้ ภ.ง.ด. 3 คืออะไร ภ.ง.ด. 3 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย) ที่เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากบุคคลธรรมดา เช่น ค่าแรง ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าจ้างทำของ, เงินรางวัล ที่เกิดขึ้นในธุรกิจ โดยใช้ในการหักภาษีจากผู้รับเงินที่เป็นบุคคลธรรมดาและยื่นต่อกรมสรรพากร เป็นต้น ลักษณะการใช้งาน ผู้มีหน้าที่ใช้แบบ ภ.ง.ด. 3: ใช้โดยบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จ่ายรายได้ให้บุคคลธรรมดาแล้วมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กำหนด ตัวอย่างรายได้ที่หักภาษี: ค่าแรง ค่าจ้าง ค่าบริการ…

ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ vs. ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ต่างกันอย่างไร

ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ vs. ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ต่างกันอย่างไร การเปรียบเทียบต้นทุนในการออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์(eTax Invoice & eReceipt) และใบกำกับภาษีแบบกระดาษ มีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะในด้านต้นทุนทางธุรกิจ ความสะดวกสบาย และประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล ซึ่งแต่ละวิธีมี ข้อดี และค่าใช้จ่ายต่างกัน ดังนี้ค่ะ 1. ต้นทุนการออกใบกำกับภาษี ต้นทุนการออกใบกำกับภาษี แบบกระดาษ ใบกำกับภาษีแบบกระดาษมีต้นทุนหลายประการที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้นทุนการพิมพ์และการจัดเก็บเอกสาร: ต้องมีการพิมพ์ใบกำกับภาษีออกมาเป็นกระดาษ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในส่วนของกระดาษ หมึกพิมพ์ และการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ ทั้งยังต้องมีการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้เมื่อจำเป็น ต้นทุนการจัดการข้อมูลและเวลาในการทำงาน: เนื่องจากใบกำกับภาษีแบบกระดาษต้องใช้เวลามากขึ้นในการจัดเตรียมเอกสารและการจัดการเอกสาร อาจมีข้อผิดพลาดได้ง่ายกว่าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและส่งมอบเอกสาร: การจัดส่งใบกำกับภาษีทางไปรษณีย์หรือพนักงานจัดส่งของบริษัท ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งอาจเพิ่มภาระให้กับธุรกิจ ต้นทุนการออกใบกำกับภาษี แบบอิเล็กทรอนิกส์ (eTax) ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ eTax Invoice มีประโยชน์ในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ: ประหยัดต้นทุนด้านวัสดุ: ไม่มีค่าใช้จ่ายในการพิมพ์และจัดเก็บเอกสาร เนื่องจากข้อมูลจะถูกจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและค่าใช้จ่ายในระยะยาว ลดเวลาทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพ: eTax Invoice ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้นและลดความเสี่ยงของการกรอกข้อมูลผิดพลาด เนื่องจากสามารถใช้ระบบอัตโนมัติในการกรอกข้อมูลและตรวจสอบ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง: เนื่องจากเป็นระบบดิจิทัล…

ธุรกิจโรงแรม ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง

ธุรกิจโรงแรม ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ทุกคนเคยสงสัยไหมคะว่า ธุรกิจโรงแรมเค้าเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง?? การดำเนินธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต้องมีการชำระภาษีและค่าธรรมเนียมหลายประเภทซึ่งเป็นข้อกำหนดตามกฎหมาย ธุรกิจโรงแรมเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ใช้บริการจำนวนมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้มีภาระภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องหลากหลายรายการ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและครอบคลุม บทความนี้จะแนะนำภาษีและค่าธรรมเนียมหลัก ๆ ที่ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต้องชำระ มีดังนี้ค่ะ ธุรกิจโรงแรมเสียภาษีอะไรบ้าง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับธุรกิจโรงแรมขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินธุรกิจและประเภทของรายได้ที่ได้รับ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการโรงแรมจะต้องคำนวณภาษีจากรายได้ที่ได้รับหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเป็นไปตามระดับรายได้ โดยมีการจัดเก็บในลักษณะของอัตราก้าวหน้า (progressive tax rates) ซึ่งหมายความว่ารายได้ที่สูงขึ้นจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น โดย ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ 91) ตามกำหนดเวลา โดยทั่วไปจะต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล ธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจะคิดจากกำไรสุทธิที่เกิดจากการประกอบกิจการ โดยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจโรงแรมทั่วไปจะอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ (ตาม พ.ร.บ. ประมวลรัษฎากร) ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจโรงแรมมีรายละเอียดสำคัญ  ภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยมีอัตรา 20% ของกำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทที่มีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี กำไรสุทธิจะคำนวณจากรายได้รวมหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เช่น ค่าจ้างพนักงาน, ค่าเช่าสถานที่,…

ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย คืออะไร?

ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย คืออะไร ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย เป็นคำศัพท์ที่เราได้ยินกันบ่อยในแวดวงธุรกิจและการเงิน แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงและความแตกต่างระหว่างทั้งสองอย่าง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้กระจ่างกันค่ะ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้ในกรณีไหนได้บ้างคะ ภาษีซื้อ คืออะไร คือภาษีที่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการต้องชำระให้กับหน่วยงานรัฐในขณะทำการซื้อ โดยทั่วไปแล้ว ภาษีนี้จะถูกบวกเข้าไปในราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อ และผู้ขายจะมีหน้าที่ในการรวบรวมภาษีนี้เพื่อนำส่งให้กับรัฐบาล ภาษีผู้ซื้อมักถูกนำไปใช้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งเป็นระบบภาษีที่มีการเรียกเก็บในหลายประเทศ โดยผู้ซื้อจะต้องชำระ VAT ในอัตราที่กำหนดเมื่อทำการซื้อสินค้าหรือบริการ และผู้ขายจะต้องออกใบเสร็จรับเงินที่ระบุจำนวน VAT ที่ชำระไปด้วย การเก็บภาษี ผู้ซื้อช่วยให้รัฐบาลมีรายได้สำหรับการพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และการดูแลสังคม ภาษีซื้อช่วย หรือ การใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในการกระจายรายได้และสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยการใช้ภาษีในการสนับสนุนโครงการพัฒนาที่มีประโยชน์ต่อสังคม ระบบภาษีที่ถูกต้องช่วยให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม โดยการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการจ่ายของผู้ซื้อ ผู้ขายสามารถนำภาษีซื้อที่จ่ายไปแล้วมาใช้ในการลดภาษีขาย (VAT) ที่ต้องชำระให้กับรัฐ ซึ่งช่วยกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจ รวมไปถึง Etax invoice & e-receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ การเรียกเก็บภาษี จากสินค้าหรือบริการบางประเภทอาจช่วยควบคุมการบริโภค เช่น การเก็บภาษี…

ความเเตกต่าง Commercial Invoice กับ Proforma Invoice

ความเเตกต่าง Commercial Invoice กับ Proforma Invoice ทุกคนสงสัยกันไหมคะว่า Commercial Invoice กับ Proforma Invoice คือเอกสารตัวเดียวกันหรือเปล่า Proforma Invoice (ใบเเจ้งราคา) Proforma Invoice คืออะไร เอกสารที่ออกโดยผู้ขายเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริการ ที่เสนอขาย โดยไม่ใช่ใบแจ้งหนี้ที่เป็นทางการ เอกสารนี้มักจะใช้เพื่อแสดงรายละเอียดเป็นข้อมูลเบื้องต้น เช่น ราคา จำนวน และเงื่อนไขการขายก่อนที่การทำธุรกรรมจะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อลูกค้าหรือผู้ซื้อยอมรับในเงื่อนต่าง ๆ ก็จะทำการเปิดสั่งซื้อสินค้าโดยอ้างอิงเลขที่และวันที่ของ Proforma Invoice วันนั้น โดยปกติแล้วลูกค้าจะต้องดูข้อมูลว่าถูกต้องหรือไหม ดังนั้น Proforma Invoice คือเอกสารเสนอขายและเป็นเอกสารทำการตกลงระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ นั่นเองค่ะ Proforma Invoice สำคัญอย่างไร เป็นเอกสารที่ใช้ในการเสนอราคาสินค้า และเงื่อนไขการขายก่อนการตัดสินใจซื้อช่วยให้ผู้ขายและผู้ซื้อเข้าใจถึงข้อมูลสินค้า ข้อมูลราคาสินค้า การวางแผนงบประมาณ และบริการการจัดเตรียมเอกสารข้อมูล ในกรณีของการนำเข้าสินค้า Proforma Invoice อาจถูกใช้เพื่อขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าหรือการขอเงินกู้จากธนาคาร Proforma Invoice จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำธุรกรรม…

ภ.ง.ด. 53 คืออะไร?

ภ.ง.ด. 53 คืออะไร? “หลายๆคนอาจะยังสงสัยกันค่ะว่า ภ.ง.ด. 53 คืออะไร สำคัญอย่างไร และใช้ตอนไหนบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะว่าจริงๆแล้ว  ภ.ง.ด. 53 คืออะไร” ภ.ง.ด. 53 คือแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บุคคลหรือหน่วยงานที่จ่ายเงินให้กับผู้รับเงินที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา จะต้องทำการหักภาษีไว้ และยื่นแบบเพื่อชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ซึ่งตามกฎหมายไทยกำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินต้องเป็นผู้ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งกรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด รายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่าย การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 53 จะใช้เมื่อมีการจ่ายเงินในลักษณะดังนี้: ค่าบริการ เช่น ค่าโฆษณา ค่ารักษาความปลอดภัย หรือค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ เช่น ค่าจ้างที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการ ค่าสิทธิ (Royalties) เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินกำไรที่จ่ายให้นิติบุคคลอื่นหรือบุคคลธรรมดา อัตราภาษี ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะมีอัตราตั้งแต่ 1% – 5% ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ที่จ่าย…

ธุรกิจMulti-level Marketing (MLM) หรือ ธุรกิจขายตรง เสียภาษียังไง

ธุรกิจMulti-level Marketing (MLM) หรือ ธุรกิจขายตรง เสียภาษียังไง ธุรกิจ Multi-level Marketing (MLM) หรือ Direct Selling (ขายตรง)ในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทั่วไป เช่นเดียวกับธุรกิจประเภทอื่น ๆ โดยภาษีที่เกี่ยวข้องและวิธีการเสียภาษีมีดังนี้ เจ้าของธุรกิจประเภทนี้ต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับทางสำนักงานกรมสรรพากร ธุรกิจ MLM หรือ Direct Selling ที่จดทะเบียน VAT จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าในอัตรา 7% ของราคาสินค้าหรือบริการ ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 (แบบยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทุกเดือน 2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) หากธุรกิจ MLM จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ (หลังจากหักค่าใช้จ่าย)…