e-Signature กับ Digital Signature คืออะไร เกี่ยวข้องกันมั้ย มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ
ในอดีต เมื่อมีการทำธุรกรรมหรือสัญญาใด ๆ มักต้องพิมพ์เอกสารออกมาเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องลงนามบนกระดาษ แต่ในยุคที่การทำงานออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้ e-Signature หรือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาแทนที่ลายเซ็นแบบดั้งเดิม การลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ซึ่งมีผลตามกฎหมายมานานแล้ว ที่คุ้นเคยกันในปัจจุบัน คือ การที่ผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าหรือคู่ค้าแบบไม่ต้องใช้กระดาษเลยหรือที่เรียกว่า e-Tax Invoice ซึ่งมีการยืนยันตัวตนโดยใช้การลงลายมือชื่อดิจิทัล
ผู้ประกอบการหลายท่านอาจกำลังสงสัย เมื่อพูดถึงระหว่าง Electronic Signature กับ Digital Signature ตกลงแล้วคืออะไร? เป็นเรื่องเดียวกันมั้ย? และลายมือชื่อดิจิทัลมีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง? บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักให้มากขึ้นค่ะ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature หรือ e-Signature) คืออะไร?
e-Signature หรือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือการแสดงเจตนาลงนามในเอกสารผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่เซ็นชื่อบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากกว่านั้น เช่น
- การพิมพ์ชื่อ
- การคลิกยอมรับ หรือ ตกลง บนระบบออนไลน์
- การวาดลายเซ็นด้วยเมาส์หรือหน้าจอสัมผัส
- การแนบไฟล์เสียงหรือรูปภาพแสดงตัวตน
แม้จะไม่ได้ลงนามด้วยปากกา แต่ e-Signature ก็มี จุดประสงค์เดียวกับลายเซ็นแบบกระดาษ คือเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ลงนาม และแสดงเจตนาชัดเจนในการยอมรับเนื้อหาในเอกสารนั้น ๆ ที่สำคัญคือ e-Signature มีผลทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เช่นเดียวกับลายเซ็นทั่วไป
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้:
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) หมายถึง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่างยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ประเภทของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ประเภทที่ 1 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
ลายมือชื่อตามมาตรา 9
ต้องใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการลงลายมือชื่อ
- ระบุตัวผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อได้
- แสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อยอมรับข้อความนั้น
- ใช้วิธีที่เชื่อถือได้โดยคำนึงถึง
- ความมั่นคงและรัดกุมของวิธีการที่ใช้
- ลักษณะ ประเภท หรือ ขนาดของธุรกรรมที่ทำ ฯลฯ
- ความรัดกุมของระบบติดต่อสื่อสาร
เช่น
-การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล
-การแสกนภาพลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบไปกับเอกสาร
-การใช้สไตลัส (stylus) เขียนลายมือชื่อด้วยมือลงบนหน้าจอและบันทึกไว้
-การใช้ระบบงานอัตโนมัติที่มีการยืนยันตัวผู้ใช้งานประกอบกับรูปแบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทที่ 1
ประเภทที่ 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้
ลายมือชื่อตามมาตรา 26
กฎหมายให้ถือว่าเป็นลายมือชื่อที่เชื่อถือได้
- ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่อเชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อได้
- ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่ออยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อ
- สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของลายมือชื่อ / ข้อความ ได้
เช่น ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Ingrastructure: PKI)
ประเภทที่ 3 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง
เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 26 และอาศัยใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่กำหนดในมาตรา 28 แห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
เช่น ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (PKI) และใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง
ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)
ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หมายถึง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับ (Encrypt) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือชื่อและตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมถึงการทำให้เจ้าของลายมือชื่อไม่สามารถปฏิเสธความผิดจากข้อความที่ตนเองลงลายมือได้
