อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง การเริ่มต้นธุรกิจเป็นความฝันของหลายๆ คน แต่การจะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่แค่เพียงไอเดียที่ดีและความมุ่งมั่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเข้าใจในกฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การเป็นเจ้าของกิจการนั้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบมากมาย หลายๆเรื่องซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องให้ความสำคัญ หากคุณกำลังวางแผนที่จะเปิดธุรกิจ หรือกำลังดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องภาษีที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการได้ดียิ่งขึ้น ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่องภาษี? การทำธุรกิจไม่ใช่แค่เรื่องของการสร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากไม่เข้าใจเรื่องภาษี อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น การถูกปรับ หรือการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของภาษีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการทุกคน ภาษีที่ผู้ประกอบการควรทราบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลหากคุณจดทะเบียนธุรกิจเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด คุณต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการ หากธุรกิจของคุณมีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเรียกเก็บภาษีจากลูกค้า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่หักจากเงินได้ที่จ่ายให้บุคคลอื่น เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ คุณต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการบางประเภท เช่น กิจการโรงแรม ร้านอาหาร ภาษีสรรพสามิต…

ทำไมผู้ประกอบการบางรายถึงโดนภาษีย้อนหลัง?

ทำไมผู้ประกอบการบางรายถึงโดนภาษีย้อนหลัง? ถ้าให้ผู้ถึงปัญหาที่ผู้ประกอบการหลายรายต้องเผชิญ นั่นก็คือ การถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังนั้นเองค่ะ การโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการไม่น้อย เพราะนอกจากจะต้องชำระภาษีที่ค้างชำระแล้ว ยังอาจมีค่าปรับและดอกเบี้ยตามมาอีกด้วย ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้โดนภาษีย้อนหลัง จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนและป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สาเหตุหลักที่ทำให้โดนภาษีย้อนหลัง การจดบันทึกบัญชีไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน เช่นการจดบันทึกบัญชีที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาภาษีย้อนหลัง เพราะเมื่อสรรพากรเข้ามาตรวจสอบ หากพบว่าข้อมูลในบัญชีไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็อาจนำไปสู่การปรับปรุงบัญชีและเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมได้ การแสดงรายได้ไม่ครบถ้วนหรือการจงใจหรือไม่จงใจที่จะไม่แสดงรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรอบปีภาษี ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้โดนภาษีย้อนหลัง สรรพากรมีวิธีการตรวจสอบรายได้ของผู้ประกอบการหลายวิธี เช่น การตรวจสอบบัญชีธนาคาร การสอบถามลูกค้า หรือการเปรียบเทียบรายได้กับผู้ประกอบการในลักษณะเดียวกัน การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีผิดประเภทหรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่างละเอียด หากใช้สิทธิประโยชน์ผิดประเภทหรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็อาจถูกสรรพากรเพิกถอนสิทธิประโยชน์และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจ เช่น การควบรวมกิจการ การแบ่งแยกกิจการ หรือการโอนทรัพย์สิน อาจส่งผลกระทบต่อภาษีที่ต้องชำระ หากไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็อาจเกิดปัญหาภาษีย้อนหลังได้ การไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ การไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดทางภาษี และสรรพากรมีอำนาจในการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ วิธีแก้ไขปัญหาเพื่อป้องกันไม่ให้โดนภาษีย้อนหลัง 1.ศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายภาษี ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายภาษีอยู่เสมอ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีเมื่อมีข้อสงสัย 2.บันทึกข้อมูลทางบัญชีอย่างละเอียด: เก็บรักษาเอกสารหลักฐานทางการเงินให้ครบถ้วน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สลิปเงินเดือน จดบันทึกบัญชีอย่างถูกต้องและครบถ้วนโดยจดบันทึกทุกธุรกรรมทางการเงินอย่างละเอียดและเป็นปัจจุบัน จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลบัญชีอย่างสม่ำเสมอ…

