การจัดการภาษีในยุคดิจิทัล ด้วยระบบ e-Tax invoice

การจัดการภาษีในยุคดิจิทัล: เปลี่ยนภาระให้เป็นความง่ายด้วย EtaxEasy

ปัจจุบัน การจัดการภาษี มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการจัดการภาษีของธุรกิจ การจัดการภาษีในยุคก่อนอาจเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ทั้งในเรื่องของเอกสารกระดาษจำนวนมาก และขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ในปัจจุบัน จากการเปลี่ยนแปลงของ การจัดการภาษีในยุคดิจิทัล ได้เข้ามาปฏิวัติวิธีการจัดการภาษีอย่างสิ้นเชิง ทำให้การออกใบกำกับภาษี การหักภาษี ณ ที่จ่าย และการยื่นภาษีออนไลน์ มีความสะดวกและสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นผ่านระบบดิจิทัล แล้วทำไมผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ? สำหรับผู้ประกอบการ การปรับตัวเข้าสู่ระบบภาษีดิจิทัลไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่กลายเป็น “ความจำเป็น” ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาด เพิ่มความโปร่งใส และสอดคล้องกับข้อกำหนดของกรมสรรพากร ที่สำคัญ ยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจอีกด้วย เครื่องมือใน ‘การจัดการภาษีในยุคดิจิทัล’ 1. ระบบ e-Withholding Tax e-Withholding Tax คือ ระบบหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ช่วยให้ผู้เสียภาษีในการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถหักภาษีและนำส่งข้อมูลไปยังกรมสรรพากรโดยตรงผ่านระบบออนไลน์ ด้วยความร่วมมือของธนาคารในประเทษไทย ระบบนี้ช่วยให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถลดขั้นตอนการทำงาน ลดการใช้เอกสารกระดาษ และประหยัดเวลาในการบริหารจัดการภาษีอีกด้วย ขั้นตอนการนำส่ง e-Withholding Tax วิธีการใช้งาน 1.สมัครขอรับบริการกับธนาคารที่รองรับระบบ e-withhoding Tax…

ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร?

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร? หากอธิบายง่ายๆ ก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายได้ตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดเก็บจากลูกค้าและนำส่งให้กรมสรรพากร โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการสามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการมาหักออกจากภาษีขายได้ แต่ในบางกรณี ภาษีซื้อบางประเภทไม่สามารถนำมาหักออกได้ ซึ่งเราจะเรียกภาษีซื้อประเภทนี้ว่า “ภาษีซื้อต้องห้าม” การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้ามจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการภาษีได้อย่างถูกต้องและลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร ความหมายของ ภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการซื้อสินค้าและบริการบางประเภทที่ไม่เข้าเงื่อนไขในการนำมาหักออกจากภาษีขาย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/5 โดยภาษีซื้อลักษณะนี้ไม่สามารถใช้เป็นเครดิตภาษีได้ ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการจะไม่สามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวไปใช้ลดหย่อนภาษีขายได้ แม้ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก็ตาม การเข้าใจถึงข้อกำหนดเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มได้อย่างถูกต้อง ลดความผิดพลาดที่อาจนำไปสู่ค่าปรับหรือปัญหาทางกฎหมายในอนาคต ภาษีซื้อ (Input Tax) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ชำระเมื่อซื้อสินค้า บริการ หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบการสามารถนำภาษีซื้อนี้มาหักออกจากภาษีขายที่ต้องชำระให้กับกรมสรรพากร อย่างไรก็ตาม การนำภาษีซื้อมาหักภาษีขายได้นั้น จำเป็นต้องเป็นภาษีซื้อที่ถูกต้องตามกฎหมาย หนึ่งในกรณีที่ภาษีซื้อไม่สามารถนำมาหักภาษีขายได้ คือ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ตามกฎหมาย ผู้ที่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีจะต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับกรมสรรพากรเท่านั้น หากผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้ออกใบกำกับภาษีให้ ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และใบกำกับภาษีนั้นจะถือว่าไม่มีผลทางกฎหมาย ผู้ซื้อไม่สามารถนำภาษีซื้อจากใบกำกับภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายได้ ประเภทของ…

