etax คืออะไร?

etax คืออะไร? etax ย่อมาจาก Electronic Tax Invoice หมายถึง ระบบใบกำกับภาษี/ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาโดยกรมสรรพากร เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) แทนการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษี ส่งข้อมูล และยื่นภาษีอากรผ่านระบบออนไลน์ได้สะดวกรวดเร็ว ซึ่งการออกเอกสารผ่านระบบ etax หรือตัวแทนผู้ให้บริการในช่องทาง etax service provider นั้น ผู้ใช้บริการยังได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ ลดความยุ่งยากในการยื่นเอกสาร ลดต้นทุนในองค์กร ประหยัดทั้งกระดาษ พื้นที่จัดเก็บ และเวลาในการทำงาน เป็นต้น จุดประสงค์ของ etax คือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานรองรับความต้องการสำหรับผู้ประกอบการมากขึ้น และเพื่อให้ข้อมูลที่จัดส่งไปยังปลายทางทางถูกต้องตรงตามมาตรฐานและมีสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและภาระในการจัดเก็บเอกสารเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการภาษี ป้องกันการปลอมแปลงใบกำกับภาษีส่งเสริมการประกอบธุรกิจออนไลน์ ประเภทของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์(เต็มรูป) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์  (อย่างย่อ) ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ใบเพิ่มหนี้อิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร ใบลดหนี้อิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน)…

บทบาท etax 2567 กับสังคมยุคดิจิทัล

บทบาทของ etax 2567 กับสังคมยุคดิจิทัล สังคมดิจิทัลหรือสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของคนปัจุบันมากขึ้น และสิ่งเหล่านี้เข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับ ผู้ใช้งานเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการเดินทาง การกิน การอยู่ ไลฟ์สไตส์การใช้ชีวิต การทำงาน  การยื่นเอกสารผ่านระบบการใช้งานต่างๆเพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน และประหยัดค่าส่งเอกสาร ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Etax Invoice ซึ่งเป็นระบบที่กรมสรรพากรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้งาน เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการยื่นเอกสารภาษีสำหรับผู้ใช้บริการและ ตอบโจทย์ทาง เจ้าของกิจการ บริษัท ห้างหุ้นส่วน มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผ่านช่องทางของกรมสรรพากรโดยตรง หรือ ผ่านช่องทางผู้ให้บริการอย่าง eTax Servive Provider ซึ่งเป็นตัวกลางค่อยให้บริการการยื่นภาษีและค่อยให้คำแนะนำในการใช้งานระบบ ทั้งนี้ ระบบ eTax เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับผู้ประกอบการ ซึ่งเมื่อต้นปี 2566 มีรายชื่อนิติบุคคลผู้มีสิทธิจัดทำใบกำกับภาษีหรือใบรับลงทะเบียนระบบ e Tax Invoice & e Receipt เพียง 1,816 รายชื่อ ปัจจุบัน (ณ วันที่ 03/04/67)  มีผู้ลงทะเบียน eTax Invoice &…

eTax Invoice กับร้านค้าออนไลน์

eTax กับร้านค้าออนไลน์ eTax ช่องทางบริการออนไลน์ของกรมสรรพากร มีบทบาทสำคัญต่อร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบัน โดยช่วยให้ร้านค้าสามารถจัดการธุรกรรมทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ร้านค้าออนไลน์ควรใช้ระบบ e Tax Invoice ไหมนะ? ออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ : ร้านค้าออนไลน์สามารถออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice/e-Receipt) ผ่านระบบ eTax ได้ สะดวก รวดเร็ว และลดต้นทุนการจัดพิมพ์ ตรวจสอบสถานะการยื่นแบบ: ร้านค้าออนไลน์สามารถตรวจสอบสถานะการยื่นแบบและการชำระภาษีผ่านระบบ eTax ได้ ร้านค้าออนไลน์สามารถเก็บเอกสารยื่นแบบภาษีออนไลน์ผ่านระบบ eTax ได้ ร้านค้าออนไลน์ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอีกต่อไป เพราะระบบ e Tax Invoice & e Receipt มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ลงบนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั่นเองค่ะ eTax มีศักยภาพที่จะช่วยให้ร้านค้าออนไลน์สามารถจัดการธุรกรรมทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย อย่างไรก็ดีกรมสรรพากรมีมาตรการส่งเสริมให้บริษัท ร้านค้าเเละร้านค้าออนไลน์ใช้งานระบบ eTax มากขึ้น เช่น มาตรการ…

