รัฐควรเก็บภาษี VAT กับธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่?

รัฐควรเก็บภาษี VAT จากกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่? พาส่องปัญหาธุรกิจ SMEs กับระบบภาษีไทย

รัฐควรเก็บภาษี VAT จากกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่? พาส่องปัญหาธุรกิจ SMEs กับระบบภาษีไทย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากข่าวที่รัฐเตรียมเก็บภาษีจากธุรกิจรายย่อยที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี เป็นประเด็นร้อนในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME อย่างมากถึงความเหมาะสมของนโยบายที่ ‘รัฐควรเก็บภาษี VAT จากกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่?’ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้ ธุรกิจที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ถูกยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายมากขึ้น ” นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ เผยแนวทางเพิ่มรายได้รัฐ อาจมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% จากธุรกิจที่มีรายได้ 1.5 ล้านบาทต่อปี อาจเพิ่มเป็นแวตประเภทที่ 2 เหมือนกรณีในประเทศยุโรปทำ ซึ่งประเมินว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้หากสามารถขยายฐานภาษีมูลค่าเพิ่มได้กว้างขึ้น นำคนเข้าระบบได้มากขึ้น จะทำให้รัฐบาลจัดทำงบฯ ขาดดุลต่ำลง จากปัจจุบันขาดดุลอยู่ที่ 4.4% ของ GDP อาจเหลือแค่ 3.5% ซึ่งการลดรายจ่ายของรัฐบาลทำได้ยาก จำเป็นต้องเพิ่มรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น โดยรัฐมองว่า ปัจจุบันคนรุ่นใหม่หันมาทำธุรกิจมากขึ้น…

ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร?

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร? หากอธิบายง่ายๆ ก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายได้ตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดเก็บจากลูกค้าและนำส่งให้กรมสรรพากร โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการสามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการมาหักออกจากภาษีขายได้ แต่ในบางกรณี ภาษีซื้อบางประเภทไม่สามารถนำมาหักออกได้ ซึ่งเราจะเรียกภาษีซื้อประเภทนี้ว่า “ภาษีซื้อต้องห้าม” การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้ามจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการภาษีได้อย่างถูกต้องและลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร ความหมายของ ภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการซื้อสินค้าและบริการบางประเภทที่ไม่เข้าเงื่อนไขในการนำมาหักออกจากภาษีขาย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/5 โดยภาษีซื้อลักษณะนี้ไม่สามารถใช้เป็นเครดิตภาษีได้ ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการจะไม่สามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวไปใช้ลดหย่อนภาษีขายได้ แม้ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก็ตาม การเข้าใจถึงข้อกำหนดเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มได้อย่างถูกต้อง ลดความผิดพลาดที่อาจนำไปสู่ค่าปรับหรือปัญหาทางกฎหมายในอนาคต ภาษีซื้อ (Input Tax) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ชำระเมื่อซื้อสินค้า บริการ หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบการสามารถนำภาษีซื้อนี้มาหักออกจากภาษีขายที่ต้องชำระให้กับกรมสรรพากร อย่างไรก็ตาม การนำภาษีซื้อมาหักภาษีขายได้นั้น จำเป็นต้องเป็นภาษีซื้อที่ถูกต้องตามกฎหมาย หนึ่งในกรณีที่ภาษีซื้อไม่สามารถนำมาหักภาษีขายได้ คือ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ตามกฎหมาย ผู้ที่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีจะต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับกรมสรรพากรเท่านั้น หากผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้ออกใบกำกับภาษีให้ ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และใบกำกับภาษีนั้นจะถือว่าไม่มีผลทางกฎหมาย ผู้ซื้อไม่สามารถนำภาษีซื้อจากใบกำกับภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายได้ ประเภทของ…

