ประชาชนเสียภาษีอะไรบ้าง

ประชาชนเสียภาษีอะไรบ้าง TAX คืออะไร? TAX คือ เงินภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ และใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งไม่ได้มีสิ่งตอบแทนแก่ผู้เสียภาษีโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น สามารถแบ่งได้เป็น 2   ประเภท 1️ ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆ ของบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ 2️ ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจาก ผู้บริโภค เป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้ กับ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้ชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย ใครบ้างที่จะต้องเสียภาษี TAX? บุคคลที่มีรายได้จากค่าจ้าง เงินเดือน จะต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล VAT คืออะไร? VAT คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากผู้บริโภค เป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับกับผู้ซื้อ หรือ ผู้บริโภคเป็นผู้ชำระแทนผู้ขาย เงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิต และจำหน่ายสินค้า/บริการ ซึ่งจะรวมที่ผลิตภายในประเทศ และนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยจัดอยู่ในภาษีทางอ้อม จากข้อย่อยของ TAX ใครบ้างที่จะต้องเสียภาษี VAT?…

ความเเตกต่าง e-Tax Invoice เเละ e-Tax Invoice by e-mail

Etax invoice by email VS Etax invoice & e-receipt แตกต่างกันอย่างไร ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นระบบบริการด้านภาษี ที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคต่างๆ ได้จัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) แล้วส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีที่ตกลงกัน นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีหน้าที่ที่จะต้องนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ด้วย ระบบ e-Tax Invoice by e-mail เป็นบริการสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี ที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สามารถแนบไฟล์ PDF/A3 ส่งผ่าน e-mail ให้แก่ผู้ซื้อ และสำเนาให้ระบบ e-Tax Invoice by e-mail เพื่อประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งไฟล์ข้อมูลที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการและผู้ออกใบกำกับภาษีเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมสรรพากร สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล…

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร ทำไมคนทำธุรกิจควรรู้

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร? เอกสารใบกำกับภาษี เป็นเอกสารสำคัญทางการค้า ที่ผู้ประกอบการ ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ทำการออกบิลให้กับทางผู้บริโภคสินค้าหรือผู้ใช้บริการทุกครั้ง ซึ่งจะแสดงข้อมูลของ สินค้า และ บริการ รวมถึงจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บ โดยปกติแล้วผู้ประกอบการจะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา VAT 7% ที่เราเคยเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ทั้งนี้ ภาษีที่คิดจากราคาขาย หากเป็นผู้ขายหรือผู้ให้บริการ จะเรียกว่า ภาษีขาย แต่ถ้าเราเป็นลูกค้าซื้อสินค้าหรือใช้บริการ แล้วมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเรียกว่า ภาษีซื้อ เป็นต้น ใบกำกับภาษี แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือใบกำกับภาษีแบบเต็ม และ ใบกำกับภาษีแบบย่อ โดยใบกำกับภาษีแบบย่อใช้สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการรายย่อย โดยส่วนมากแล้วราคาสินค้าและบริการจะต้องระบุข้อความว่า “รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม” จะต่างกับใบกำกับภาษีแบบเต็ม ที่บอกจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

มาตรการทางภาษีเมื่อใช้ e-Tax Invoice

กรมสรรพากรขยายเวลาต่อกับ 2 มาตรการภาษี การเปลี่ยนการใช้มาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ได้ประโยชน์มากมาย ทั้งลดต้นทุนการพิมพ์กระดาษ หมึกพิมพ์ บุคคลกรที่ต้องจัดการในเรื่องนี้ ปัญหาความยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสารจะหมดไป หาเอกสารได้ง่ายขึ้น มีความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เเละยิ่งไปกว่านั้นทางกรมสรรพากรได้ประกาศสิทธิประโยชน์ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 435 ว่า ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละ หนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่ง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษีค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์หรือค่าบริการใช้พื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 766) พ.ศ. 2566 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นการจ่ายเพื่อประโยชน์ในการจัดทํา ส่งมอบ รับ หรือเก็บรักษาใบกํากับภาษี อิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ หรือการนําส่งเงินภาษี (2) ต้องเป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 (3) ต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษี ค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์…

ตรวจสอบเอกสารการยื่นภาษี E-Receipt

ตรวจสอบเอกสารการยื่นภาษี E-Receipt การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยช่องทาง ETDA (teda.th)  เป็นระบบการให้บริการตรวจสอบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือเอกสาร Etax Invoice ที่ได้มาจริงและถุกต้องตามหลักกรมสรรพากรไหม สามารถใช้ไฟล์ PDF ที่ได้รับมา ตรวจข้อมูลตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ https://validation.teda.th/webportal/v2/#/validate ข้อมูลที่ตรวจสอบ คือ การตรวจสอบโครงสร้าง XML-Schema and Schematron (XML-Schema and Schematron Result) ต้องขึ้นสถานะ “ผ่าน” การตรวจสอบ Digital Signature ต้องขึ้นสถานะ “น่าเชื่อถือ” นะคะ หากเป็น eTax Invoice by Email ให้ดูตรงรายละเอียดตรง ผลการตรวจสอบ PDF-Timestamp ต้องขึ้นสถานะ “น่าเชื่อถือ” ค่ะ #ลดหย่อนภาษี #Easy E-Receipt #etax #etaxeasy