ความแตกต่างของ Host to Host, Service Provider และ Web Upload

ความแตกต่างของ Host to Host, Service Provider และ Web Upload ในการรับส่งข้อมูลภาษีทางออนไลน์ เรามักจะเจอกับคำศัพท์ 3 คำนี้ ซึ่งเป็นช่องทางการจัดส่ง อย่าง Host to Host, Service Provider และ Web Upload หลายคนอาจสงสัยว่ามีความหมายและลักษณะการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้จะอธิบายความแตกต่างของทั้ง 3 ช่องทางนี้ค่ะ 1. Host to Host คืออะไร? หมายถึง การรับส่งข้อมูลภาษีระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องไปยังกรมสรรพากรโดยตรง โดยไม่ผ่านตัวกลางผู้ให้บริการ เหมาะกับบริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆที่มีการส่งเอกสารภาษีจำนวนมากๆต่อเดือน และพร้อมในการพัฒนาระบบเองเพื่อรับส่งข้อมูลตามมาตรฐาน ebXML (ขมธอ.14-2560) สามารถควบคุมการรับส่งข้อมูลได้เอง  เเต่ใช้ทุนทรัพย์ในการลงทุนระบบเเละบุคลากรจำนวนมาก 2. Service Provider คืออะไร? หมายถึง ระบบในการรับส่งข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ผ่านผู้ให้บริการ (Service Provider) เพื่อแปลงไฟล์เอกสารภาษีให้อยู่ในรูปแบบไฟล์อิเล็คทรอนิกส์พร้อมทั้งลงตราประทับ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital signature)เพื่อให้ไฟล์อิเล็คทรอนิกส์อยู่ในรูปแบบมาตรฐานที่ทางกรมสรรพากรกำหนดแล้วนำส่งให้กับกรมสรรพากร 3. Web Upload…

กรณีใบกำกับภาษีสูญหาย ทำอย่างไร

กรณีใบกำกับภาษีสูญหาย ใบกำกับภาษี (Invoice) เป็นเอกสารสำคัญทางภาษีที่ใช้สำหรับประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษี และลดหย่อนภาษี กรณีใบกำกับภาษีสูญหาย ผู้เสียภาษีสามารถดำเนินการได้ดังนี้ ติดต่อผู้ขายเพื่อขอรับใบแทน ผู้เสียภาษีสามารถติดต่อผู้ขายสินค้าหรือบริการเพื่อขอรับใบแทนใบกำกับภาษี Invoice โดยผู้ขายมีหน้าที่ออกใบแทนให้ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง กรอกแบบฟอร์มขอออกใบแทนใบกำกับภาษีกรณีไม่สามารถติดต่อผู้ขายได้ ผู้เสียภาษีสามารถกรอกแบบฟอร์ม “ขอออกใบแทนใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ “ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://etax.rd.go.th/ ยื่นแบบฟอร์ม ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบฟอร์มขอออกใบแทนใบกำกับภาษี Invoice ได้ดังนี้ ยื่นทางออนไลน์ผ่านระบบ e-Tax ของกรมสรรพากร หรือ ผ่านช่องทางผู้ให้บริการออกใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์ อย่าง Etax Service provider หรือสามารถยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เก็บหลักฐาน ผู้เสียภาษีควรเก็บหลักฐานการขอรับใบแทนใบกำกับภาษี Invoice ไว้เป็นหลักฐานหรือหันมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e Tax Invoice & e Receipt) เพื่อป้องกันเอกสารสูญหายและค้นหาเอกสารได้ง่าย ทำงานได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น หมายเหตุ การขอรับใบแทนใบกำกับภาษี Invoice มีค่าธรรมเนียม 20 บาท ผู้เสียภาษีควรเก็บใบกำกับภาษี Invoice ไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 5…

เคล็ดลับการวางแผนภาษีสำหรับปี 2567

เคล็ดลับการวางแผนภาษีสำหรับปี 2567 การวางแผนภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ การวางแผนภาษีที่ดี   จะช่วยให้ประหยัดภาษี และหลีกเลี่ยงปัญหาความยุ่งยากกับกรมสรรพากร “ความรู้เรื่องภาษีเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้เสียภาษี เพื่อให้ผู้เสียได้รับข้อมูลภาษีที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเข้าใจในเรื่องของการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กำหนดไว้เพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ หรือลดภาระภาษีให้น้อยลงและที่สำคัญในส่วนของเรื่องบทลงโทษในกรณี หลีกเลี่ยงภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือยื่นแบบช้าอาจจะต้องมีการชำระภาษีเพิ่มหรือเสียเบี้ยปรับโดยใช่เหตุ” มาทำความรู้จักการวางแผนในเรื่องของภาษีและสิทธิประโยชน์ทางภาษีกันเถอะ ซึ่งหลักในการวางแผนภาษี มี 5 เรื่องที่เราต้องรู้ คือ ประเภทของภาษี วิธีการคำนวณภาษี วิธีลดหย่อนเพื่อลดภาษี ช่องทางการยื่นภาษี รายการเอกสารที่ประกอบการยื่นภาษี 1.รู้จักประเภทของภาษี การวางแผนภาษี เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของภาษี ภาษีเงินได้ เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต้องเสีย จากรายได้ที่ได้จากการทำงาน ประกอบธุรกิจ หรืออื่นๆ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการ ต้องจัดเก็บจากผู้ซื้อ และนำส่งให้กับกรมสรรพากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่ธุรกิจต้องเสีย จากการประกอบธุรกิจบางประเภท ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นภาษีที่เจ้าของบ้านและที่ดินต้องเสีย ภาษีศุลกากร เป็นภาษีที่ต้องเสีย เมื่อนำสินค้าเข้าประเทศ ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่ต้องเสีย สำหรับสินค้าบางประเภท เช่น สุรา ยาสูบ น้ำมัน 2.คำนวณภาษีที่ต้องชำระ เมื่อรู้จักประเภทของภาษีแล้ว…

