ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2568

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2568 กลับมาอีกครั้งอย่างเป็นทางการกับโครงการดีๆจากภาครัฐ กับโครงการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 2568 หรือช้อปดีมีคืนหลายๆคนเคยได้ยินกันนั้นเองค่ะ โครงการ Easy e-Receipt 2568 เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย โดยให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดดังนี้ ระยะเวลาโครงการ 16 มกราคม 2568 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 วงเงินลดหย่อนภาษี สูงสุด 50,000 บาท แบ่งเป็น สินค้าและบริการทั่วไป สูงสุด 30,000 บาท (รวมถึงแพ็คเกจทัวร์ โรงแรม และที่พัก) สินค้าจากวิสาหกิจชุมชน (OTOP) สูงสุด 20,000 บาท เงื่อนไขสำคัญโครงการ EASY E-Receipt 2568 ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ผ่านระบบของกรมสรรพากรได้เท่านั้น รูปแบบใบกำกับภาษีจะต้องเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์…

ยื่นภาษีนิติบุคคลครั้งเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง

ยื่นภาษีนิติบุคคลครั้งเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง ถ้าพูดถึงการดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่สำคัญมากหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการจัดการภาษี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาที่ต้องยื่นภาษีครั้งแรก ผู้ประกอบการนิติบุคคลจะต้องให้ความสำคัญกับการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงการนำ “ภาษีขาย” มาใส่ในแบบฟอร์มการยื่นแบบให้ครบถ้วน ภาษีขายคืออะไร? ภาษีขายเป็นส่วนหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ธุรกิจเรียกเก็บจากลูกค้าเมื่อขายสินค้า หรือให้บริการในแต่ละธุรกรรม ตัวเลขนี้ไม่ใช่รายได้ของธุรกิจ แต่เป็นหน้าที่ที่ธุรกิจต้องเก็บไว้เพื่อส่งต่อให้กับกรมสรรพากรในภายหลัง ตัวอย่างเช่น หากคุณขายสินค้าราคา 1,000 บาท และคิด VAT 7% คุณจะต้องเรียกเก็บเงินจากลูกค้าเป็น 1,070 บาท โดย 70 บาทคือภาษีขายที่คุณมีหน้าที่นำส่ง การนำภาษีขายมาใส่ในแบบฟอร์มการยื่นภาษีครั้งแรก ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร รวบรวมข้อมูลการขายสินค้าและบริการทั้งหมด รวมถึงใบกำกับภาษีที่คุณออกให้กับลูกค้าในช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง หากมีข้อผิดพลาด เช่น การกรอกข้อมูลในใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง ควรแก้ไขก่อนดำเนินการยื่น กรอกข้อมูลภาษีขายในแบบฟอร์ม ในแบบ ภ.พ.30 (สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบ VAT) คุณจะต้องกรอกข้อมูลภาษีขายในช่องที่เกี่ยวข้อง หากมีการยกเว้นภาษีในบางรายการ เช่น การขายสินค้าให้หน่วยงานราชการ หรือการส่งออกสินค้า คุณต้องแยกรายการเหล่านี้อย่างชัดเจน คำนวณยอดสุทธิที่ต้องชำระหรือขอคืน การยื่นภาษี VAT จะมีการเปรียบเทียบระหว่าง “ภาษีขาย” (VAT…

ธุรกิจMulti-level Marketing (MLM) หรือ ธุรกิจขายตรง เสียภาษียังไง

ธุรกิจMulti-level Marketing (MLM) หรือ ธุรกิจขายตรง เสียภาษียังไง ธุรกิจ Multi-level Marketing (MLM) หรือ Direct Selling (ขายตรง)ในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทั่วไป เช่นเดียวกับธุรกิจประเภทอื่น ๆ โดยภาษีที่เกี่ยวข้องและวิธีการเสียภาษีมีดังนี้ เจ้าของธุรกิจประเภทนี้ต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับทางสำนักงานกรมสรรพากร ธุรกิจ MLM หรือ Direct Selling ที่จดทะเบียน VAT จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าในอัตรา 7% ของราคาสินค้าหรือบริการ ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 (แบบยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทุกเดือน 2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) หากธุรกิจ MLM จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ (หลังจากหักค่าใช้จ่าย)…

