5 ระดับความปลอดภัยในการใช้งานระบบ e-Tax

5 ระดับความปลอดภัยในการใช้งานระบบ e-tax ระบบ etax ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการด้านภาษีแก่ผู้เสียภาษีในเรื่องของความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน กรมสรรพากร ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้เป็นอันดับเเรก โดยพัฒนาระบบ etax ให้มีระบบรักษาความปลอดภัยหลายชั้น  ดังนี้ 1. ระดับโครงสร้างพื้นฐาน ของระบบ e-tax ระบบ E-Tax ทำงานบนศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง ได้รับมาตรฐาน ISO 27001 การันตีความปลอดภัยสูงสุดสำหรับข้อมูลภาษี กรมสรรพากร มุ่งมั่นพัฒนาระบบ eTax ให้เป็นระบบบริการภาษีออนไลน์ที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญสูงสุดกับการปกป้องข้อมูลภาษีของผู้เสียภาษี ดังนั้น ระบบ eTax จึงทำงานบนศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง ได้รับมาตรฐาน ISO 27001 ดังต่อไปนี้ มาตรฐาน ISO 27001 คืออะไร ISO 27001 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบบริหารความปลอดภัยสารสนเทศ (ISMS) กำหนดแนวทางปฏิบัติในการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสารสนเทศ ปกป้องข้อมูล และรักษาความต่อเนื่องของระบบ องค์กรที่ได้รับมาตรฐาน ISO 27001 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องข้อมูล สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสีย…

ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ คือ

ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ คือ ข้อมูลสำคัญทางอิเล็กทรอนิกส์ เปรียบเสมือนตัวเเทนของนิติบุคคล ซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) กับข้อมูลสำหรับใช้สร้าง หรือถ้าเทียบกับเอกสารแบบกระดาษ คือการที่เราเซ้นเอกสารพร้อมประทับตรายางนั่นเอง การนำไปใช้ ในกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ เราจะใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate) เเทนหนังสือรับรองบริษัทในการประทับลงบนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice) ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt) ใบเพิ่มหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-debit) ใบลดหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-credit) เป็นต้น โดยจะนำไปใช้ในรูปแบบของการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือ การเข้ารหัสลับ (Encryption) ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 1.ชื่อผู้ให้บริการออกใบรับรอง 2.วันที่หมดอายุของใบรับรอง 3.ประเทศที่รับรอง 4.เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขอใบรับรอง 5.ชื่อผู้ขอใบรับรอง 6.หมายเลขใบรับรอง 7.หมายเลขกุญเเจ สาธารณะ 8.หมายเลขกุญเเจ ส่วนตัว เเละข้อมูลอื่นๆ ประโยชน์ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) มีความจำเป็นและมีความสำคัญในการสร้างให้เกิดความปลอดภัย และความเชื่อมั่นในการติดต่อสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 1.ความลับของข้อมูล…

บทความ และ กิจกรรม

5 ข้อดีทำไมต้องเป็นมาใช้ e-Tax Invoice (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) คืออะไร ใช้ตอนไหน (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ถ้าเราชำระภาษีไม่ทันตามที่กรมสรรพากรกำหนดต้องทำยังไง? (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีในการประกอบธุรกิจ มี 7 ประเภทหลัก (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีทางตรงเเละภาษีทางอ้อมต่างกันยังไง (คลิกเพื่ออ่านต่อ) การวางเเผนภาษีของบุคคลกับนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียต่างกันดังนี้ (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ภาษีไม่จ่ายได้ไหม (คลิกเพื่ออ่านต่อ) จัดทำ e-Tax ยังไง เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ Thailand 4.0 (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ระดับความปลอดภัยในการใช้งานระบบ e-tax (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 (คลิกเพื่ออ่านต่อ) เตรียมพร้อม!!ก่อนการกลับมาของมาตรการภาครัฐ ปี 68 (คลิกเพื่ออ่านต่อ) ใบเสร็จหายทำอย่างไรได้บ้าง? (คลิกเพื่ออ่านต่อ) Page 1…

ไฟล์ XML คืออะไรนะ

ไฟล์ xml คืออะไรนะ XML ย่อมาจาก eXtensible Markup Language เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้ในการเเสดงข้อมูล เหมาะสำหรับการเเลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยทางกรมสรรพากรกำหนดให้รูปแบบเอกสารในการจัดทำเอกสารในระบบe-Tax Invoice & Receipt ให้นำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของไฟล์ XML นั่นเองค่ะ ข้อมูล XML Data จะเก็บตัวเนื้อหาสาระของเอกสารที่ออกจากระบบ โดยมีลายมือชื่อดิจิทัลกำกับอยู่ด้านล่างของไฟล์เอกสารทุกไฟล์ เพื่อเป็นการควบคุมเนื้อหาภายในเอกสาร หากใครมาเเก้ไขข้อมูลใน XML Data เเละไม่ได้มีการลงลายมือชื่อดิจิทัลใหม่ จะถือได้ว่าเอกสารนั้นไม่ถูกต้อง การเเลกเปลี่ยนข้อมูลในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล จะมาจากเจ้าของข้อมูลต้นทางจริง ข้อมูลจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างทาง เเละ เจ้าของข้อมูลที่ส่งเอกสารมาให้เราจะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อข้อมูลที่ส่งออกมาได้ พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

เอกสารที่ต้องส่งในระบบ etax invoice & e-receipt

เอกสารใดบ้างที่ต้องส่งในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 เเห่งประมวลรัษฎากร2.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อ (Abbreviated e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/6 เเห่งประมวลรัษฎากร3.ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรา 105 ทวิ เเห่งประมวลรัษฎากร4.ใบเพิ่มหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-Debit Note) ตามมาตรา 86/9 เเห่งประมวลรัษฎากร5.ใบลดหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-Crebit Note) ตามมาตรา 86/10 เเห่งประมวลรัษฎากรโดยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้น ต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

ช่องทางการนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice)

ช่องทางการนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e tax invoice) ช่องทางการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ทางกรมสรรพากร ประกอบด้วย 3 ช่องทาง คือ เเบบWeb upload, เเบบ Service provider เเละเเบบ Host-to-Host โดยการเลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับซอฟต์เเวร์ระบบงานบัญชีที่คุณใช้งานอยู่ เเละการลงทุนของระบบ ซึ่งเเต่ละช่องทางมีค่าใช้จ่ายเเตกต่างกันจึงต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียด เพื่อให้เกิบความคุ้มค่ามากที่สุด เเละเหมาะสมต่อการใช้งาน การนำส่งแบบ Web Upload : สามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ XML ที่มีขนาดไม่เกิน 2 MB พร้อมทั้งลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน RD Website การนำส่งเเบบ Service Provider : สามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ XML หรือ Text พร้อมทั้งลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Service provider การนำส่งเเบบ Host-to-Host : สามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบไฟล์ XML หรือ…