ออกใบกำกับภาษีเต็มรูป(eTax invoice) หลังออกใบกำกับภาษีอย่างย่อไปแล้ว

ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผิด ออกใหม่ได้ไหม การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่นั้น ให้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้ตรงกับ วัน เดือน ปี ในใบกำกับภาษีอย่างย่อ รวมทั้งระบุชื่อ ที่อยู่ ผู้ซื้อสินค้า/ผู้รับบริการ และหมายเหตุในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อเลขที่ xxxxx และออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่แทน” ใบกำกับภาษีเต็มรูป vs.ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบกำกับภาษีเเบบเต็มรูป ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice) เเบบเต็มรูป ใช้สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้เเก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องมีรายละเอียดดังนี้ 1.ในเอกสารประกอบคำว่า “ใบกำกับภาษี” 2.เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เเละที่อยู่ของผู้ขาย 3.เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เเละที่อยู่ของผู้ซื้อ 4.เลขที่ใบกำกับภาษี 5.วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี 6.รายละเอียดเเละมูลค่าของสินค้า หรือบริการ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เเบบอย่างย่อ (Abbreviated eTax Invoice) ใช้เป็นหลักฐานเเสดงการซื้อขาย สินค้า/บริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้ารายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก โดยข้อเเตกต่างของใบกำกับภาษีอย่างย่อคือไม่ต้องเเสดงชื่อผู้ซื้อ รายละเอียดของสินค้า/บริการ สามารถใส่เป็นรหัสได้ โดยราคาสินค้า/บริการจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปแล้วนั่นเอง

ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ เเทนใบเดิม (eTax Invoice)

ยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใบเดิม เเล้วออกใบใหม่ กรณีออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผิด ต้องการยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเดิม และออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ทดแทน การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่นั้น ให้ออกเลขที่ใบกำกับภาษีใหม่  และลงวัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ โดยใส่หมายเหตุในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ว่า“เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิม เลขที่ xxxxx วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิม” นอกจากนี้ให้หมายเหตุการณ์ยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ด้วย และนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ให้กรมสรรพากร พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

e-Refund สิทธิ์ลดหย่อนทางภาษี

มาตรการทางภาษี e-Refund e-refund เป็นมาตรการทางภาษี ที่กระตุ้นเศรษฐกิจให้คนจับจ่ายใช้สอย โดยรัฐบาลภายใต้การนำของคุณเศรษฐา ทวีสิน โดยกำหนดให้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 50,000 บาท  โดยมาตรการนี้สนับสนุนให้กลุ่มบุคคลที่ไม่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการ digital wallet (กลุ่มผู้ที่มีรายได้เกิน 70,000 บาท หรือมีเงินฝากเกิน 500,000 บาท) โดยข้อกำหนด 1.ซื้อสินค้าหรือใช้บริการมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท 2.ต้องซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากร้านค้าหรือบริษัทที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice & eReceipt) เท่านั้น 3.ช่วงระยะเวลามาตรการ: เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป เช็คลิสต์สินค้า/บริการที่เข้าร่วมรายการ สินค้า/บริการที่เข้าร่วม ร้านหนังสือ อุปกรณ์ IT ร้านอาหาร ศูนย์บริการรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า / ของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์กีฬา / สินค้าทั่วไป เครื่องแต่งกาย สินค้า/บริการที่ไม่เข้าร่วม สุรา เบียร์ ไวน์ ทุกชนิด บุหรี่ รถยนต์ รถจักรยานยน…

สรุปขั้นตอนการจัดทำเเละนำส่ง eTax invoice & eReceipt

ระบบจัดทำ eTax Invoice & eReceipt ในการจัดใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice) เเละใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (eReceipt) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 โดยผู้ประกอบการต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (eReceipt) ที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เเละ นำส่งให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการรวมทั้งนำส่งกรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กำหนด ภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดไป ขั้นตอนการทำ eTax Invoice & eReceipt 1.ยื่นคำขอจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice & eReceipt) กับระบบของกรมสรรพากร 2.จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice & eReceipt) ในรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด 3.ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือ ประทับรับรองเวลา (Time stamp) ในไฟล์ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice…

ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ คือ

ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ คือ ข้อมูลสำคัญทางอิเล็กทรอนิกส์ เปรียบเสมือนตัวเเทนของนิติบุคคล ซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) กับข้อมูลสำหรับใช้สร้าง หรือถ้าเทียบกับเอกสารแบบกระดาษ คือการที่เราเซ้นเอกสารพร้อมประทับตรายางนั่นเอง การนำไปใช้ ในกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ เราจะใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate) เเทนหนังสือรับรองบริษัทในการประทับลงบนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice) ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt) ใบเพิ่มหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-debit) ใบลดหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-credit) เป็นต้น โดยจะนำไปใช้ในรูปแบบของการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือ การเข้ารหัสลับ (Encryption) ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 1.ชื่อผู้ให้บริการออกใบรับรอง 2.วันที่หมดอายุของใบรับรอง 3.ประเทศที่รับรอง 4.เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขอใบรับรอง 5.ชื่อผู้ขอใบรับรอง 6.หมายเลขใบรับรอง 7.หมายเลขกุญเเจ สาธารณะ 8.หมายเลขกุญเเจ ส่วนตัว เเละข้อมูลอื่นๆ ประโยชน์ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) มีความจำเป็นและมีความสำคัญในการสร้างให้เกิดความปลอดภัย และความเชื่อมั่นในการติดต่อสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 1.ความลับของข้อมูล…