องค์ประกอบของการลงลายมือชื่อดิจัล
การลงลายมือชื่อดิจิทัลที่กฎหมายรองรับ ตามมาตรา 26 แห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
- ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่เชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่นภายใต้สภาพที่นำมาใช้
- ในขณะสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น
- การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้นสามารถจะตรวจพบได้ และ
- ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การลงลายมือชื่อเป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ การเปลี่ยนแปลงใดแก่ข้อความนั้นสามารถตรวจพบได้นับแต่เวลาที่ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(ที่มา: https://www.etda.or.th/th/contact/faq/e-Signature.aspx)
ข้อแตกต่างระหว่าง e-Signature กับ D-Signature
จากที่ได้อธิบายไปข้างต้นว่า การลงลายมือชื่อดิจิทัล (D-Signature) เป็นรูปแบบหนึ่งของ การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ซึ่งหากจะเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างได้ชัดเจน บทความนี้จะเปรียบเทียบในประเด็นระหว่าง e-Signature ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภททั่วไป กับ การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งสามารถสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ว่าระหว่าง e-Signature กับ D-Signature แม้จะมีจุดประสงค์เดียวกันคือลงนามในเอกสารดิจิทัล แต่มีความแตกต่างกันที่รูปแบบการเข้ารหัสและระดับความปลอดภัย
e-Signature เป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีการเข้ารหัสลับ (Encerypt) เหมาะกับการเซ็นเอกสารทั่วไป เช่น การพิมพ์ชื่อท้ายเอกสาร การลงลายเซ็นบนแท็บเล็ต หรือการคลิกยอมรับในระบบออนไลน์ ซึ่งเหมาะสำหรับงานที่ไม่ซับซ้อนมาก เช่น การกรอกฟอร์มออนไลน์ หรือเอกสารภายในที่ไม่ต้องใช้หลักฐานทางกฎหมายเข้มงวด
ในขณะที่ Digital Signature เป็นการลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัลที่มีความปลอดภัยสูง เหมาะกับเอกสารสำคัญหรือเอกสารขององค์กรที่มีความเสี่ยงถูกปลอมแปลง เหมาะสำหรับเอกสารที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูลเป็นพิเศษ
ซึ่งเปรียบเทียบ e-Signature และ D-Signature ตามประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
ประเด็นเปรียบเทียบ | e-Signature ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภททั่วไป | D-signature |
ความหมาย | การแสดงเจตนาเซ็นเอกสารด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เช่น การพิมพ์ชื่อ, สแกนลายมือ, วาดลายเซ็นบนหน้าจอ หรือคลิก “ยอมรับ” | รูปแบบของ e-Signature ที่อาศัย Public Key Infrastructure (PKI) เข้ารหัส /ถอดรหัส เอกสาร เพื่อยืนยันตัวตนผู้ลงนาม และรับประกันความสมบูรณ์ของเอกสาร (integrity & non-repudiation) |
เทคโนโลยีหลัก | ไม่มีการเข้ารหัสเฉพาะ พึ่งพาแพลตฟอร์มออนไลน์หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ (เช่น เว็บฟอร์ม, PDF editor) | ใช้คู่กุญแจ (Private/Public Key) ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) ออกโดย Certificate Authority (CA) Hashing & Encryption |
ระดับความปลอดภัย | ขั้นพื้นฐาน ต้านการปลอมแปลงได้น้อย | สูงมาก ต้านการปลอมแปลงได้ดี เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงในเอกสารจะทำให้ลายเซ็นไม่ตรงกัน (invalid) |
ผลทางกฎหมายในไทย (พ.ร.บ. ธุรกรรมฯ 2544) | ได้รับการรับรองว่ามีผลทางกฎหมาย หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นของผู้ลงนามจริงและไม่มีการดัดแปลง | ได้รับการรับรองในฐานะ “ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ระดับสูง” (Advanced/Qualified) ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนและเป็นที่ยอมรับในชั้นศาล |
ตัวอย่างการใช้งาน | -เซ็นสัญญาออนไลน์ทั่วไป -ยืนยันนโยบายคุกกี้บน -เว็บไซต์แบบฟอร์มสมัครงาน -คำขอออนไลน์ เป็นต้น | -e-Tax Invoice / ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ -สัญญาทางการเงิน (Loan agreements) -ใบรับรองทางวิชาชีพ เป็นต้น |
จากเนื้อหาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการใช้ Digital Signature สามารถยกระดับการทำธุรกรรมออนไลน์ได้ดีกว่าการใช้ e-Signature ธุรกิจยุคใหม่ควรใช้การลงลายมือชื่อดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทางกฎหมาย การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือการอนุมัติภายในองค์กร การใช้ D-Signature คือก้าวสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างปลอดภัย มั่นใจ และทันสมัยในทุกขั้นตอน
Digital Signature มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร?
