eTax คืออะไร? ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?

etaxคืออะไร? ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร? โลกในยุคปัจจุบันก้าวสู่สังคมอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีเข้ามาอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค เเละทางธุรกิจมากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ไม่เพียงเเต่ทำให้การทำงานสะดวกเเละรวดเร็วขึ้น เเต่ยังสามารถลดต้นทุนในการดำเนินกิจการได้อีกด้วย ไม่ใช่ภาคเอกชนเองที่ต้องปรับตัว ทางภาครัฐก็ส่งเสริมเเละมีนโยบายในการผลักดันให้เป็นระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) เเละเข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร รวมทั้งทางกรมสรรพากร ได้พัฒนา ระบบใบกำกับภาษีเเละใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) เพื่อรองรับการจัดทำ จัดส่ง เเละจัดเก็บใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เเละใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้เหมาะสม สะดวกกับผู้ประกอบการ รวมทั้งลดปัญหาเอกสารสูญหาย หาเอกสารไม่เจอ เเละยังลดต้นทุน เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย ความต่างระหว่างใบกำกับภาษีเเบบกระดาษ vs. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารใดบ้างที่ต้องส่งในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 เเห่งประมวลรัษฎากร 2.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อ (Abbreviated e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/6 เเห่งประมวลรัษฎากร 3.ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรา 105…

เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำ e-Tax Invoice

เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำ e-Tax Invoice 1.ศึกษากฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย  (1) พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 (2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (3) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สาหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ขมธอ.3-2560) (4)ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการใช้ข้อความ XML สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน (ขมธอ.14-2560) และศึกษาวิธีการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ 2.เตรียมพร้อมระบบงานของกิจการในการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่เหมาะสม 3.จัดเตรียมใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) 4.ขออนุมัติกรมสรรพากร ความเเตกต่างระหว่าง ระบบ e-Tax Invoice by Email เเละ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ผู้ประกอบการสามารถเลือกจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ 2 วิธี 1.ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt…

ใบกำกับภาษีแบบเดิม vs. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

💡ใบกำกับภาษีเเบบเดิม vs.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เเบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน💡 สวัสดีค่ะ ท่านเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการยุคใหม่เเละนักบัญชีทุกท่าน วันนี้ทางเพจจะมาไขข้อสงสัย ว่าใบกำกับภาษีเเบบเดิมต่างกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร เเละใบกำกับภาษีแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ พร้อมเเล้วไปอ่านกันเลยยย ใบกำกับภาษีเเบบเดิม (Tax invoice) : เป็นเอกสารสำคัญที่ทางผู้ขายออกให้กับผู้ใช้บริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเเสดงข้อมูลมูลค่าสินค้าหรือบริการและ Vat ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของกระดาษ ทำให้มีเอกสารจำนวนมากเเละต้องมีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารเหล่านั้น เเละอาจพบปัญหาเรื่องการค้นหาเอกสารได้ยากอีกด้วย ใบกำกับภาษีเเบบเดิมนั้นค่อนข้างมีราคาสูง เพราะต้องทำการพิมพ์หมึกลงบนกระดาษเเละต้องใช้บุคลากรหลายตำเเหน่งในการดำเนินงานทั้งกระบวนการ รวมทั้งอาจเกิด Human Error หรือข้อผิดพลาดในการจัดส่งได้ค่ะ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) : รูปแบบการทำงานเหมือนใบกำกับภาษีเเบบเดิม เเต่อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำส่งลูกค้าเเละทางกรมสรรพากรได้ทางอินเทอร์เน็ตได้เลยค่ะ รวมทั้งลดพื้นที่ในการจัดเก็บ ทำงานได้ง่ายเเละสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดการใช้กระดาษ รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากรอีกด้วย ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ยังเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สามารถตรวจสอบการเเก้ไขได้อย่างเเม่นยำ เพราะมีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(Digital Signature) ทุกครั้ง เพิ่มเกราะป้องกันการกระทำที่ไม่พึงประสงค์หรือการทุจริตได้อีกด้วยค่ะ ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าเเก้ไขทีหลังนะคะ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเลือกใช้แบบใบกำกับภาษีที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก บริษัทควรเลือกใช้ใบกำกับภาษีรูปแบบที่เหมาะสมกับการทำงานของในองค์กร เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทค่ะ พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย

ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่ทุกคนจะต้องเคยได้ยินมาบ้าง แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ เราจะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย คือ เงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการ ยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้ากิจการไม่หักไว้ จะถือว่าเป็นความผิดของกิจการ หรือบางครั้งเจอคู่ค้าที่ไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย แนะนำว่าควรเปลี่ยนเจ้า เพราะตามหลักการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ออกให้ทันภายในกำหนดเวลา มีความถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด ต้องหักเมื่อไร เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่…

ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต่างๆต้องเป็นรับเป็นภาระภาษีไว้ทั้งหมด ไม่สามารถผลักภาระให้กับผู้อื่นได้เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีทางตรงซึ่งที่จัดเก็บตามบท บัญญัติประมวลกฎหมายรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท ตามหลักเกณฑ์เงินสด หากเงินได้ประเภทใดที่ได้รับ การยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนั้น จะต้องบัญญัติไว้โดยกฎหมายว่าเงินได้ประเภทนั้นได้รับการยกเว้น หน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้า ที่จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ กรมสรรพากร ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและ มีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติ จัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไป แสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษี ภาษีทางอ้อม คือ เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากสินค้าและบริการก่อนที่จะไปถึงลูกค้า ซึ่งเป็นการชำระภาษีทางอ้อมในที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของราคาตลาดของสินค้าและบริการที่ได้ทำการซื้อขายภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้มีหน้าเสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต (VAT) คือเจ้า Vat 7% ที่อยู่ในค่าสินค้า หรือบริการต่างๆ นั่นเอง ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากฐานบริโภคทั่วไปภายในประเทศ ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจประกันชีวิต,กิจการโรงรับจำนำ อากรแสตมป์…

บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล แบบไหนดีกว่า

การเข้าเป็นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ถึงระบบธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย แต่ในรูปแบบธุรกิจอาจส่งผลในการวางแผนภาษี และในการจัดการบัญชีของกิจการในอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกรูปแบบของธุรกิจให้เหมาะสมกับ กิจการของตนเองได้ ว่า ธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเป็นอย่างไร ต่างกันอย่างไรแล้วแบบไหนดีกว่า 1. การดำเนินกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปกิจการขนาดเล็กที่มีเจ้าของคนเดียว จะมีการบริหารจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ในกรณีที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจะ มีการตกลงกันเพื่อทำธุรกิจ โดยมีการแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันแต่จะไม่ได้มีการจดบริษัท หุ้นส่วนทุกคนต้องมีการเสียภาษี แบบบุคคลธรรมดากฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย และควรจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อบอกให้คนทั่วไปทราบว่า คุณทำธุรกิจแบบถูกต้องเปิดเผย มีสถานที่ตั้งประกอบกิจการชัดเจน ข้อดีของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา มีความคล่องตัวสูง เนื่องจากสามารถคิดและตัดสินใจได้คนเดียว ไม่ต้องรอความคิดเห็นจากผู้ถือหุ้น รับกำไรแต่เพียงผู้เดียว จัดตั้งง่าย ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่ต้องจัดทำบัญชี ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านเอกสาร ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา มีเงินลงทุนเท่าที่เจ้าของกิจการลงไป การระดมทุนเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขาดความน่าเชื่อถือ อาจถูกมองว่าไม่มีความมั่นคงทั้งด้านการเงิน และการบริหาร การเสียภาษีจะเป็นลักษณะเหมาจ่าย แม้ว่าปีนั้นผลประกอบการจะขาดทุน หากแต่ไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักได้…

