แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง เทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีปีใหม่ของไทย นับเป็นประเพณีนิยมที่หลายธุรกิจมักมอบของขวัญให้แก่ลูกค้า เพื่อแสดงความขอบคุณและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น กระเช้าผลไม้ ของชำร่วยรวมถึงของขวัญที่ใช้แจกเป็นที่ระลึกในช่วงสงกรานต์ เช่น ผ้าขนหนู น้ำอบไทย แต่ในขณะเดียวกัน การแจกของขวัญให้ลูกค้านั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องประเด็นภาษีด้วย เนื่องจากกระเช้าของขวัญ หรือแม้แต่การแจกของให้ลูกค้านั้น มีมูลค่าแตกต่างกัน ซึ่งรายจ่ายนั้นจะสามารถนำภาษีซื้อไปหักจากภาษีขายได้หรือไม่ และบริษัทจะนำรายจ่ายค่าของขวัญมาลงเป็นค่าใช้จ่ายอย่างไร โดยไม่ให้กรมสรรพากรบวกกลับ แล้วควรแจกของขวัญอย่างไรให้ ประหยัดภาษี ได้มากที่สุด หาคำตอบได้ที่ บทความนี้เลย แจกกระเช้าของขวัญในช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี การมอบกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลสงกรานต์นับเป็นประเพณีนิยมที่หลายๆ บริษัทให้ความสำคัญ เพื่อเป็นการแสดงถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และขอบคุณลูกค้าให้การสนับสนุนกันมาตลอดทั้งปี ของขวัญที่นำไปมอบให้กับลูกค้าดังกล่าว มีประเด็นทางภาษี ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล การให้กระเช้าของขวัญในเทศกาลสงกรานต์แก่ลูกค้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นค่ารับรอง ซึ่งบริษัทสามารถหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ในการจ่ายซื้อควรเป็นไปตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ โดยมีนามบัตรของบริษัทที่ระบุชื่อ ที่อยู่ และเครื่องหมายการค้าของบริษัทติดที่กระเช้าของขวัญ ดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกระทรวงฉบับที่ 222…

ยื่นภาษีนิติบุคคลครั้งเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง

ยื่นภาษีนิติบุคคลครั้งเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง ถ้าพูดถึงการดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่สำคัญมากหลายประการ หนึ่งในนั้น คือ การจัดการภาษี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาที่ต้องยื่นภาษีครั้งแรก ผู้ประกอบการนิติบุคคลจะต้องให้ความสำคัญกับการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงการนำ “ภาษีขาย” มาใส่ในแบบฟอร์มการยื่นแบบให้ครบถ้วน บทความนี้เรามาพูดถึงเรื่องของการ ยื่นภาษีนิติบุคคลครั้งเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง กันค่ะ หลังจากที่นิติบุคคลจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีแล้ว จำเป็นต้องดำเนินการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง ดังนี้: การยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากสิ้นสุด 6 เดือนแรกของรอบบัญชี โดยคำนวณจากประมาณการกำไรสุทธิครึ่งปี หากไม่ยื่นหรือยื่นล่าช้า อาจถูกปรับหรือเสียเบี้ยปรับตามกฎหมาย การยื่นภาษีประจำปี (ภ.ง.ด.50) ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากสิ้นสุดรอบบัญชี 12 เดือน เช่น หากรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ต้องยื่นภายในวันที่ 30 พฤษภาคมของปีถัดไป . ภาษีขายคืออะไร? ภาษีขายเป็นส่วนหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ธุรกิจเรียกเก็บจากลูกค้าเมื่อขายสินค้า หรือให้บริการในแต่ละธุรกรรม ตัวเลขนี้ไม่ใช่รายได้ของธุรกิจ แต่เป็นหน้าที่ที่ธุรกิจต้องเก็บไว้เพื่อส่งต่อให้กับกรมสรรพากรในภายหลัง…

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

3 ประเภทภาษีหลักที่ผู้ประกอบการธุรกิจ Franchise ควรรู้ ถ้าต้องพูดถึงเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการนำแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมาขยับขยายธุรกิจ แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มักสงสัยคือ ภาษี ที่ต้องเสีย มีอะไรบ้าง? และต้องเสียภาษีอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจเรื่อง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ จะมีประเภทไหนบ้าง โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเสียภาษีหลายประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ได้แก่ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ 1. ฝ่ายเจ้าของแฟรนไชส์ (franchiser) คือ ภาษีเงินได้สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ซึ่งโดยเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการให้สิทธิ์การใช้แบรนด์ ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากเจ้าของแฟรนไชส์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากมีรายได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ภาษีอื่นๆ: อาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย เป็นต้น…