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง

แจกของขวัญช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี และลงรายจ่ายถูกต้อง เทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีปีใหม่ของไทย นับเป็นประเพณีนิยมที่หลายธุรกิจมักมอบของขวัญให้แก่ลูกค้า เพื่อแสดงความขอบคุณและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น กระเช้าผลไม้ ของชำร่วยรวมถึงของขวัญที่ใช้แจกเป็นที่ระลึกในช่วงสงกรานต์ เช่น ผ้าขนหนู น้ำอบไทย แต่ในขณะเดียวกัน การแจกของขวัญให้ลูกค้านั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องประเด็นภาษีด้วย เนื่องจากกระเช้าของขวัญ หรือแม้แต่การแจกของให้ลูกค้านั้น มีมูลค่าแตกต่างกัน ซึ่งรายจ่ายนั้นจะสามารถนำภาษีซื้อไปหักจากภาษีขายได้หรือไม่ และบริษัทจะนำรายจ่ายค่าของขวัญมาลงเป็นค่าใช้จ่ายอย่างไร โดยไม่ให้กรมสรรพากรบวกกลับ แล้วควรแจกของขวัญอย่างไรให้ ประหยัดภาษี ได้มากที่สุด หาคำตอบได้ที่ บทความนี้เลย แจกกระเช้าของขวัญในช่วงสงกรานต์อย่างไรให้ ประหยัดภาษี การมอบกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลสงกรานต์นับเป็นประเพณีนิยมที่หลายๆ บริษัทให้ความสำคัญ เพื่อเป็นการแสดงถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และขอบคุณลูกค้าให้การสนับสนุนกันมาตลอดทั้งปี ของขวัญที่นำไปมอบให้กับลูกค้าดังกล่าว มีประเด็นทางภาษี ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล การให้กระเช้าของขวัญในเทศกาลสงกรานต์แก่ลูกค้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นค่ารับรอง ซึ่งบริษัทสามารถหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ในการจ่ายซื้อควรเป็นไปตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ โดยมีนามบัตรของบริษัทที่ระบุชื่อ ที่อยู่ และเครื่องหมายการค้าของบริษัทติดที่กระเช้าของขวัญ ดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกระทรวงฉบับที่ 222…

ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt รู้ไวใช้ก่อนดีกว่าอย่างไร?

เพื่อเพิ่มโอกาสที่ดีกว่าในการทำธุรกิจ โดยสำหรับการเลือกใช้งานระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการจัดทำใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดการใช้กระดาษลดเวลาในการทำงาน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเอกสาร และเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีทางธุรกิจ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คือ การจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษี รวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, PDF หรือ PDF/A-3 ที่ได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และสำหรับการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต้องจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในรูปแบบ XML File ตามมาตรฐานเท่านั้น (ETDA, สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ…

ธุรกิจโรงแรม ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง

ธุรกิจโรงแรม ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ทุกคนเคยสงสัยไหมคะ ธุรกิจโรงแรม ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง? การดำเนินธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต้องมีการชำระภาษีและค่าธรรมเนียมหลายประเภทซึ่งเป็นข้อกำหนดตามกฎหมาย ธุรกิจโรงแรมเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ใช้บริการจำนวนมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้มีภาระภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องหลากหลายรายการ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและครอบคลุม บทความนี้จะแนะนำภาษีและค่าธรรมเนียมหลัก ๆ ที่ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต้องชำระ มีดังนี้ค่ะ ธุรกิจโรงแรมเสียภาษีอะไรบ้าง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับธุรกิจโรงแรมขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินธุรกิจและประเภทของรายได้ที่ได้รับ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการโรงแรมจะต้องคำนวณภาษีจากรายได้ที่ได้รับหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเป็นไปตามระดับรายได้ โดยมีการจัดเก็บในลักษณะของอัตราก้าวหน้า (progressive tax rates) ซึ่งหมายความว่ารายได้ที่สูงขึ้นจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น โดย ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ 91) ตามกำหนดเวลา โดยทั่วไปจะต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล ธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจะคิดจากกำไรสุทธิที่เกิดจากการประกอบกิจการ โดยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจโรงแรมทั่วไปจะอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ (ตาม พ.ร.บ. ประมวลรัษฎากร) ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจโรงแรมมีรายละเอียดสำคัญ  ภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยมีอัตรา 20% ของกำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทที่มีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี กำไรสุทธิจะคำนวณจากรายได้รวมหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เช่น ค่าจ้างพนักงาน,…

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

3 ประเภทภาษีหลักที่ผู้ประกอบการธุรกิจ Franchise ควรรู้ ถ้าต้องพูดถึงเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการนำแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมาขยับขยายธุรกิจ แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มักสงสัยคือ ภาษี ที่ต้องเสีย มีอะไรบ้าง? และต้องเสียภาษีอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจเรื่อง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ จะมีประเภทไหนบ้าง โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเสียภาษีหลายประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ได้แก่ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ 1. ฝ่ายเจ้าของแฟรนไชส์ (franchiser) คือ ภาษีเงินได้สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ซึ่งโดยเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการให้สิทธิ์การใช้แบรนด์ ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากเจ้าของแฟรนไชส์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากมีรายได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ภาษีอื่นๆ: อาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย เป็นต้น…

ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร

ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการปรับปรุงยอดเงินที่ต้องชำระในธุรกรรมทางการค้า โดยมักเกี่ยวข้องกับการออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice) และการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เอกสารทั้งสองประเภทนี้เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในธุรกิจ เพื่อปรับแก้ไขการทำธุรกรรมที่มีข้อผิดพลาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงในข้อตกลง โดยบทความนี้เราจะมาพูดถึง ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร กันค่ะ สารบัญ ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) คืออะไ่ร? ใบลดหนี้ (Credit Note) คืออะไร? กรณีตัวอย่างการใช้งานใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้​ ตารางเปรียบเทียบความแตกต่าง ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ถือเป็นใบกำกับภาษีชนิดหนึ่ง เป็นเอกสารที่ออกเมื่อมีการเพิ่มราคาสินค้าหรือบริการ เนื่องจากสินค้าหรือบริการที่ส่งมอบไปนั้น “เกินกว่า” จำนวนที่ตกลงซื้อขายกันไว้ หรือให้บริการ “เกินกว่า” ข้อกำหนดที่ตกลงกัน (ส่งมอบเกิน) และผู้ซื้อสินค้าหรือบริการสามารถนำใบเพิ่มหนี้ไปยื่นเพิ่มภาษีซื้อ และผู้ออกใบเพิ่มหนี้ยื่นในส่วนภาษีขาย เหตุผลที่ต้องออก: คำนวณราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ “ต่ำกว่า” ที่เป็นจริง (คำนวณเงินขาด) มีการเพิ่มปริมาณสินค้าหรือบริการที่ส่งมอบให้ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบกำกับภาษีเดิม เช่น ค่าขนส่ง ค่าติดตั้ง ผลกระทบ: ทำให้ยอดเงินที่ต้องชำระเพิ่มขึ้น สาระสำคัญของใบเพิ่มหนี้ (Debit Note)…

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม “การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มVat มีข้อดีมากมาย และยังสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของคุณอีกด้วย!!” แต่!!! ก็ยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ ว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำคัญและดีอย่างไรกับธุรกิจของคุณ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นแตกต่างจากธุรกิจที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาสรุปข้อมูลสั้นๆ เพื่อให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ให้เข้าใจว่าระหว่างการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีความสำคัญอย่างไรและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจากผู้ที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร 1.เกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในทางธุรกิจ ทุกๆกิจการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม หากมีรายได้ที่เกินเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ต้องมีหน้าที่ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าหากไม่ได้อยู่เกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ก็สามารถขอยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากผู้ประกอบการรายใด ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กิจการนั้นๆ มีรายได้เกินกำหนดของกรมสรรพากร คือ 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องรีบทำการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น คือ 30 วัน นับจากวันที่มูลค่าฐานภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด หากไม่ยื่นจดทะเบียนมีความมีความเสี่ยงถูกปรับกรณีที่ประกอบธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีโทษปรับทางกฎหมายตามที่กรมสรรพากรได้กำหนดไว้ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้รับการใช้บริการนั้นในประเทศไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.สิทธิประโยชน์ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ หมายความว่า เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไปได้ ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ  ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ สามารถหักภาษีซื้อจากยอดภาษีขายได้ กรณีที่มียอดขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถหักภาษีซื้อที่จ่ายไปจากยอดภาษีขายได้ ช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องชำระ สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ แสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีขนาดใหญ่ มั่นคง และปฏิบัติตามกฎหมาย มีสิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ…

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดVAT

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้เก็บภาษีจากลูกค้า และนำส่งให้กับกรมสรรพากร โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ก็มีบางกรณีที่ ผู้ประกอบการไม่ต้องจดทะเบียน VAT ดังนี้ 1. ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการรายย่อย หรือที่มักเรียกกันว่า “พ่อค้าแม่ค้า” มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย พวกเขาเป็นผู้สร้างงาน นำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น และกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก บทความนี้มุ่งเน้นไปที่ประเภทของผู้ประกอบการรายย่อยที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ ผู้ประกอบการแบบดั้งเดิม: แม่ค้าขายของในตลาด: พบเห็นได้ทั่วไปในตลาดสด ตลาดนัด ขายสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน ฯลฯ ร้านค้าปลีก: ตั้งอยู่ในชุมชน ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า ขายสินค้าหลากหลายประเภท เช่น เสื้อผ้า อาหาร ของใช้ในบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ผู้ให้บริการ: เช่น…