จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม “การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มVat มีข้อดีมากมาย และยังสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของคุณอีกด้วย!!” แต่!!! ก็ยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ ว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำคัญและดีอย่างไรกับธุรกิจของคุณ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นแตกต่างจากธุรกิจที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาสรุปข้อมูลสั้นๆ เพื่อให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ให้เข้าใจว่าระหว่างการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีความสำคัญอย่างไรและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจากผู้ที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร 1.เกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในทางธุรกิจ ทุกๆกิจการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม หากมีรายได้ที่เกินเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ต้องมีหน้าที่ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าหากไม่ได้อยู่เกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ก็สามารถขอยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากผู้ประกอบการรายใด ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กิจการนั้นๆ มีรายได้เกินกำหนดของกรมสรรพากร คือ 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องรีบทำการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น คือ 30 วัน นับจากวันที่มูลค่าฐานภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด หากไม่ยื่นจดทะเบียนมีความมีความเสี่ยงถูกปรับกรณีที่ประกอบธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีโทษปรับทางกฎหมายตามที่กรมสรรพากรได้กำหนดไว้ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้รับการใช้บริการนั้นในประเทศไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.สิทธิประโยชน์ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ หมายความว่า เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไปได้ ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ  ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ สามารถหักภาษีซื้อจากยอดภาษีขายได้ กรณีที่มียอดขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถหักภาษีซื้อที่จ่ายไปจากยอดภาษีขายได้ ช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องชำระ สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ แสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีขนาดใหญ่ มั่นคง และปฏิบัติตามกฎหมาย มีสิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ…

แก้ไขใบกำกับภาษี/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax)ได้ไหม

แก้ไขใบกำกับภาษี ต้องเปลี่ยนเลขที่เอกสารหรือใช้เลขเดิม? การแก้ไขใบกำกับภาษีเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในธุรกิจ แต่หลายคนอาจสงสัยว่าควรเปลี่ยนเลขที่เอกสารใหม่หรือใช้เลขเดิม บทความนี้จะอธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่างสองวิธีนี้ และช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสม ตามหลักการแล้ว ไม่ควรแก้ไขเลขที่เอกสาร บนใบกำกับภาษีที่ออกไปแล้ว กรณีที่สามารถแก้ไขใบกำกับภาษีโดยไม่ต้องเปลี่ยนเลขที่เอกสาร แก้ไขรายละเอียดปลีกย่อย: แก้ไขชื่อ-นามสกุลของผู้ซื้อ/ผู้ขาย แก้ไขที่อยู่ของผู้ซื้อ/ผู้ขาย แก้ไขรายการสินค้า/บริการ แก้ไขจำนวนหน่วยสินค้า/บริการ แก้ไขราคาต่อหน่วยสินค้า/บริการ แก้ไขส่วนลด/ชาร์จเพิ่ม แก้ไขภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกเลิกใบกำกับภาษี: กรณีที่ออกใบกำกับภาษีผิดพลาด กรณีลูกค้าต้องการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้า/บริการ กรณีลูกค้าต้องการยกเลิกการสั่งซื้อ วิธีการแก้ไขใบกำกับภาษี พิมพ์ใบกำกับภาษีฉบับใหม่: ระบุเลขที่เอกสารเดิม ระบุ “แก้ไข” ไว้หน้ารายการสินค้า/บริการที่แก้ไข ลงวันที่แก้ไข ประทับตราลงชื่อผู้แก้ไข ทำบันทึกการแก้ไข: ระบุเลขที่เอกสาร ระบุรายละเอียดที่แก้ไข ลงวันที่แก้ไข เก็บสำเนาใบกำกับภาษีฉบับแก้ไข และ บันทึกการแก้ไขไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเลขที่เอกสาร แก้ไขสาระสำคัญ: แก้ไขวันที่ แก้ไขชื่อหรือที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี แก้ไขประเภทของสินค้า/บริการ แก้ไขจำนวนเงินรวม แก้ไขภาษีมูลค่าเพิ่มรวม วิธีการแก้ไขใบกำกับภาษีโดยเปลี่ยนเลขที่เอกสาร พิมพ์ใบกำกับภาษีฉบับใหม่: ใช้เลขที่เอกสารใหม่ ระบุ “แทนฉบับเดิมเลขที่ [เลขที่เอกสารเดิม]” ลงวันที่แก้ไข ประทับตราลงชื่อผู้แก้ไข ทำบันทึกการแก้ไข: ระบุเลขที่เอกสารเดิม ระบุเลขที่เอกสารใหม่…

6 ประเภทภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ควรรู้

ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME ธุรกิจ SME เป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทย มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างการจ้างงาน อย่างไรก็ดี ธุรกิจ SME จำเป็นต้องเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ  ภาษี เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะ ธุรกิจ SME ที่อาจไม่มีทีมบัญชีหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกใบกำกับภาษีมาช่วยดูแล บทความนี้จึงรวบรวมภาษีหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME มาอธิบายให้เข้าใจง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวและจัดการภาษีอย่างถูกต้อง ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME มีดังนี้ 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ บุคคลธรรมดา : ธุรกิจ SME ในรูปแบบนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจ SME ที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บุคคลธรรมดา: สำหรับเจ้าของกิจการที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ของธุรกิจ โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้ นิติบุคคล: สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของธุรกิจ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT):…

สรุปขั้นตอนการจัดทำเเละนำส่ง eTax invoice & eReceipt

ระบบจัดทำ eTax Invoice & eReceipt ในการจัดใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice) เเละใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (eReceipt) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 โดยผู้ประกอบการต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (eReceipt) ที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เเละ นำส่งให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการรวมทั้งนำส่งกรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กำหนด ภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดไป ขั้นตอนการทำ eTax Invoice & eReceipt 1.ยื่นคำขอจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice & eReceipt) กับระบบของกรมสรรพากร 2.จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice & eReceipt) ในรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด 3.ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือ ประทับรับรองเวลา (Time stamp) ในไฟล์ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax Invoice…

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ etax invoice คืออะไร

e-tax invoice คืออะไร? etax คือ การจัดทำใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ประกอบการสามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice), ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt), ใบเพิ่มหนี้ (e-Debit Note), ใบลดหนี้ (e-Credit Note) ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เพื่อแสดงข้อมูลและรายละเอียดของสินค้าและบริการนำส่งให้กับทางลูกค้า และนำส่งให้กรมสรรพากร นอกจากนี้เอกสารอื่นๆก็สามารถทำให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น ใบแจ้งหนี้(invoice) , ใบแจ้งยกเลิก (cancellation notice) รายละเอียดที่ประกอบในใบกำกับภาษี e-tax invoice คือ? ใบกำกับภาษีแบบเต็ม ประกอบด้วย เเสดงคำว่า “ใบกำกับภาษี” อย่างชัดเจน เเสดงชื่อเเละที่อยู่ของผู้ขาย เเละเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เเสดงชื่อเเละที่อยู่ของผู้ซื้อ เเละเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ (โดยเฉพาะผู้ซื้อที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) เลขที่ใบกำกับภาษี วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี รายละเอียดของสินค้าเเละบริการ โดยเเสดง ชื่อ ชนิด ประเภท…