การจัดเก็บภาษี (e-commerce)

การจัดเก็บภาษี (e-commerce) ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน การทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ (e-commerce) มีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันเพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ และ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการ เสนอขายและนำส่งสินค้าให้กับทางลูกค้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กรมสรรพากรต้องปรับระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่นี้ โดยหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจ e-commerce มีดังนี้ 1. ใครต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการ e-commerce ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่จับต้องได้หรือสินค้าดิจิทัล ไม่ว่าจะขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย เช่น บริการสตรีมมิ่งเพลง ภาพยนตร์ เกม อีบุ๊ค 2. ประเภทของภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คำนวณจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 1: ภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 2: ภาษี = เงินได้พึงประเมิน…

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง อาจจะยังมีหลายคนสงสัยว่าบุคคลที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์เค้าเสียกันหรือป่าว ถ้าเสียภาษีแล้วประเภทภาษีของอาชีพฟรีมีอะไรบ้าง ในฐานะฟรีแลนซ์ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่นเดียวกับผู้มีรายได้ประจำทั่วไป โดยเงินได้ของคุณจะจัดอยู่ใน “เงินได้ประเภทที่ 2 ตามประมวลรัษฎากร หรือ “เงินได้มาตรา 40 (2)” ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นประชาชนคนไทยและมีรายได้ ทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้กับประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม ฟรีแลนซ์ หรือที่เค้าเรียกกันว่า อาชีพอิสระ เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง เลือกเวลาทำงาน เลือกสถานที่ทำงานเองได้ โดยไม่ต้องสังกัดองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่การเป็นฟรีแลนซ์นั้น ก็มาพร้อมกับ ภาระหน้าที่ ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ค่ะ ภาษีหลัก ที่ฟรีแลนซ์ต้องเสียมีดังนี้ ประเภทภาษี กรณีที่ต้องเสีย อัตราภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีรายได้จากการประกอบอาชีพ ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ภาษีธุรกิจเฉพาะ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เหมือนกับอาชีพทั่วไป โดยจะต้องเสียภาษี 2 รอบ ดังนี้…

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจหรือยังสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 ว่าคืออะไร โดยตามกฎหมายแล้วกำหนดให้กลุ่มนิติบุคคล อาทิ เช่น (บริษัทจำกัด. ห้างหุ้นส่วนจำกัด. หรือ บริษัทมหาชน) ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล  สามารถยื่นภาษี ได้ 2 ช่วง คือ ช่วงกลางปี และช่วงปลายปี แต่จะยื่นแบบไหนเเละเริ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51กันค่ะว่า แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ภ.ง.ด 50 คืออะไร? ในการเสียภาษีเงินได้ปลายปีนั้น จะต้องใช้แบบกรอกข้อมูลที่เป็นฟอร์มของ ภ.ง.ด.50 และต้องเซ็นรับรองจากฝ่ายบัญชี หรือผู้ตรวจสอบบัญชี โดยแนบเอกสารงบการเงินต่างๆที่มีการเซ็นรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร โดยมีกำหนดให้ส่งแบบภายใน 150 วัน โดยใช้ช่องทางในการยื่นผ่าน Website ของกรมสรรพากร ช่องทาง  e-filing ตัวอย่างเช่น หากปิดงบ วันที่ 31 ธันวาคม ทางผู้ประกอบการจะต้องนำส่ง ภ.ง.ด.50…

ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน สามารถหักลดหย่อนภาษีได้

รู้หรือไม่ ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ อาจจะมีทั้งคนที่รู้ และคนที่ที่ยังไม่รู้ว่าการหักลดหย่อนค่าเล่าเรียนบุตรหลานของท่าน เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้กับผู้ปกครอง ในเรื่องของด้านการศึกษาของบุตรหลาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ เเละการส่งเสริมให้เด็กๆ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ย่อมส่งผลดีต่ออนาคตของพวกเขา เเละประเทศชาติโดยรวม รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายสนับสนุนการศึกษา หนึ่งในนั้นคือ การอนุญาตให้ผู้เสียภาษี หักลดหย่อนค่าเล่าเรียนบุตรหลานท่านได้ ภาษีค่าเล่าเรียน หมายถึง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน ไม่ว่าจะเป็นค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยกฎหมายภาษีของแต่ละประเทศจะมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ทำไมภาษีค่าเล่าเรียนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ? เพราะการทำความเข้าใจในเรื่องภาษีค่าเล่าเรียนจะช่วยให้คุณวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทำให้คุณมีเงินออมเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปใช้จ่ายในด้านอื่นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับภาษีค่าเล่าเรียนอาจมีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถาบันการศึกษา ภาษีค่าเล่าเรียนในประเทศไทย ในประเทศไทย โดยทั่วไปค่าเล่าเรียนจะไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น ค่าเล่าเรียนของบุตรที่อยู่ในความอุปการะ ซึ่งอาจมีเงื่อนไขและวงเงินที่กำหนดไว้ บุคคลที่สามารถหักลดหย่อนค่าเล่าเรียนบุตรหลานได้ บิดา หรือ มารดา ของบุตร บุคคลอื่น ที่เป็นผู้เลี้ยงดูบุตร ผู้รับบุตรบุญธรรม คุณสมบัติของบุตรที่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ บุตร ชอบด้วยกฎหมาย ของผู้เสียภาษี หรือของคู่สมรส บุตรบุญธรรม ของผู้เสียภาษี บุตร มีอายุไม่เกิน 25 ปี…

