ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

3 ประเภทภาษีหลัก ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ Franchise ควรรู้ ถ้าต้องพูดถึงเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการนำแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมาขยับขยายธุรกิจ แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มักสงสัยคือ ภาษี ที่ต้องเสีย มีอะไรบ้าง? และต้องเสียภาษีอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจเรื่องภาษีสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างชัดเจนมากชึ้น สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ จะมีประเภทไหนบ้าง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเสียภาษีหลายประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ได้แก่ 1. ฝ่ายเจ้าของแฟรนไชส์ (franchiser) คือ ภาษีเงินได้สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ซึ่งโดยเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการให้สิทธิ์การใช้แบรนด์ ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากเจ้าของแฟรนไชส์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากมีรายได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ภาษีอื่นๆ: อาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย เป็นต้น 2.…

ใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต่างกันอย่างไร

ใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร เอกสารใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี แต่มีหน้าที่และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น 1. ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) วัตถุประสงค์ คือ ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงมูลค่าสินค้าหรือบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ผู้ซื้อต้องชำระ ผู้จัดทำ : ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รายละเอียดข้อมูลที่ระบุ เช่น  ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อและผู้ขาย รายละเอียดสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย จำนวนเงินรวม / ราคา ภาษีมูลค่าเพิ่ม วันที่ออกใบกำกับภาษี ความสำคัญ เช่น  เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  ใช้เป็นหลักฐานในการเบิกค่า ใช้จ่ายทางภาษีของผู้ซื้อ ใช้ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax Certificate) วัตถุประสงค์ คือ ใช้สำหรับพื่อแสดงจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายให้แก่บุคคลอื่น เช่น …

ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ในยุคที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆและเทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านี้ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน นับเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย สื่อโซเชียลมีเดียก็กลายเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับทั้งบุคคลทั่วไปและธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดียไม่ได้เป็นเพียงแค่ช่องทางในการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลอีกต่อไป แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังในการสร้างแบรนด์ สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี และช่วยให้การขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปในทิศทางที่ยั่งยืนมั่นคงอีกด้วย บทบาทสำคัญของสื่อโซเชียลมีเดียต่อธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ช่องทางการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสื่อโซเชียลมีเดียช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แนะนำสินค้า หรือบริการ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า สร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ของธุรกิจสามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและจดจำได้ผ่านการโพสต์เนื้อหาที่น่าสนใจ สร้างสรรค์ และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย  เพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ในส่วนของสื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการโปรโมตสินค้าและบริการ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลและตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค สื่อโซเชียลมีเดียมีเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างละเอียด ทำให้สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถสร้างความแตกต่างและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งได้ “สื่อโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ให้เติบโตและประสบความสำเร็จ ธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัลจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ และติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ”“แต่อย่าลืมนะคะว่าการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะอยู่ในช่องทางไหนทุกๆธุรกิจที่มีเงินได้ทุกประเภทย่อมมีหน้าที่ในการรับภาระหน้าที่ในการเสียภาษีจำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในทุกๆเดือน ตามกฎของกรมสรรพากรที่ได้กำหนดไว้ในเงินได้แต่ละเภทนั้นๆ” ธุรกิจออนไลน์จะต้องเสียภาษี 2 ประเภทหลัก คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาต้องเสียจากเงินได้ทุกประเภท รวมถึงเงินได้จากการขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ด้วย โดยอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ ระยะเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ? ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม:…

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง การเริ่มต้นธุรกิจเป็นความฝันของหลายๆ คน แต่การจะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่แค่เพียงไอเดียที่ดีและความมุ่งมั่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเข้าใจในกฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การเป็นเจ้าของกิจการนั้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบมากมาย หลายๆเรื่องซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องให้ความสำคัญ หากคุณกำลังวางแผนที่จะเปิดธุรกิจ หรือกำลังดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องภาษีที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการได้ดียิ่งขึ้น ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่องภาษี? การทำธุรกิจไม่ใช่แค่เรื่องของการสร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากไม่เข้าใจเรื่องภาษี อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น การถูกปรับ หรือการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของภาษีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการทุกคน ภาษีที่ผู้ประกอบการควรทราบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลหากคุณจดทะเบียนธุรกิจเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด คุณต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการ หากธุรกิจของคุณมีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเรียกเก็บภาษีจากลูกค้า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่หักจากเงินได้ที่จ่ายให้บุคคลอื่น เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ คุณต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการบางประเภท เช่น กิจการโรงแรม ร้านอาหาร ภาษีสรรพสามิต…

ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท

การยื่นภาษี คือ? การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน เพื่อให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและทันเวลา ผู้ที่ต้องยื่นภาษีในแต่ละประเภท จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทให้ชัดเจน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีให้ถูกต้อง ล้วนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนภาษีและการหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย การยื่นภาษีล่าช้าอาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับและดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถวางแผนการยื่นภาษีได้ง่ายและถูกต้องและเข้าใจช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น เราจะมาสรุปสั้นให้ฟังค่ะว่า ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีความแตกต่างกันและมีความสำคัญอย่างไร ทำไมช่วงเวลาในการยื่นภาษีจึงสำคัญ? หลีกเลี่ยงค่าปรับที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้าอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับ วางแผนทางการเงินเพื่อให้ผู้สียภาษีรู้กำหนดเวลาในการยื่นภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการยื่นภาษีตรงตามกำหนด อาจทำให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อช่วงเวลาในการยื่นภาษี ประเภทของภาษีแต่ละประเภทของภาษีจะมีกำหนดเวลาในการยื่นที่แตกต่างกัน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับนิติบุคคล กำหนดเวลาในการยื่นภาษีจะขึ้นอยู่กับรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทกำหนด การขยายเวลาในบางกรณี กรมสรรพากรอาจมีการประกาศขยายเวลาในการยื่นภาษีออกไป เนื่องจากเหตุจำเป็น เช่น ภัยธรรมชาติ หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบฯ กำหนดเวลาในการยื่นแบบฯ หมายเหตุ ภ.ง.ด.90 ม.ค. – มี.ค. ของปีถัดไป ใช้เสียภาษีเงินได้ประจําปีสําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2)-(8) แห่งประมวลรัษฎากรหรือมีเงินได้ฯ ตาม มาตรา 40(1) และ มาตรา…

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง กรณีผู้มีเงินได้ในการประกอบอาชีพมีความแตกต่างกัน และมีความยากง่ายหรือต้นทุนที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ในกฎหมายจึงได้แบ่งประเภทเงินได้ออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการของผู้เสียภาษี ซึ่งภาษีเงินได้เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือบุคคลผู้ที่มีรายได้ โดยการคำนวณภาษีก็จะแตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองมาดูตารางสรุป 8 ประเภทของภาษีเงินได้กันเลยค่ะว่า แต่ละประเภทเนี้ยมีความแตกต่างกันอย่างไร เงินได้ที่เรารับอยู่ตอนนี้จัดอยู่ในประเภทเงินได้ ประเภทใดกันแน่นะ เงินได้ประเภทที่ 1 เป็นเงินได้ที่จัดอยู่ในหมวดของ พนักงานประจำหรือบุคคลที่รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเงินในส่วน เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส หรือเงินให้สวัสดิการก็ตามที เงินได้ประเภทที่ 2 เป็นเงินได้จัดอยู่ในหมวดของ อาชีพอิสระหรือที่เค้าเรียกกันวันว่า ฟรีแลนซ์ ตามที่เราๆเคยได้ยินกันเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด   เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำแต่จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว หรือไม่ก็ตาม ภาษีเงินได้ประเภทที่ 3 เป็นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอื่นๆ หรือเป็นเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น…

การจัดเก็บภาษี (e-commerce)

การจัดเก็บภาษี (e-commerce) ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน การทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ (e-commerce) มีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันเพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ และ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการ เสนอขายและนำส่งสินค้าให้กับทางลูกค้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กรมสรรพากรต้องปรับระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่นี้ โดยหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจ e-commerce มีดังนี้ 1. ใครต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการ e-commerce ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่จับต้องได้หรือสินค้าดิจิทัล ไม่ว่าจะขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย เช่น บริการสตรีมมิ่งเพลง ภาพยนตร์ เกม อีบุ๊ค 2. ประเภทของภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คำนวณจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 1: ภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 2: ภาษี = เงินได้พึงประเมิน…

