e-withholding tax กับการหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เปรียบเสมือนกลไกสำคัญในการจัดเก็บภาษีที่ภาครัฐได้กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักจ่ายล่วงหน้า โดยผู้จ่ายเงิน (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงิน (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน ลูกจ้าง ฟรีแลนซ์ ในอัตราที่กำหนดไว้ และนำส่งเงินภาษีที่หักไว้ให้กับทางกรมสรรพากร เป็นต้น
ทำไมต้องมีภาษีหัก ณ ที่จ่าย?
เพื่อช่วยลดภาระผู้เสียภาษีช่วยให้ผู้เสียภาษีมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายก่อน และไม่ต้องจ่ายภาษีก้อนใหญ่ในคราวเดียวปลายปี เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีช่วยให้กรมสรรพากรลดการเลี่ยงภาษีและยากต่อการเลี่ยงภาษี เพราะมีกลไกการหักภาษีไว้ก่อน ในส่วนของระบบ e-Withholding Tax เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับในเรื่องของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระบบนี้ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งฝั่งผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินสามารถบริหารจัดการภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้ง่าย และยังช่วยในเรื่องของการ ลดค่าใช้จ่ายในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนขององค์กร ด้วยการเปลี่ยนจะการใช้กระดาษแทนที่ด้วยการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาทำงานโดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการจัดการเกี่ยวเรื่องของการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ลดขั้นตอนในการทำงานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดเก็บเอกสาร ความถูกต้องของข้อมูลในเอกสาร ดีทั้งการค้นหาได้ง่ายรวดเร็วและยังได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อไปในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้ยื่นก็จะไม่ต้องมานั่งห่วงว่าเอกสารจะสูญหายมั้ยและไม่ต้องรื้อค้นเอกสารให้วุ่นวาย เพราะสามารถค้นหาได้ง่าย โดยค้นหาผ่านเว็ปไซต์ของทางกรมสรรพากร และยังมีสิทธิประโยชน์อีกมากมาย ระบบ e-Withholding Tax ใช้งานได้ง่ายมีประสิทธิภาพ และสร้างความทันสมัยและสะดวกต่อการดำรงชีวิตของผู้เสียภาษีเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการทำงานของทางกรมสรรพากรและง่ายต่อการใช้งานของผู้เสียภาษี เป็นต้น
ใครบ้างที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จ่ายเงินได้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่น เช่น
- เงินเดือน ค่าจ้าง เงินรางวัล ค่าโอที
- เงินค่าจ้างเหมาจ่าย
- เงินค่าเช่า
- ดอกเบี้ย
- เงินรางวัลจากการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค
- ค่าตอบแทนจากการให้บริการ ฯลฯ
- ผู้จัดการประมูล ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินที่ผู้ชนะการประมูลต้องจ่าย
- ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินที่ต้องจ่ายให้กับผู้ขาย
อัตราในการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของแต่ละประเภทเงินได้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้และสถานะของผู้รับเงิน ดังนี้
- เงินเดือน เงินรางวัล ค่าตอบแทน ค่าโอที หักภาษี ร้อยละ 5%
- เงินได้จากการโฆษณา ร้อยละ 2%
- เงินได้จากการประกอบอาชีพอิสระ ร้อยละ 3-10%
- เงินค่าจ้างเหมาจ่าย หักภาษี ร้อยละ 3%
- เงินค่าเช่า หักภาษี ร้อยละ 1–10%
- ดอกเบี้ย หักภาษี ร้อยละ 1–10%
- เงินรางวัลจากการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หักภาษี ร้อยละ 5%
- ค่าตอบแทนจากการให้บริการ หักภาษี ร้อยละ 3%
- เงินได้จากการโอนสิทธิเรียกร้อง หักภาษี 3%
- เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ หักภาษี ร้อยละ 1%
- เงินได้จากการประมูล หักภาษี ร้อยละ 1%
ประโยชน์ของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ช่วยให้ผู้เสียภาษีมีวินัยในการเสียภาษี
- ช่วยให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้สะดวกและรวดเร็ว
- ช่วยลดภาระการเสียภาษีเงินก้อนปลายปี ทำให้ผู้เสียภาษีมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายก่อน และไม่ต้องจ่ายภาษีก้อนใหญ่ในคราวเดียวปลายปี
การใช้ระบบ e-withholding tax
- ผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินต้องสมัครสมาชิกและลงทะเบียนใช้ระบบ e-withholding tax ของกรมสรรพากร
- ผู้จ่ายเงินแจ้งข้อมูลการหักภาษีผ่านระบบ e-withholding tax
- ผู้รับเงินสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษีผ่านระบบ e-withholding tax
- ผู้รับเงินใช้ข้อมูลการหักภาษีเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้รับเงินมีสิทธิ์ขอคืนภาษาที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ได้ในกรณีที่คำนวณภาษีเงินได้ทั้งปีแล้ว พบว่าเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้ก่อนนี้มีจำนวนที่มากกว่ายอดที่จ่ายปลายปี อาจจะน้อยกว่าหรือเท่ากับภาษีที่ถูกหัก