ความต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล

ความต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธรรมดา หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ซึ่งรวมถึงเงินได้จากการประกอบอาชีพ เงินได้จากการจ้างทำ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจและวิชาชีพ เงินได้จากการประมง เงินได้จากเกษตรกรรม เงินได้จากค่าเช่า เงินได้จากเงินปันผล เงินได้จากดอกเบี้ย และเงินได้อื่นๆ ภาษีนิติบุคคล หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากนิติบุคคล ซึ่งรวมถึงบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน สมาคม มูลนิธิ และนิติบุคคลอื่นๆ ความแตกต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล หัวข้อ 1.ผู้เสียภาษี 2.ประเภทของรายได้ 3.การเสียภาษี 4.อัตราภาษี 5.ค่าลดหย่อน 6.การยื่นแบบแสดงรายการภาษี     ภาษีบุคคลธรรมดา บุคคลทั่วไป เงินได้จากหลายแหล่ง เสียภาษีตามประเภทของรายได้ แบบก้าวหน้า สูงสุด 35% มีค่าลดหย่อนหลายประเภท ยื่นแบบแสดงรายการภาษีปีละ 1 ครั้ง ภาษีนิติบุคคล นิติบุคคล เงินได้จากการประกอบธุรกิจ เสียภาษีจากกำไรสุทธิ 20% มีค่าลดหย่อนน้อย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีปีละ 1 ครั้ง…

ภาระผูกพันทางภาษี(Tax)

ภาระผูกพันทางภาษี ภาษีเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลใช้ในการจัดหารายได้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ   ทุกคนที่มีรายได้หรือมีกิจกรรมที่กฎหมายกำหนด   ย่อมมีภาระผูกพันทางภาษี   บทความนี้มุ่งหวังให้ความรู้เกี่ยวกับภาระผูกพันทางภาษีเบื้องต้น ประเภทของภาษี ภาษีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้จ่ายโดยตรงแก่รัฐบาล เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้บริโภคเป็นผู้จ่าย แต่ผู้ขายเป็นผู้เก็บและนำส่งให้กับรัฐบาล เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาระผูกพันทางภาษี ภาระผูกพันทางภาษีหมายถึง   หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคล   ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษี   ซึ่งรวมถึง การยื่นแบบแสดงรายการภาษี เป็นการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย และภาษีที่ต้องชำระ ให้กับกรมสรรพากร การชำระภาษี เป็นการจ่ายเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร ตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด การเก็บรักษาเอกสาร เป็นการเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีไว้ เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เมื่อถูกตรวจสอบ บทลงโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษี การปรับ เป็นการจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง เป็นค่าปรับสำหรับการกระทำผิดกฎหมายภาษี การปรับเพิ่มเติม เป็นการจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง เป็นค่าปรับเพิ่มเติม ในกรณีที่ไม่ยอมชำระภาษี…