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร? วิธีขอและตรวจสอบง่ายๆ

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร? วิธีขอและตรวจสอบง่ายๆ การมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ถือเป็นก้าวแรกของการเข้าสู่ระบบภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี แต่ยังไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร ตรวจสอบอย่างไร สำคัญแค่ไหน หรือจำเป็นต้องมีหรือไม่ โดยเฉพาะในยุคที่การทำธุรกรรมทางการเงินและภาษี กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต่างมีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งก่อนการยื่นภาษีหรือทำธุรกรรมต่างๆ ควรตรวจสอบเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้พร้อมเพื่อความถูกต้อง ในการจัดการภาษี บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้ชัดเจนมากขึ้น พร้อมแนะนำวิธีขอและตรวจสอบเลขประจำตัวภาษีทั้งสำหรับ บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล เพื่อให้คุณจัดการเรื่องภาษีอย่างถูกต้อง เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร? เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Tax Identification Number หรือ TIN) คือหมายเลขที่กรมสรรพากรกำหนดให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เพื่อใช้ระบุตัวตนในการทำธุรกรรมทางภาษี เช่น การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี การหักภาษี ณ ที่จ่าย การออกใบกำกับภาษี และการติดต่อราชการที่เกี่ยวกับภาษีอื่น ๆ ตรวจสอบ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ได้อย่างไร? การตรวจสอบเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยเบื้องต้นจะเป็นเลข 13 หลักเช่นเดียวกัน แต่จะมีประเด็นที่แตกต่างกัน ดังนี้ บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร ใช้เลขประจำตัวประชาชน…

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง เทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีปีใหม่ของไทย นับเป็นประเพณีนิยมที่หลายธุรกิจมักมอบของขวัญให้แก่ลูกค้า เพื่อแสดงความขอบคุณและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น กระเช้าผลไม้ ของชำร่วยรวมถึงของขวัญที่ใช้แจกเป็นที่ระลึกในช่วงสงกรานต์ เช่น ผ้าขนหนู น้ำอบไทย แต่ในขณะเดียวกัน การแจกของขวัญให้ลูกค้านั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องประเด็นภาษีด้วย เนื่องจากกระเช้าของขวัญ หรือแม้แต่การแจกของให้ลูกค้านั้น มีมูลค่าแตกต่างกัน ซึ่งรายจ่ายนั้นจะสามารถนำภาษีซื้อไปหักจากภาษีขายได้หรือไม่ และบริษัทจะนำรายจ่ายค่าของขวัญมาลงเป็นค่าใช้จ่ายอย่างไร โดยไม่ให้กรมสรรพากรบวกกลับ แล้วควรแจกของขวัญอย่างไรให้ ประหยัดภาษี ได้มากที่สุด หาคำตอบได้ที่ บทความนี้เลย แจกกระเช้าของขวัญในช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี การมอบกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลสงกรานต์นับเป็นประเพณีนิยมที่หลายๆ บริษัทให้ความสำคัญ เพื่อเป็นการแสดงถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และขอบคุณลูกค้าให้การสนับสนุนกันมาตลอดทั้งปี ของขวัญที่นำไปมอบให้กับลูกค้าดังกล่าว มีประเด็นทางภาษี ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล การให้กระเช้าของขวัญในเทศกาลสงกรานต์แก่ลูกค้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นค่ารับรอง ซึ่งบริษัทสามารถหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ในการจ่ายซื้อควรเป็นไปตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ โดยมีนามบัตรของบริษัทที่ระบุชื่อ ที่อยู่ และเครื่องหมายการค้าของบริษัทติดที่กระเช้าของขวัญ ดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกระทรวงฉบับที่ 222…

ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt รู้ไวใช้ก่อนดีกว่าอย่างไร?

