ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร

ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการปรับปรุงยอดเงินที่ต้องชำระในธุรกรรมทางการค้า โดยมักเกี่ยวข้องกับการออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice) และการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เอกสารทั้งสองประเภทนี้เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในธุรกิจ เพื่อปรับแก้ไขการทำธุรกรรมที่มีข้อผิดพลาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงในข้อตกลง โดยบทความนี้เราจะมาพูดถึง ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร กันค่ะ สารบัญ ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) คืออะไ่ร? ใบลดหนี้ (Credit Note) คืออะไร? กรณีตัวอย่างการใช้งานใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้​ ตารางเปรียบเทียบความแตกต่าง ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ถือเป็นใบกำกับภาษีชนิดหนึ่ง เป็นเอกสารที่ออกเมื่อมีการเพิ่มราคาสินค้าหรือบริการ เนื่องจากสินค้าหรือบริการที่ส่งมอบไปนั้น “เกินกว่า” จำนวนที่ตกลงซื้อขายกันไว้ หรือให้บริการ “เกินกว่า” ข้อกำหนดที่ตกลงกัน (ส่งมอบเกิน) และผู้ซื้อสินค้าหรือบริการสามารถนำใบเพิ่มหนี้ไปยื่นเพิ่มภาษีซื้อ และผู้ออกใบเพิ่มหนี้ยื่นในส่วนภาษีขาย เหตุผลที่ต้องออก: คำนวณราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ “ต่ำกว่า” ที่เป็นจริง (คำนวณเงินขาด) มีการเพิ่มปริมาณสินค้าหรือบริการที่ส่งมอบให้ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบกำกับภาษีเดิม เช่น ค่าขนส่ง ค่าติดตั้ง ผลกระทบ: ทำให้ยอดเงินที่ต้องชำระเพิ่มขึ้น สาระสำคัญของใบเพิ่มหนี้ (Debit Note)…

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร ทำไมคนทำธุรกิจควรรู้

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร? เอกสารใบกำกับภาษี เป็นเอกสารสำคัญทางการค้า ที่ผู้ประกอบการ ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ทำการออกบิลให้กับทางผู้บริโภคสินค้าหรือผู้ใช้บริการทุกครั้ง ซึ่งจะแสดงข้อมูลของ สินค้า และ บริการ รวมถึงจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บ โดยปกติแล้วผู้ประกอบการจะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา VAT 7% ที่เราเคยเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ทั้งนี้ ภาษีที่คิดจากราคาขาย หากเป็นผู้ขายหรือผู้ให้บริการ จะเรียกว่า ภาษีขาย แต่ถ้าเราเป็นลูกค้าซื้อสินค้าหรือใช้บริการ แล้วมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเรียกว่า ภาษีซื้อ เป็นต้น ใบกำกับภาษี แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือใบกำกับภาษีแบบเต็ม และ ใบกำกับภาษีแบบย่อ โดยใบกำกับภาษีแบบย่อใช้สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการรายย่อย โดยส่วนมากแล้วราคาสินค้าและบริการจะต้องระบุข้อความว่า “รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม” จะต่างกับใบกำกับภาษีแบบเต็ม ที่บอกจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

เอกสารที่ต้องส่งในระบบ etax invoice & e-receipt

เอกสารใดบ้างที่ต้องส่งในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 เเห่งประมวลรัษฎากร2.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างย่อ (Abbreviated e-Tax Invoice) ตามมาตรา 86/6 เเห่งประมวลรัษฎากร3.ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรา 105 ทวิ เเห่งประมวลรัษฎากร4.ใบเพิ่มหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-Debit Note) ตามมาตรา 86/9 เเห่งประมวลรัษฎากร5.ใบลดหนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-Crebit Note) ตามมาตรา 86/10 เเห่งประมวลรัษฎากรโดยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้น ต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย

ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่ทุกคนจะต้องเคยได้ยินมาบ้าง แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ เราจะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย คือ เงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการ ยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้ากิจการไม่หักไว้ จะถือว่าเป็นความผิดของกิจการ หรือบางครั้งเจอคู่ค้าที่ไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย แนะนำว่าควรเปลี่ยนเจ้า เพราะตามหลักการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ออกให้ทันภายในกำหนดเวลา มีความถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด ต้องหักเมื่อไร เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่…