บทบาท etax 2567 กับสังคมยุคดิจิทัล

บทบาทของ etax 2567 กับสังคมยุคดิจิทัล สังคมดิจิทัลหรือสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของคนปัจุบันมากขึ้น และสิ่งเหล่านี้เข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับ ผู้ใช้งานเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการเดินทาง การกิน การอยู่ ไลฟ์สไตส์การใช้ชีวิต การทำงาน  การยื่นเอกสารผ่านระบบการใช้งานต่างๆเพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน และประหยัดค่าส่งเอกสาร ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Etax Invoice ซึ่งเป็นระบบที่กรมสรรพากรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้งาน เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการยื่นเอกสารภาษีสำหรับผู้ใช้บริการและ ตอบโจทย์ทาง เจ้าของกิจการ บริษัท ห้างหุ้นส่วน มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผ่านช่องทางของกรมสรรพากรโดยตรง หรือ ผ่านช่องทางผู้ให้บริการอย่าง eTax Servive Provider ซึ่งเป็นตัวกลางค่อยให้บริการการยื่นภาษีและค่อยให้คำแนะนำในการใช้งานระบบ ทั้งนี้ ระบบ eTax เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับผู้ประกอบการ ซึ่งเมื่อต้นปี 2566 มีรายชื่อนิติบุคคลผู้มีสิทธิจัดทำใบกำกับภาษีหรือใบรับลงทะเบียนระบบ e Tax Invoice & e Receipt เพียง 1,816 รายชื่อ ปัจจุบัน (ณ วันที่ 03/04/67)  มีผู้ลงทะเบียน eTax Invoice &…

eTax Invoice กับร้านค้าออนไลน์

eTax กับร้านค้าออนไลน์ eTax ช่องทางบริการออนไลน์ของกรมสรรพากร มีบทบาทสำคัญต่อร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบัน โดยช่วยให้ร้านค้าสามารถจัดการธุรกรรมทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ร้านค้าออนไลน์ควรใช้ระบบ e Tax Invoice ไหมนะ? ออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ : ร้านค้าออนไลน์สามารถออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice/e-Receipt) ผ่านระบบ eTax ได้ สะดวก รวดเร็ว และลดต้นทุนการจัดพิมพ์ ตรวจสอบสถานะการยื่นแบบ: ร้านค้าออนไลน์สามารถตรวจสอบสถานะการยื่นแบบและการชำระภาษีผ่านระบบ eTax ได้ ร้านค้าออนไลน์สามารถเก็บเอกสารยื่นแบบภาษีออนไลน์ผ่านระบบ eTax ได้ ร้านค้าออนไลน์ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอีกต่อไป เพราะระบบ e Tax Invoice & e Receipt มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ลงบนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั่นเองค่ะ eTax มีศักยภาพที่จะช่วยให้ร้านค้าออนไลน์สามารถจัดการธุรกรรมทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย อย่างไรก็ดีกรมสรรพากรมีมาตรการส่งเสริมให้บริษัท ร้านค้าเเละร้านค้าออนไลน์ใช้งานระบบ eTax มากขึ้น เช่น มาตรการ…

เคล็ดลับการวางแผนภาษีสำหรับปี 2567

เคล็ดลับการวางแผนภาษีสำหรับปี 2567 การวางแผนภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ การวางแผนภาษีที่ดี   จะช่วยให้ประหยัดภาษี และหลีกเลี่ยงปัญหาความยุ่งยากกับกรมสรรพากร “ความรู้เรื่องภาษีเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้เสียภาษี เพื่อให้ผู้เสียได้รับข้อมูลภาษีที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเข้าใจในเรื่องของการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กำหนดไว้เพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ หรือลดภาระภาษีให้น้อยลงและที่สำคัญในส่วนของเรื่องบทลงโทษในกรณี หลีกเลี่ยงภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือยื่นแบบช้าอาจจะต้องมีการชำระภาษีเพิ่มหรือเสียเบี้ยปรับโดยใช่เหตุ” มาทำความรู้จักการวางแผนในเรื่องของภาษีและสิทธิประโยชน์ทางภาษีกันเถอะ ซึ่งหลักในการวางแผนภาษี มี 5 เรื่องที่เราต้องรู้ คือ ประเภทของภาษี วิธีการคำนวณภาษี วิธีลดหย่อนเพื่อลดภาษี ช่องทางการยื่นภาษี รายการเอกสารที่ประกอบการยื่นภาษี 1.รู้จักประเภทของภาษี การวางแผนภาษี เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของภาษี ภาษีเงินได้ เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต้องเสีย จากรายได้ที่ได้จากการทำงาน ประกอบธุรกิจ หรืออื่นๆ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการ ต้องจัดเก็บจากผู้ซื้อ และนำส่งให้กับกรมสรรพากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่ธุรกิจต้องเสีย จากการประกอบธุรกิจบางประเภท ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นภาษีที่เจ้าของบ้านและที่ดินต้องเสีย ภาษีศุลกากร เป็นภาษีที่ต้องเสีย เมื่อนำสินค้าเข้าประเทศ ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่ต้องเสีย สำหรับสินค้าบางประเภท เช่น สุรา ยาสูบ น้ำมัน 2.คำนวณภาษีที่ต้องชำระ เมื่อรู้จักประเภทของภาษีแล้ว…