เพื่อเพิ่มโอกาสที่ดีกว่าในการทำธุรกิจ โดยสำหรับการเลือกใช้งานระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการจัดทำใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดการใช้กระดาษลดเวลาในการทำงาน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเอกสาร และเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีทางธุรกิจ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คือ การจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษี รวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, PDF หรือ PDF/A-3 ที่ได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และสำหรับการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต้องจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในรูปแบบ XML File ตามมาตรฐานเท่านั้น (ETDA, สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ…

การจัดการภาษี เทคโนโลยีช่วยให้จัดการง่ายขึ้นอย่างไร?

เทคโนโลยีที่ช่วยให้ การจัดการภาษี ง่ายขึ้น ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกด้านของชีวิตประจำวัน การจัดการภาษี ซึ่งเคยเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและใช้เวลาอย่างมาก ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลข้อมูลแบบอัตโนมัติ การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถสูง หรือแม้แต่ระบบคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทั้งหมดนี้ช่วยให้การบริหารจัดการภาษีง่ายขึ้นสำหรับทั้งบุคคลและธุรกิจ บทความนี้จะสำรวจเทคโนโลยีหลักที่ช่วยให้การจัดการภาษีสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1. ซอฟต์แวร์ หนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดคือซอฟต์แวร์การจัดการภาษี เช่น QuickBooks, Xero, หรือ SAP ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยบุคคลและธุรกิจในการคำนวณภาษี การยื่นภาษี และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ระบบเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารเพื่อนำเข้าข้อมูลทางการเงินโดยอัตโนมัติ ช่วยลดข้อผิดพลาดในการกรอกข้อมูล นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์การแจ้งเตือนกำหนดเวลาชำระภาษี และการจัดทำรายงานเพื่อการตรวจสอบย้อนหลัง ทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการพลาดกำหนดการหรือการเสียค่าปรับที่ไม่จำเป็น 2. ระบบการยื่นภาษีออนไลน์ (E-Filing) ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย การยื่นภาษีออนไลน์หรือระบบ e-Filing ได้กลายเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากช่วยลดขั้นตอนการจัดการเอกสารแบบเดิม และเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานกรอกแบบฟอร์มและส่งข้อมูลได้ในไม่กี่นาที ระบบยังมีฟังก์ชันการคำนวณอัตโนมัติและการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบื้องต้น ช่วยลดเวลาและความซับซ้อน 3. การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ระบบคลาวด์ช่วยให้ธุรกิจสามารถเก็บข้อมูลภาษีทั้งหมดในที่เดียวและเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา ผู้ใช้งานสามารถแชร์ข้อมูลกับนักบัญชีหรือทีมงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างง่ายดายผ่านระบบออนไลน์ ข้อดีของการใช้ระบบคลาวด์คือความปลอดภัยของข้อมูล การป้องกันการสูญหายของเอกสาร และความยืดหยุ่นในการขยายระบบเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถสำรองข้อมูลและกู้คืนได้ในกรณีฉุกเฉิน 4. การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)…

รายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่?

รายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่? หลายคนอาจกำลังสงสัยว่า รายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่? หรือ มีรายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีมั้ยนะ? ซึ่งการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด การรู้ว่ารายได้ของเรานั้นต้องเสียภาษีเท่าไหร่ สามารถช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  1. รายได้ที่ต้องเสียภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ของผู้มีรายได้ในประเทศ ซึ่งรายได้ที่ต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็น 8 ประเภทตามกฎหมาย โดยประเภทที่พบบ่อย ได้แก่ รายได้จากการทำงานประจำ (เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส) รายได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัว รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน หรือยานพาหนะ รายได้จากการขายทรัพย์สิน เช่น หุ้น บ้าน หรือที่ดิน รายได้จากดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากการลงทุน 2. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีของบุคคลธรรมดาในประเทศไทยเป็นแบบขั้นบันได กล่าวคือ ยิ่งมีรายได้สูง อัตราภาษีจะยิ่งเพิ่มขึ้น โดยอัตราภาษีจะมีทั้งหมด 7 ขั้น ได้แก่ รายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ไม่เสียภาษี รายได้สุทธิเกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกิน 300,000 บาท…