ในยุคที่ทุกอย่างเคลื่อนสู่ดิจิทัล ความเร็ว ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือกลายเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ลายมือชื่อดิจิทัล จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ที่คุ้นเคยกันดีคือการลงลายมือชื่อดิจิทัลบนใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice นั่นเอง ด้วยความสามารถที่มากกว่าแค่การ ลงลายมือชื่อ บนเอกสารออนไลน์ไลน์ทั่วไป
นี่คือ 6 เหตุผลที่ การลงลายมือชื่อดิจิทัล (D-Signature) สำคัญต่อธุรกิจ:
- เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรม
การลงลายมือชื่อดิจิทัล ใช้เทคโนโลยี PKI (Public Key Infrastructure) ที่ช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสารหรือการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต หากมีการแก้ไขเนื้อหาในเอกสารหลังลงนาม ลายเซ็นจะถูก “ทำลาย” ทันที และลดความเสี่ยงจากการถูกฟ้องหรือมีข้อพิพาทเรื่องความถูกต้องของเอกสาร
- ยืนยันตัวตนผู้ลงนามได้อย่างชัดเจน (Authentication)
ลายมือชื่อดิจิทัลต้องใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ (CA)
สามารถระบุตัวตนได้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ลงนาม ลดความเสี่ยงจากการปลอมแปลงตัวตน และช่วยในกระบวนการตรวจสอบย้อนหลังหรือในกรณีที่เกิดข้อพิพาททางกฎหมาย
- มีผลทางกฎหมาย รองรับโดย พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ในประเทศไทย การลงลายมือชื่อดิจิทัล ได้รับการยอมรับตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
เทียบเท่ากับลายมือชื่อบนกระดาษ ใช้ในเอกสารทางกฎหมายและภาษี เช่น e-Tax Invoice, สัญญากู้เงิน, บันทึกข้อตกลง
- เพิ่มความน่าเชื่อถือและมืออาชีพขององค์กร
การใช้การลงลายมือชื่อดิจิทัลแสดงถึงการปรับตัวขององค์กรเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างจริงจัง ช่วยสร้างความมั่นใจให้คู่ค้า ลูกค้า หรือพันธมิตรทางธุรกิจ เหมาะสำหรับธุรกิจ B2B, Fintech, ธนาคาร, ประกัน และธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงทางข้อมูล
- ลดต้นทุนและเพิ่มความเร็วในการทำงาน
- ไม่ต้องพิมพ์เอกสาร ส่งแฟกซ์ หรือส่งพัสดุไปให้เซ็น
- ลดต้นทุนค่ากระดาษ ค่าขนส่ง และเวลาในการดำเนินการ
- เอกสารถูกลงนามและเก็บแบบดิจิทัลได้ทันที ใช้งานต่อได้แบบไร้รอยต่อ
- พร้อมรองรับการตรวจสอบและการตรวจย้อนกลับ (Audit Trail)
ระบบมีการเก็บประวัติการลงนาม, วันเวลา, อุปกรณ์ที่ใช้ลงนาม ฯลฯทำให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องย้อนหลังได้ เหมาะกับธุรกิจที่ต้องทำ Compliance หรือ Audit เช่น บริษัทมหาชน, สถาบันการเง
สามารถติดต่อ ปรึกษา และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
เบอร์โทร: 062-6265059
ไลน์: @etaxeasy
Facebook: EtaxEasy: โปรแกรมจัดทำใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์
Email: etaxeasy@topmte.com