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง การเริ่มต้นธุรกิจเป็นความฝันของหลายๆ คน แต่การจะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่แค่เพียงไอเดียที่ดีและความมุ่งมั่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเข้าใจในกฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การเป็นเจ้าของกิจการนั้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบมากมาย หลายๆเรื่องซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องให้ความสำคัญ หากคุณกำลังวางแผนที่จะเปิดธุรกิจ หรือกำลังดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องภาษีที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการได้ดียิ่งขึ้น ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่องภาษี? การทำธุรกิจไม่ใช่แค่เรื่องของการสร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากไม่เข้าใจเรื่องภาษี อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น การถูกปรับ หรือการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของภาษีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการทุกคน ภาษีที่ผู้ประกอบการควรทราบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลหากคุณจดทะเบียนธุรกิจเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด คุณต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการ หากธุรกิจของคุณมีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเรียกเก็บภาษีจากลูกค้า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่หักจากเงินได้ที่จ่ายให้บุคคลอื่น เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ คุณต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการบางประเภท เช่น กิจการโรงแรม ร้านอาหาร ภาษีสรรพสามิต…

การจัดเก็บภาษี (e-commerce)

การจัดเก็บภาษี (e-commerce) ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน การทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ (e-commerce) มีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันเพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ และ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการ เสนอขายและนำส่งสินค้าให้กับทางลูกค้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กรมสรรพากรต้องปรับระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่นี้ โดยหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจ e-commerce มีดังนี้ 1. ใครต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการ e-commerce ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่จับต้องได้หรือสินค้าดิจิทัล ไม่ว่าจะขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย เช่น บริการสตรีมมิ่งเพลง ภาพยนตร์ เกม อีบุ๊ค 2. ประเภทของภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คำนวณจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 1: ภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 2: ภาษี = เงินได้พึงประเมิน…

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat) vsไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม “การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มVat มีข้อดีมากมาย และยังสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของคุณอีกด้วย!!” แต่!!! ก็ยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ ว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำคัญและดีอย่างไรกับธุรกิจของคุณ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นแตกต่างจากธุรกิจที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาสรุปข้อมูลสั้นๆ เพื่อให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ให้เข้าใจว่าระหว่างการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีความสำคัญอย่างไรและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจากผู้ที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร 1.เกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในทางธุรกิจ ทุกๆกิจการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม หากมีรายได้ที่เกินเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ต้องมีหน้าที่ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าหากไม่ได้อยู่เกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ก็สามารถขอยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากผู้ประกอบการรายใด ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กิจการนั้นๆ มีรายได้เกินกำหนดของกรมสรรพากร คือ 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องรีบทำการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น คือ 30 วัน นับจากวันที่มูลค่าฐานภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด หากไม่ยื่นจดทะเบียนมีความมีความเสี่ยงถูกปรับกรณีที่ประกอบธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีโทษปรับทางกฎหมายตามที่กรมสรรพากรได้กำหนดไว้ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้รับการใช้บริการนั้นในประเทศไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.สิทธิประโยชน์ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ หมายความว่า เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไปได้ ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ  ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ สามารถหักภาษีซื้อจากยอดภาษีขายได้ กรณีที่มียอดขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถหักภาษีซื้อที่จ่ายไปจากยอดภาษีขายได้ ช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องชำระ สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ แสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีขนาดใหญ่ มั่นคง และปฏิบัติตามกฎหมาย มีสิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ…

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจหรือยังสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 ว่าคืออะไร โดยตามกฎหมายแล้วกำหนดให้กลุ่มนิติบุคคล อาทิ เช่น (บริษัทจำกัด. ห้างหุ้นส่วนจำกัด. หรือ บริษัทมหาชน) ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล  สามารถยื่นภาษี ได้ 2 ช่วง คือ ช่วงกลางปี และช่วงปลายปี แต่จะยื่นแบบไหนเเละเริ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51กันค่ะว่า แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ภ.ง.ด 50 คืออะไร? ในการเสียภาษีเงินได้ปลายปีนั้น จะต้องใช้แบบกรอกข้อมูลที่เป็นฟอร์มของ ภ.ง.ด.50 และต้องเซ็นรับรองจากฝ่ายบัญชี หรือผู้ตรวจสอบบัญชี โดยแนบเอกสารงบการเงินต่างๆที่มีการเซ็นรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร โดยมีกำหนดให้ส่งแบบภายใน 150 วัน โดยใช้ช่องทางในการยื่นผ่าน Website ของกรมสรรพากร ช่องทาง  e-filing ตัวอย่างเช่น หากปิดงบ วันที่ 31 ธันวาคม ทางผู้ประกอบการจะต้องนำส่ง ภ.ง.ด.50…

ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน สามารถหักลดหย่อนภาษีได้

รู้หรือไม่ ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ อาจจะมีทั้งคนที่รู้ และคนที่ที่ยังไม่รู้ว่าการหักลดหย่อนค่าเล่าเรียนบุตรหลานของท่าน เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้กับผู้ปกครอง ในเรื่องของด้านการศึกษาของบุตรหลาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ เเละการส่งเสริมให้เด็กๆ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ย่อมส่งผลดีต่ออนาคตของพวกเขา เเละประเทศชาติโดยรวม รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายสนับสนุนการศึกษา หนึ่งในนั้นคือ การอนุญาตให้ผู้เสียภาษี หักลดหย่อนค่าเล่าเรียนบุตรหลานท่านได้ ภาษีค่าเล่าเรียน หมายถึง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน ไม่ว่าจะเป็นค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยกฎหมายภาษีของแต่ละประเทศจะมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ทำไมภาษีค่าเล่าเรียนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ? เพราะการทำความเข้าใจในเรื่องภาษีค่าเล่าเรียนจะช่วยให้คุณวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทำให้คุณมีเงินออมเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปใช้จ่ายในด้านอื่นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับภาษีค่าเล่าเรียนอาจมีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถาบันการศึกษา ภาษีค่าเล่าเรียนในประเทศไทย ในประเทศไทย โดยทั่วไปค่าเล่าเรียนจะไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น ค่าเล่าเรียนของบุตรที่อยู่ในความอุปการะ ซึ่งอาจมีเงื่อนไขและวงเงินที่กำหนดไว้ บุคคลที่สามารถหักลดหย่อนค่าเล่าเรียนบุตรหลานได้ บิดา หรือ มารดา ของบุตร บุคคลอื่น ที่เป็นผู้เลี้ยงดูบุตร ผู้รับบุตรบุญธรรม คุณสมบัติของบุตรที่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ บุตร ชอบด้วยกฎหมาย ของผู้เสียภาษี หรือของคู่สมรส บุตรบุญธรรม ของผู้เสียภาษี บุตร มีอายุไม่เกิน 25 ปี…

ความต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล

ความต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธรรมดา หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ซึ่งรวมถึงเงินได้จากการประกอบอาชีพ เงินได้จากการจ้างทำ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจและวิชาชีพ เงินได้จากการประมง เงินได้จากเกษตรกรรม เงินได้จากค่าเช่า เงินได้จากเงินปันผล เงินได้จากดอกเบี้ย และเงินได้อื่นๆ ภาษีนิติบุคคล หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากนิติบุคคล ซึ่งรวมถึงบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน สมาคม มูลนิธิ และนิติบุคคลอื่นๆ ความแตกต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล หัวข้อ 1.ผู้เสียภาษี 2.ประเภทของรายได้ 3.การเสียภาษี 4.อัตราภาษี 5.ค่าลดหย่อน 6.การยื่นแบบแสดงรายการภาษี     ภาษีบุคคลธรรมดา บุคคลทั่วไป เงินได้จากหลายแหล่ง เสียภาษีตามประเภทของรายได้ แบบก้าวหน้า สูงสุด 35% มีค่าลดหย่อนหลายประเภท ยื่นแบบแสดงรายการภาษีปีละ 1 ครั้ง ภาษีนิติบุคคล นิติบุคคล เงินได้จากการประกอบธุรกิจ เสียภาษีจากกำไรสุทธิ 20% มีค่าลดหย่อนน้อย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีปีละ 1 ครั้ง…

สังคมดิจิทัล เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนชีวิตยุคใหม่ 2567

สังคมดิจิทัล(Digital Society) ขับเคลื่อนชีวิตยุคใหม่ 2567 ในยุคปัจจุบัน สังคมดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น การเดินทาง การกิน การอยู่ ไลฟ์สไตล์ การทำงาน และอื่นๆ อีกมากมาย เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวก ให้ผู้ใช้งานได้รับประโยชน์สูงสุด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในสังคม เช่น การเดินทาง: แอปพลิเคชั่นแผนที่ เช่น Google Maps ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาเส้นทาง วางแผนการเดินทาง และติดตามสภาพการจราจรได้แบบเรียลไทม์ การกิน: แอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร เช่น Line man,GrabFood, Foodpanda และแบรนด์อื่นๆ ช่วยให้ผู้ใช้สั่งอาหารจากร้านอาหารที่ชื่นชอบได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องออกจากบ้าน การอยู่: แอปพลิเคชั่นควบคุมบ้านอัจฉริยะ เช่น SmartThings ช่วยให้ผู้ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน เช่น ไฟ แอร์ ประตู ผ่านสมาร์ทโฟน ไลฟ์สไตล์: แอปพลิเคชั่นโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, Shopee และ ช่องทางออนไลน์ต่างๆ…