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง อาจจะยังมีหลายคนสงสัยว่าบุคคลที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์เค้าเสียกันหรือป่าว ถ้าเสียภาษีแล้วประเภทภาษีของอาชีพฟรีมีอะไรบ้าง ในฐานะฟรีแลนซ์ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่นเดียวกับผู้มีรายได้ประจำทั่วไป โดยเงินได้ของคุณจะจัดอยู่ใน “เงินได้ประเภทที่ 2 ตามประมวลรัษฎากร หรือ “เงินได้มาตรา 40 (2)” ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นประชาชนคนไทยและมีรายได้ ทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้กับประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม ฟรีแลนซ์ หรือที่เค้าเรียกกันว่า อาชีพอิสระ เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง เลือกเวลาทำงาน เลือกสถานที่ทำงานเองได้ โดยไม่ต้องสังกัดองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่การเป็นฟรีแลนซ์นั้น ก็มาพร้อมกับ ภาระหน้าที่ ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ค่ะ ภาษีหลัก ที่ฟรีแลนซ์ต้องเสียมีดังนี้ ประเภทภาษี กรณีที่ต้องเสีย อัตราภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีรายได้จากการประกอบอาชีพ ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ภาษีธุรกิจเฉพาะ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เหมือนกับอาชีพทั่วไป โดยจะต้องเสียภาษี 2 รอบ ดังนี้…

ลดหย่อนภาษีเที่ยวเมืองรอง 2567 ใช้เอกสารระบบ etax

สนใจใช้ระบบ etax ปรึกษาฟรี (คลิกเลย) ลดหย่อนภาษีเที่ยวเมืองรอง 2567 ใช้เอกสารระบบ etax ทางภาครัฐต้องการสนับสนุนการท่องเที่ยวในเมืองไทย จึงได้มีการอนุมัติมาตรการลดหย่อนภาษีการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด และ 15 จังหวัดหลัก 167 อำเภอเพื่อกระตุ้นให้สภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจดีขึ้น โดยโครงการเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม จนถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 มาตรการลดหย่อนภาษีในการท่องเที่ยวเมืองรอง สำหรับบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล (ใช้เอกสารระบบ etax) มาตรการลดหย่อนภาษีในการท่องเที่ยวเมืองรอง สำหรับบุคคลธรรมดา ใช้ใบกำกับภาษีในรูปแบบ e-Tax invoice & e-Receipt สิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริการที่อยู่ในมาตรการที่กรมสรรพากรกำหนด สามารถมาหักลดหย่อนภาษีได้ถึง 1.5 เท่า ของค่าใช้จ่ายตามจริง ใบกำกับภาษีต้องออกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice & e-receipt) หรือ etax invoice by…

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ ถ้าต้องพูดถึงการเสียภาษีในบ้านเรื่องนั้นมีภาษีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ภาษีประเภทนิติบุคคล,  ภาษีบุคคลธรรมดา, ภาษีป้าย, ภาษที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง,  ภาษีสรรพาสามิต, ภาษีศุลกากร, ภาษีอากรแสตมป์, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ นับเป็นอีกหนึ่งภาษีที่มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีจากเจ้าของกิจการที่ประกอบธุรกิจตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ภาษีประเภทนี้มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับภาครัฐ และยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจนั้นๆประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามหลักของกฎหมายอีกด้วย ผู้ประกอบการหน้าใหม่หลายๆธุรกิจที่ยังไม่รู้ว่า ภาษีธุรกิจเฉพาะคืออะไร แล้วทาง ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีแบบไหน และ มีกิจการประเภทใดบ้าง ประเภทของธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ ประเภทที่ 1: ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น การขายสินค้าทั่วไป การบริการ การขนส่ง หรือผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ประเภทที่ 2: ผู้ประกอบการm ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทที่ 3: ธุรกิจที่ต้องเสียภาษีในอัตรา 5% ของยอดขาย เช่น ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสวนสนุก ธุรกิจขายสุรา อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับแต่ละประเภทธุรกิจจะแตกต่างกันไป ดังนี้ กิจการธนาคาร:…