ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) ใช้งานยังไงนะ

Digital Certificate หรือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ Digital Certificate หรือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการพิสูจน์ตัวตนของหน่วยงานเเละบริษัท หรือเปรียบเสมือนบัตรประชาชนของบุคคลธรรมดานั่นเอง ใช้สำหรับการลงลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature) บนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น บริษัทมีหลายสาขา ต้องซื้อ Digital Certificate เเยกตามสาขาไหมนะ โดยในกรณีที่บริษัทมีหลายสาขา ไม่จำเป็นต้องซื้อDigital Certificate เเยกตามสาขา สามารถใช้ใบรับรองใบเดียวกับทุกสาขาได้เลยค่ะ พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

ช่องทางการนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice)

ช่องทางการนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e tax invoice) ช่องทางการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ทางกรมสรรพากร ประกอบด้วย 3 ช่องทาง คือ เเบบWeb upload, เเบบ Service provider เเละเเบบ Host-to-Host โดยการเลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับซอฟต์เเวร์ระบบงานบัญชีที่คุณใช้งานอยู่ เเละการลงทุนของระบบ ซึ่งเเต่ละช่องทางมีค่าใช้จ่ายเเตกต่างกันจึงต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียด เพื่อให้เกิบความคุ้มค่ามากที่สุด เเละเหมาะสมต่อการใช้งาน การนำส่งแบบ Web Upload : สามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ XML ที่มีขนาดไม่เกิน 2 MB พร้อมทั้งลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน RD Website การนำส่งเเบบ Service Provider : สามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ XML หรือ Text พร้อมทั้งลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Service provider การนำส่งเเบบ Host-to-Host : สามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ XML หรือ…

e receipt ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คืออะไร ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt) เป็นหนึ่งในประเภทเอกสารที่ทางกรมสรรพากรกำหนดให้สามารถจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตามมาตรา 105 ทวิ เเห่งประมวลรัษฎากร ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt) คือ เอกสารที่บริษัทหรือผู้ขายสินค้าออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการในการแสดงข้อมูลสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยจัดทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น​ PDF/A-3, XML หรืออื่นๆ ซึ่งลงลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature) ตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนด เเละนำส่งให้กับลูกค้าเเละกรมสรรพากรค่ะ รายละเอียดของข้อมูลที่ประกอบในเอกสาร ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่รับใบกำกับภาษี เลขที่ของใบกำกับภาษี/ใบรับ รายละเอียดเเละมูลค่าสินค้า/บริการ จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี ลายมือชื่อดิจิทัลที่สอดคล้องกับข้อมูลในเอกสาร พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

eTax คืออะไร? ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?

etaxคืออะไร? ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร? โลกในยุคปัจจุบันก้าวสู่สังคมอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีเข้ามาอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค เเละทางธุรกิจมากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ไม่เพียงเเต่ทำให้การทำงานสะดวกเเละรวดเร็วขึ้น เเต่ยังสามารถลดต้นทุนในการดำเนินกิจการได้อีกด้วย ไม่ใช่ภาคเอกชนเองที่ต้องปรับตัว ทางภาครัฐก็ส่งเสริมเเละมีนโยบายในการผลักดันให้เป็นระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) เเละเข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร รวมทั้งทางกรมสรรพากร ได้พัฒนา ระบบใบกำกับภาษีเเละใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) เพื่อรองรับการจัดทำ จัดส่ง เเละจัดเก็บใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เเละใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้เหมาะสม สะดวกกับผู้ประกอบการ รวมทั้งลดปัญหาเอกสารสูญหาย หาเอกสารไม่เจอ เเละยังลดต้นทุน เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย ความต่างระหว่างใบกำกับภาษีเเบบกระดาษ vs. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารใดบ้างที่ต้องส่งในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 เเห่งประมวลรัษฎากร 2.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อ (Abbreviated e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/6 เเห่งประมวลรัษฎากร 3.ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรา 105…

เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำ e-Tax Invoice

เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำ e-Tax Invoice 1.ศึกษากฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย  (1) พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 (2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (3) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สาหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ขมธอ.3-2560) (4)ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการใช้ข้อความ XML สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน (ขมธอ.14-2560) และศึกษาวิธีการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ 2.เตรียมพร้อมระบบงานของกิจการในการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่เหมาะสม 3.จัดเตรียมใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) 4.ขออนุมัติกรมสรรพากร ความเเตกต่างระหว่าง ระบบ e-Tax Invoice by Email เเละ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ผู้ประกอบการสามารถเลือกจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ 2 วิธี 1.ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt…

ใบกำกับภาษีแบบเดิม vs. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

💡ใบกำกับภาษีเเบบเดิม vs.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เเบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน💡 สวัสดีค่ะ ท่านเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการยุคใหม่เเละนักบัญชีทุกท่าน วันนี้ทางเพจจะมาไขข้อสงสัย ว่าใบกำกับภาษีเเบบเดิมต่างกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร เเละใบกำกับภาษีแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ พร้อมเเล้วไปอ่านกันเลยยย ใบกำกับภาษีเเบบเดิม (Tax invoice) : เป็นเอกสารสำคัญที่ทางผู้ขายออกให้กับผู้ใช้บริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเเสดงข้อมูลมูลค่าสินค้าหรือบริการและ Vat ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของกระดาษ ทำให้มีเอกสารจำนวนมากเเละต้องมีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารเหล่านั้น เเละอาจพบปัญหาเรื่องการค้นหาเอกสารได้ยากอีกด้วย ใบกำกับภาษีเเบบเดิมนั้นค่อนข้างมีราคาสูง เพราะต้องทำการพิมพ์หมึกลงบนกระดาษเเละต้องใช้บุคลากรหลายตำเเหน่งในการดำเนินงานทั้งกระบวนการ รวมทั้งอาจเกิด Human Error หรือข้อผิดพลาดในการจัดส่งได้ค่ะ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) : รูปแบบการทำงานเหมือนใบกำกับภาษีเเบบเดิม เเต่อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำส่งลูกค้าเเละทางกรมสรรพากรได้ทางอินเทอร์เน็ตได้เลยค่ะ รวมทั้งลดพื้นที่ในการจัดเก็บ ทำงานได้ง่ายเเละสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดการใช้กระดาษ รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากรอีกด้วย ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ยังเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สามารถตรวจสอบการเเก้ไขได้อย่างเเม่นยำ เพราะมีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(Digital Signature) ทุกครั้ง เพิ่มเกราะป้องกันการกระทำที่ไม่พึงประสงค์หรือการทุจริตได้อีกด้วยค่ะ ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าเเก้ไขทีหลังนะคะ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเลือกใช้แบบใบกำกับภาษีที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก บริษัทควรเลือกใช้ใบกำกับภาษีรูปแบบที่เหมาะสมกับการทำงานของในองค์กร เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทค่ะ พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