ภาษี e-Service คืออะไร

ภาษี e-Service มีความสำคัญอย่างไร ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การทำธุรกรรมต่างๆหรือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องที่ปกติไปแล้ว ซึ่งรวมถึงการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ จากต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Netflix, Spotify, หรือ Shopee เป็นต้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การใช้บริการเหล่านี้ก็มีภาษีที่ต้องเสียเช่นกัน นั่นคือ ภาษี e-Service ภาษี e-Service คืออะไร? ภาษี e-Service หรือ ภาษีบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการซื้อสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) จากต่างประเทศ เช่น การสมัครสมาชิก Netflix, การซื้อแอปพลิเคชันบนมือถือ, การซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ต่างประเทศ เป็นต้น โดยภาษีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT%) ที่เราจ่ายกันอยู่เป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเสียภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ รวมถึงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับทางภาครัฐในการนำรายได้จากการจักเก็บภาษีเหล่านี้ไปพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ทำไมต้องมีภาษี e-Service? เพื่อสร้างความเท่าเทียมและให้เกิดความเป็นธรรมทางภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศในเรื่องของภาระภาษีที่เท่าเทียมกัน เพิ่มรายได้ของภาครัฐ เพื่อนำรายได้จากการเก็บภาษี E-Service ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น เพื่อควบคุมให้การค้าขายทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศโดยการจัดเก็บภาษี E-Service อาจกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการในประเทศมากขึ้น ใครต้องเสียภาษี e-Service โดยทั่วไป ผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และมีรายได้จากการให้บริการในประเทศไทยเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บและนำส่งภาษี…

ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท

การยื่นภาษี คือ? การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน เพื่อให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและทันเวลา ผู้ที่ต้องยื่นภาษีในแต่ละประเภท จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทให้ชัดเจน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีให้ถูกต้อง ล้วนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนภาษีและการหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย การยื่นภาษีล่าช้าอาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับและดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถวางแผนการยื่นภาษีได้ง่ายและถูกต้องและเข้าใจช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น เราจะมาสรุปสั้นให้ฟังค่ะว่า ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีความแตกต่างกันและมีความสำคัญอย่างไร ทำไมช่วงเวลาในการยื่นภาษีจึงสำคัญ? หลีกเลี่ยงค่าปรับที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้าอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับ วางแผนทางการเงินเพื่อให้ผู้สียภาษีรู้กำหนดเวลาในการยื่นภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการยื่นภาษีตรงตามกำหนด อาจทำให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อช่วงเวลาในการยื่นภาษี ประเภทของภาษีแต่ละประเภทของภาษีจะมีกำหนดเวลาในการยื่นที่แตกต่างกัน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับนิติบุคคล กำหนดเวลาในการยื่นภาษีจะขึ้นอยู่กับรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทกำหนด การขยายเวลาในบางกรณี กรมสรรพากรอาจมีการประกาศขยายเวลาในการยื่นภาษีออกไป เนื่องจากเหตุจำเป็น เช่น ภัยธรรมชาติ หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบฯ กำหนดเวลาในการยื่นแบบฯ หมายเหตุ ภ.ง.ด.90 ม.ค. – มี.ค. ของปีถัดไป ใช้เสียภาษีเงินได้ประจําปีสําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2)-(8) แห่งประมวลรัษฎากรหรือมีเงินได้ฯ ตาม มาตรา 40(1) และ มาตรา…

ประเภทของอัตราภาษีเงินได้

ประเภทของอัตราภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ เป็นหนึ่งในภาษีที่คนทำงานส่วนใหญ่ต้องพบเจอ และเป็นเรื่องที่หลายคนอาจรู้สึกสับสนและอยากเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอัตราภาษีและวิธีการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดา บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราภาษีเงินได้ในแต่ละประเภท พร้อมตารางเปรียบเทียบที่เข้าใจง่าย และแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้คุณสามารถวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีเงินได้คืออะไร? ภาษีเงินได้ คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีรายได้ ซึ่งรายได้นี้สามารถเกิดจากการทำงาน การประกอบธุรกิจ การลงทุน หรือการได้รับทรัพย์สินอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยจะมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ข้อมูลล่าสุดและถูกต้องที่สุด สามารถตรวจสอบได้จาก เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือ หน่วยงานภาษีที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไป อัตราภาษีจะแบ่งเป็นขั้นบันได ตามระดับของเงินได้ที่ได้รับ ซึ่งหมายความว่า ยิ่งมีรายได้สูง อัตราภาษีก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยค่ะ ประเภทของอัตราภาษีเงินได้ อัตราภาษีเงินได้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ และจำนวนเงินได้ที่ได้รับ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลทั่วไป เช่น พนักงานบริษัท ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ หรือ นักลงทุน ภาษีเงินได้นิติบุคคล: คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคล เช่น บริษัทมหาชน จำกัด บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน จำกัด…

e-Billing คืออะไร?