ภาษีในการประกอบธุรกิจ

เรื่องภาษีเป็นเรื่องปวดหัวภาษีนั้นก็มีหลายประเภทซะเหลือเกิน แล้วเราจะต้องรู้ภาษีอะไรบ้างในการเริ่มต้นธุรกิจ 1ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ 2ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้ของนิติบุคคล ได้แก่ เงินได้ประเภทกำไรสุทธิ ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย เงินได้ที่จ่ายจากหรือ ในประเทศไทย หรือ การจำหน่ายเงินกำไรจากประเทศไทย 3ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ จะหัก ณ ที่จ่าย ถ้ามีการจ่ายเงินเกิดขึ้น คนที่จ่ายเงินที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือนิติบุคคล หัก ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงิน ให้กับคนรับ ที่เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาก็ได้ เพื่อนำส่งสรรพากร และเมื่อได้ทำการหักถาษี ณ ที่จ่ายแล้วจะต้องมีการออก “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ซึ่งผู้ถูกหักสามารถนำไปขอคืนจากรัฐตอนสิ้นปี หรือนำไปลดหย่อนภาษีได้ 4ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เราสามารถผลักภาระภาษีให้กับผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ซึ่งมีหลักการจัดเก็บที่แตกต่างกัน 5ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่รัฐฯ จัดเก็บจากโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ตึกแถว สำนักงาน…

ภาษีไม่จ่ายได้ไหม

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากจะกำหนดสิทธิต่างๆ ที่ประชาชนพึงมีไว้แล้ว ยังได้กำหนดหน้าที่ของประชาชน ที่จะต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งกฎหมายที่ใช้เป็นข้อกำหนดในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลกฎหมายรัษฎากร ภาษี หมายถึง เงินที่เก็บจากประชาชน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศพื่อนำมาใช้บริหารและพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษา ความสงบภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน โดยภาษีจะแบบออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากกการประกอบอาชีพ โดยมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ได้จากกการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆ ของประชาชนหรือที่เรารู้จักกันว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” นั้นเอง “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” กับ “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” จัดอยู่ในรูปแบบของ #ภาษีทางตรง โดยภาษีทั้งสองประเภทนี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปและผู้ที่คิดจะเริ่มทำธุรกิจใหม่ควรทราบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีจะจัดเก็บจากประชาชนผู้มีเงินได้ทั่วไป ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยปรกติจะจัดเก็บเป็นปี ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่ กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บได้จากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในส่วนรูปแบบ…

Thailand 4.0

พักหลัง ๆ นี้เพื่อน ๆ หลายคนคงได้ยินตามโทรทัศน์ งานสัมมนา หรืออ่านผ่านตาบนเฟซบุ๊กของนักวิชาการหลายท่านเกี่ยวกับเรื่องของ Thailand 4.0 พบเห็นจนจำได้ขึ้นใจในประโยคที่ว่า “ประเทศไทยต้องก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ให้ได้” ซึ่งมันคืออะไรก็ไม่รู้แหละ รู้แค่คร่าว ๆ ว่ามันเกี่ยวกับเทคโนโลยี เกี่ยวกับประเทศไทยทั้งประเทศ แต่เป็นยังไงมายังไง แล้วทำไมอยู่ ๆ ถึงมี 4.0 เลย มันมี 1.0 2.0 มาก่อนมั้ย แล้ว 4.0 มันคืออะไร ดียังไง เดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กัน รับรองได้ว่า ง่าย สั้น กระชับ อ่านจบไปเล่าต่อได้ทันทีครับ เริ่มต้นกันใหม่ ทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายก่อนว่า Thailand 1.0 – 4.0 ต่าง ๆ มันคืออะไร ซึ่งมันก็คือโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย แต่แตกต่างกันที่กลุ่มการลงทุนหลักของประเทศในขณะนั้น…

กรณียื่นภาษีช้า

ทำอย่างไรดี เมื่อยื่นภาษีช้า เราเชื่อว่าหลายคนคงถึงเวลาแล้วที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าอยู่ดีๆ บางครั้งเราอาจจะลืมการชำระเบี้ยเสียภาษีหรือเลยกำหนดเวลาในการชำระภาษีในเวลานั้น ไป แล้วเราควรทำอะไรต่อหลังจากนี้ถ้าเกิดเราดันลืมขึ้นมาจริงๆ หลายคนอาจเคยประสบปัญหา แต่รู้หรือไม่ว่าการยื่นภาษีล่าช้า ซึ่งส่งผลเสียตามมาหลายประการ วันนี้เราจะมาอธิบายถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากท่านยื่นภาษีล่าช้า และแนะนำวิธีแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงต่อบทลงโทษ ผลที่ตามมาของการยื่นภาษีช้า 1.ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น) ประเภท หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1,2,3,53,90,91,94 ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท ประเภท ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 , ภ.พ.36 ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท ส่วนของนิติบุคคล…