รายการลดหย่อนภาษีปี 2567 เตรียมพร้อมยื่นปี 2568

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2567 สำหรับยื่นภาษีต้นปี 2568 สรุปรวมวิธีการลดหย่อนภาษี กับรายการลดหย่อนภาษีปีภาษี 2567 ว่ามีอะไรบ้างมาดูเนื้อหากันเลยค่ะ การเตรียมตัวยื่นภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนในปี 2567 ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับ แต่ยังช่วยให้คุณสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่ ต่อไปนี้คือขั้นตอนและคำแนะนำที่สำคัญในการเตรียมตัว มีดังนี้ค่ะ 1.รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการกรอกยื่นภาษี รายได้: รวบรวมเอกสารแสดงรายได้ทั้งหมด เช่น ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) หรือเอกสารรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าจ้าง โบนัส ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ ค่าใช้จ่าย: เก็บใบเสร็จหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้ลดหย่อนได้ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาท คู่สมรส (ไม่มีรายได้): 60,000 บาท บุตร (อายุไม่เกิน 20 ปี): 30,000 บาท/คน การลงทุน: ตรวจสอบเอกสารการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม…

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

3 ประเภทภาษีหลักที่ผู้ประกอบการธุรกิจ Franchise ควรรู้ ถ้าต้องพูดถึงเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการนำแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมาขยับขยายธุรกิจ แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มักสงสัยคือ ภาษี ที่ต้องเสีย มีอะไรบ้าง? และต้องเสียภาษีอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจเรื่อง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ จะมีประเภทไหนบ้าง โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเสียภาษีหลายประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ได้แก่ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ 1. ฝ่ายเจ้าของแฟรนไชส์ (franchiser) คือ ภาษีเงินได้สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ซึ่งโดยเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการให้สิทธิ์การใช้แบรนด์ ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากเจ้าของแฟรนไชส์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากมีรายได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ภาษีอื่นๆ: อาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย เป็นต้น…

เรื่องภาษีที่ผู้ประกอบการร้านทองควรรู้

เรื่องภาษีที่ผู้ประกอบการร้านทองควรรู้ การประกอบธุรกิจร้านทองนั้นเกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องและวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านทองกันค่ะว่า ประเภทภาษีนั้นสำคัญอย่างไรและมีอะไรบ้าง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านทอง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้จากการประกอบธุรกิจโดยผู้ประกอบการร้านทองจะต้องนำรายได้จากการขายทองรูปพรรณ ค่ากำเหน็จ ค่าหลอมทองเก่า มาคำนวณภาษีเงินได้ และ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจได้ เช่น ค่าเช่า ค่าจ้าง ค่าซื้อทองคำ ฯลฯ อัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับฐานภาษีที่คำนวณได้ หากในกรณีหากผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรที่ได้จากการขายทองคำ โดยมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีเงินได้นิติบุคคล หากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิของกิจการกำไรสุทธิคำนวณจากรายได้ทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามที่กฎหมายกำหนดอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับระดับของกำไรสุทธิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายทองคำหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและผู้ประกอบการจะต้องนำส่งให้กรมสรรพากร สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับทองคำ เช่น การขายทองรูปพรรณใหม่ การหลอมทองเก่า จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น การเรียกเก็บ VATผู้ประกอบการร้านทองต้องเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อในอัตรากำหนด สินค้าที่ต้องเสีย VATได้แก่ ทองรูปพรรณใหม่ ค่ากำเหน็จ ค่าหลอมทองเก่า ภาษีธุรกิจเฉพาะ หากในบางกรณี เช่น การรับจำนำ การให้กู้ยืมเงิน อาจต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มเติมอัตราภาษีและเงื่อนไขการเสียภาษีจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ การรับจำนำในกรณีหากมีการประกอบธุรกิจรับจำนำ…