e-billing คืออะไร? “เข้าสู่ยุคดิจิทัลอะไรๆก็ดูทันสมัยไปซ่ะหมดแถบจะทุกอย่างก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ความสะดวกในเรื่องของเครื่องมือการทำธุรกิจ และระบบอย่างอีกอื่นมากมายเป็นต้น” e-billing (ใบเเจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์) e-billing ย่อมาจาก electronic billing หมายถึง ระบบการออกใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ คือการออกเอกสารในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์แทนที่ใบแจ้งหนี้แบบกระดาษ โดยผู้ขายจะออกใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งให้ผู้ซื้อผ่านช่องทางอีเมล หรือช่องทางออนไลน์อื่นๆ เเละแทนการส่งใบแจ้งหนี้แบบกระดาษทางไปรษณีย์หรือส่งมอบด้วยมือ เป็นต้น ผู้ประกอบการใช้เพื่อทดแทนใบแจ้งหนี้แบบกระดาษ ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมทางธุรกิจมากขึ้น ช่วยลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ ร่วมทั้งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ประโยชน์ของ e-billing มีอะไรบ้าง? ผู้ขายสามารถออกใบแจ้งหนี้และส่งให้ลูกค้าทางออนไลน์ได้ง่ายดาย ลูกค้าก็สามารถดูและชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ได้เช่นกัน สร้างความสะดวกให้กับทั้งเจ้าของกิจการและผู้ใช้บริการ และในการทำงานได้อย่างมากและยังช่วยควบคุมงบประมาณในการใช้จ่ายภายในองค์กรได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น อาทิ เช่น การใช้งานการออกเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-billing ช่วยให้กระบวนการออกใบแจ้งหนี้และชำระเงินรวดเร็วขึ้นประหยัดเวลาในการส่งและรับใบแจ้งหนี้ สะดวกทั้งผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดี การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-billing ยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอุปกรณ์สำนักงานได้ค่อนข้างเยอะอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของค่าใช้จ่าย เช่น ค่ากระดาษ หมึกพิมพ์ และค่าจัดส่ง การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-billing ยัง ช่วยลดการใช้กระดาษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เเละส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับทางองค์กร การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-billing ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ช่วยป้องกันข้อมูลสูญหายหรือถูกปลอมแปลง…

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง กรณีผู้มีเงินได้ในการประกอบอาชีพมีความแตกต่างกัน และมีความยากง่ายหรือต้นทุนที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ในกฎหมายจึงได้แบ่งประเภทเงินได้ออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการของผู้เสียภาษี ซึ่งภาษีเงินได้เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือบุคคลผู้ที่มีรายได้ โดยการคำนวณภาษีก็จะแตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองมาดูตารางสรุป 8 ประเภทของภาษีเงินได้กันเลยค่ะว่า แต่ละประเภทเนี้ยมีความแตกต่างกันอย่างไร เงินได้ที่เรารับอยู่ตอนนี้จัดอยู่ในประเภทเงินได้ ประเภทใดกันแน่นะ เงินได้ประเภทที่ 1 เป็นเงินได้ที่จัดอยู่ในหมวดของ พนักงานประจำหรือบุคคลที่รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเงินในส่วน เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส หรือเงินให้สวัสดิการก็ตามที เงินได้ประเภทที่ 2 เป็นเงินได้จัดอยู่ในหมวดของ อาชีพอิสระหรือที่เค้าเรียกกันวันว่า ฟรีแลนซ์ ตามที่เราๆเคยได้ยินกันเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด   เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำแต่จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว หรือไม่ก็ตาม ภาษีเงินได้ประเภทที่ 3 เป็นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอื่นๆ หรือเป็นเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น…