เอกสารที่ใช้ประกอบขอหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย

กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง ในส่วนของเอกสารหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อใช้สิทธิ์ในการหักลดหย่อนภาษี จะมีเอกสารอะไรที่ใช้ประกอบในการยื่นขอหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายบ้าง กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มีดังนี้ 1.เงินได้จากค่าจ้าง คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ซึ่งรวมถึงเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น ต้องใช้เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และ ใบเสร็จรับเงิน/ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ (ใบสลิปเงินเดือน) เป็นต้น เงินได้จากค่าจ้างเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 ตามประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้จากค่าจ้างมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด 2. เงินได้จากค่าเช่า คือ เงินที่บุคคลได้รับจากการให้นิติบุคคลอื่น…

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดVAT

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้เก็บภาษีจากลูกค้า และนำส่งให้กับกรมสรรพากร โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ก็มีบางกรณีที่ ผู้ประกอบการไม่ต้องจดทะเบียน VAT ดังนี้ 1. ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการรายย่อย หรือที่มักเรียกกันว่า “พ่อค้าแม่ค้า” มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย พวกเขาเป็นผู้สร้างงาน นำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น และกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก บทความนี้มุ่งเน้นไปที่ประเภทของผู้ประกอบการรายย่อยที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ ผู้ประกอบการแบบดั้งเดิม: แม่ค้าขายของในตลาด: พบเห็นได้ทั่วไปในตลาดสด ตลาดนัด ขายสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน ฯลฯ ร้านค้าปลีก: ตั้งอยู่ในชุมชน ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า ขายสินค้าหลากหลายประเภท เช่น เสื้อผ้า อาหาร ของใช้ในบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ผู้ให้บริการ: เช่น…

6 ประเภทภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ควรรู้

ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME ธุรกิจ SME เป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทย มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างการจ้างงาน อย่างไรก็ดี ธุรกิจ SME จำเป็นต้องเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ  ภาษี เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะ ธุรกิจ SME ที่อาจไม่มีทีมบัญชีหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกใบกำกับภาษีมาช่วยดูแล บทความนี้จึงรวบรวมภาษีหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME มาอธิบายให้เข้าใจง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวและจัดการภาษีอย่างถูกต้อง ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME มีดังนี้ 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ บุคคลธรรมดา : ธุรกิจ SME ในรูปแบบนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจ SME ที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บุคคลธรรมดา: สำหรับเจ้าของกิจการที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ของธุรกิจ โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้ นิติบุคคล: สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของธุรกิจ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT):…

พร้อมเพย์(Promptpay) คือจุดเริ่มต้นของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์

รู้หรือไม่ !? พร้อมเพย์ คือจุดเริ่มต้นของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในยุคดิจิทัลที่การทำธุรกรรมออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ ประชาชนเริ่มคุ้นเคยกับการใช้พร้อมเพย์เพื่อโอนเงิน จ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ แทนการใช้เงินสด  หลายคนอาจไม่ทราบว่า พร้อมเพย์ นั้น นอกจากจะเป็นระบบการชำระเงินที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการปูทางสู่อนาคตของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมเพย์ (Promptpay) เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic tax system) เพราะช่วยให้ กรมสรรพากร สามารถโอนเงินคืนภาษีให้กับผู้เสียภาษีได้โดยตรง ผ่านหมายเลขประจำตัวประชาชน (เลข 13 หลัก) สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยไม่ต้องรอเช็คประชาชน สามารถตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีออนไลน์ได้สะดวก โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากร พร้อมเพย์ คือบริการโอนเงินและรับเงินแบบทันที ที่ใช้หมายเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ (หรือหมายเลขอื่นของผู้รับ) แทนเลขที่บัญชีธนาคาร ผ่านช่องทางดิจิทัล โดยเสียค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าการทำธุรกรรมในอดีต ถ้าหากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนหน้า กรมสรรพากรเริ่มริเริ่มระบบ พร้อมเพย์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้สะดวกรวดเร็ว ย่นระยะเวลาการรอคอย และลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก โดยประชาชนสามารถรับเงินคืนภาษีผ่านบัญชีธนาคารที่ผูกกับบัตรประชาชน ต่อมาในปัจจุบัน  กรมสรรพากรได้ต่อยอดระบบ พร้อมเพย์ ไปสู่ระบบ…