ความเเตกต่างของ ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53

ความเเตกต่างของ ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53 การทำความเข้าใจเรื่องการยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53 เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย เพราะช่วยให้สามารถดำเนินการทางภาษีอย่างถูกต้องและป้องกันปัญหาทางกฎหมายได้ ภ.ง.ด. 3 คืออะไร ภ.ง.ด. 3 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย) ที่เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากบุคคลธรรมดา เช่น ค่าแรง ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าจ้างทำของ, เงินรางวัล ที่เกิดขึ้นในธุรกิจ โดยใช้ในการหักภาษีจากผู้รับเงินที่เป็นบุคคลธรรมดาและยื่นต่อกรมสรรพากร เป็นต้น ลักษณะการใช้งาน ผู้มีหน้าที่ใช้แบบ ภ.ง.ด. 3: ใช้โดยบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จ่ายรายได้ให้บุคคลธรรมดาแล้วมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กำหนด ตัวอย่างรายได้ที่หักภาษี: ค่าแรง ค่าจ้าง ค่าบริการ…

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

3 ประเภทภาษีหลัก ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ Franchise ควรรู้ ถ้าต้องพูดถึงเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการนำแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมาขยับขยายธุรกิจ แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มักสงสัยคือ ภาษี ที่ต้องเสีย มีอะไรบ้าง? และต้องเสียภาษีอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจเรื่องภาษีสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างชัดเจนมากชึ้น สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ จะมีประเภทไหนบ้าง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเสียภาษีหลายประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ได้แก่ 1. ฝ่ายเจ้าของแฟรนไชส์ (franchiser) คือ ภาษีเงินได้สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ซึ่งโดยเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการให้สิทธิ์การใช้แบรนด์ ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากเจ้าของแฟรนไชส์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากมีรายได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ภาษีอื่นๆ: อาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย เป็นต้น 2.…