e-Withholding Tax กับการหัก ณ ที่จ่าย

e-withholding tax กับการหัก ณ ที่จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เปรียบเสมือนกลไกสำคัญในการจัดเก็บภาษีที่ภาครัฐได้กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักจ่ายล่วงหน้า โดยผู้จ่ายเงิน (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงิน (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน ลูกจ้าง ฟรีแลนซ์ ในอัตราที่กำหนดไว้ และนำส่งเงินภาษีที่หักไว้ให้กับทางกรมสรรพากร เป็นต้น ทำไมต้องมีภาษีหัก ณ ที่จ่าย? เพื่อช่วยลดภาระผู้เสียภาษีช่วยให้ผู้เสียภาษีมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายก่อน และไม่ต้องจ่ายภาษีก้อนใหญ่ในคราวเดียวปลายปี เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีช่วยให้กรมสรรพากรลดการเลี่ยงภาษีและยากต่อการเลี่ยงภาษี เพราะมีกลไกการหักภาษีไว้ก่อน ในส่วนของระบบ e-Withholding Tax เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับในเรื่องของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระบบนี้ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งฝั่งผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินสามารถบริหารจัดการภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้ง่าย และยังช่วยในเรื่องของการ ลดค่าใช้จ่ายในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนขององค์กร ด้วยการเปลี่ยนจะการใช้กระดาษแทนที่ด้วยการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาทำงานโดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการจัดการเกี่ยวเรื่องของการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ลดขั้นตอนในการทำงานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดเก็บเอกสาร ความถูกต้องของข้อมูลในเอกสาร ดีทั้งการค้นหาได้ง่ายรวดเร็วและยังได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อไปในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้ยื่นก็จะไม่ต้องมานั่งห่วงว่าเอกสารจะสูญหายมั้ยและไม่ต้องรื้อค้นเอกสารให้วุ่นวาย เพราะสามารถค้นหาได้ง่าย โดยค้นหาผ่านเว็ปไซต์ของทางกรมสรรพากร และยังมีสิทธิประโยชน์อีกมากมาย ระบบ e-Withholding…

การจัดเก็บภาษี (e-commerce)

การจัดเก็บภาษี (e-commerce) ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน การทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ (e-commerce) มีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันเพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ และ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการ เสนอขายและนำส่งสินค้าให้กับทางลูกค้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กรมสรรพากรต้องปรับระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่นี้ โดยหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจ e-commerce มีดังนี้ 1. ใครต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการ e-commerce ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่จับต้องได้หรือสินค้าดิจิทัล ไม่ว่าจะขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย เช่น บริการสตรีมมิ่งเพลง ภาพยนตร์ เกม อีบุ๊ค 2. ประเภทของภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คำนวณจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 1: ภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 2: ภาษี = เงินได้พึงประเมิน…

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง อาจจะยังมีหลายคนสงสัยว่าบุคคลที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์เค้าเสียกันหรือป่าว ถ้าเสียภาษีแล้วประเภทภาษีของอาชีพฟรีมีอะไรบ้าง ในฐานะฟรีแลนซ์ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่นเดียวกับผู้มีรายได้ประจำทั่วไป โดยเงินได้ของคุณจะจัดอยู่ใน “เงินได้ประเภทที่ 2 ตามประมวลรัษฎากร หรือ “เงินได้มาตรา 40 (2)” ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นประชาชนคนไทยและมีรายได้ ทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้กับประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม ฟรีแลนซ์ หรือที่เค้าเรียกกันว่า อาชีพอิสระ เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง เลือกเวลาทำงาน เลือกสถานที่ทำงานเองได้ โดยไม่ต้องสังกัดองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่การเป็นฟรีแลนซ์นั้น ก็มาพร้อมกับ ภาระหน้าที่ ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ค่ะ ภาษีหลัก ที่ฟรีแลนซ์ต้องเสียมีดังนี้ ประเภทภาษี กรณีที่ต้องเสีย อัตราภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีรายได้จากการประกอบอาชีพ ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ภาษีธุรกิจเฉพาะ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เหมือนกับอาชีพทั่วไป โดยจะต้องเสียภาษี 2 รอบ ดังนี้…