ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร?

VAT คืออะไร พี่ไม่ได้สั่ง : พามารู้จักภาษีมูลค่าเพิ่มในมุมมองผู้บริโภค

ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ไม่ได้สั่ง ไม่จ่ายได้มั้ย? เคยได้ยินกันมั้ยคะว่า ทุกคนมีหน้าที่ต้องเสีย ‘ภาษี’ นอกจากภาษีเงินได้แล้วนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ก็เป็นภาษีอีกประเภทหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากๆ ทุกคนต้องเสีย VAT 7% ซึ่งเป็นภาษีทางอ้อมที่เก็บจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหรือบริการในชีวิตประจำวัน บทความนี้ ชวนทุกคนมารู้จัก VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ในมุมมองผู้บริโภคกันบ้าง ว่าคืออะไร ใครต้องจ่าย และใครมีสิทธิ์เก็บได้บ้าง ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร ใครเป็นคนจ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่เก็บจากการขายสินค้าหรือบริการที่เข้าเงื่อนไข ซึ่งผู้ประกอบการจะเก็บ VAT 7% กับผู้บริโภค และนำส่งกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานมีหน้าที่จัดเก็บอีกที จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการเป็นเพียงตัวกลางในการเก็บ VAT 7% เท่านั้น และทุกคนก็มีหน้าที่ต้องเสีย ‘ภาษี’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ธุรกิจแบบไหนต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม? ผู้บริโภคมีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในทุกครั้งที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ แต่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะมีหน้าที่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับลูกค้าเสมอไป หากธุรกิจไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่มีสิทธิเก็บ VAT 7% กับลูกค้าโดยเด็ดขาด ซึ่งหากมีการเรียกเก็บก็จะมีโทษตามกฎหมาย ผู้มีหน้าที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม…

รัฐควรเก็บภาษี VAT กับธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่?

รัฐควรเก็บภาษี VAT จากกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่? พาส่องปัญหาธุรกิจ SMEs กับระบบภาษีไทย

รัฐควรเก็บภาษี VAT จากกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่? พาส่องปัญหาธุรกิจ SMEs กับระบบภาษีไทย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากข่าวที่รัฐเตรียมเก็บภาษีจากธุรกิจรายย่อยที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี เป็นประเด็นร้อนในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME อย่างมากถึงความเหมาะสมของนโยบายที่ ‘รัฐควรเก็บภาษี VAT จากกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือไม่?’ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้ ธุรกิจที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ถูกยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายมากขึ้น ” นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ เผยแนวทางเพิ่มรายได้รัฐ อาจมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% จากธุรกิจที่มีรายได้ 1.5 ล้านบาทต่อปี อาจเพิ่มเป็นแวตประเภทที่ 2 เหมือนกรณีในประเทศยุโรปทำ ซึ่งประเมินว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้หากสามารถขยายฐานภาษีมูลค่าเพิ่มได้กว้างขึ้น นำคนเข้าระบบได้มากขึ้น จะทำให้รัฐบาลจัดทำงบฯ ขาดดุลต่ำลง จากปัจจุบันขาดดุลอยู่ที่ 4.4% ของ GDP อาจเหลือแค่ 3.5% ซึ่งการลดรายจ่ายของรัฐบาลทำได้ยาก จำเป็นต้องเพิ่มรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น โดยรัฐมองว่า ปัจจุบันคนรุ่นใหม่หันมาทำธุรกิจมากขึ้น…

ภาษีต้องห้าม คืออะไร

ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร?

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร? หากอธิบายง่ายๆ ก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายได้ตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดเก็บจากลูกค้าและนำส่งให้กรมสรรพากร โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการสามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการมาหักออกจากภาษีขายได้ แต่ในบางกรณี ภาษีซื้อบางประเภทไม่สามารถนำมาหักออกได้ ซึ่งเราจะเรียกภาษีซื้อประเภทนี้ว่า “ภาษีซื้อต้องห้าม” การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้ามจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการภาษีได้อย่างถูกต้องและลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร ความหมายของ ภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการซื้อสินค้าและบริการบางประเภทที่ไม่เข้าเงื่อนไขในการนำมาหักออกจากภาษีขาย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/5 โดยภาษีซื้อลักษณะนี้ไม่สามารถใช้เป็นเครดิตภาษีได้ ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการจะไม่สามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวไปใช้ลดหย่อนภาษีขายได้ แม้ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก็ตาม การเข้าใจถึงข้อกำหนดเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มได้อย่างถูกต้อง ลดความผิดพลาดที่อาจนำไปสู่ค่าปรับหรือปัญหาทางกฎหมายในอนาคต ภาษีซื้อ (Input Tax) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ชำระเมื่อซื้อสินค้า บริการ หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบการสามารถนำภาษีซื้อนี้มาหักออกจากภาษีขายที่ต้องชำระให้กับกรมสรรพากร อย่างไรก็ตาม การนำภาษีซื้อมาหักภาษีขายได้นั้น จำเป็นต้องเป็นภาษีซื้อที่ถูกต้องตามกฎหมาย หนึ่งในกรณีที่ภาษีซื้อไม่สามารถนำมาหักภาษีขายได้ คือ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ตามกฎหมาย ผู้ที่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีจะต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับกรมสรรพากรเท่านั้น หากผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้ออกใบกำกับภาษีให้ ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และใบกำกับภาษีนั้นจะถือว่าไม่มีผลทางกฎหมาย ผู้ซื้อไม่สามารถนำภาษีซื้อจากใบกำกับภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายได้ ประเภทของ…

ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt รู้ไวใช้ก่อนดีกว่าอย่างไร?

เพื่อเพิ่มโอกาสที่ดีกว่าในการทำธุรกิจ โดยสำหรับการเลือกใช้งานระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการจัดทำใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดการใช้กระดาษลดเวลาในการทำงาน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเอกสาร และเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีทางธุรกิจ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คือ การจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษี รวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, PDF หรือ PDF/A-3 ที่ได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และสำหรับการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต้องจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในรูปแบบ XML File ตามมาตรฐานเท่านั้น (ETDA, สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ…

ธุรกิจโรงแรม ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง

ธุรกิจโรงแรม ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ทุกคนเคยสงสัยไหมคะ ธุรกิจโรงแรม ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง? การดำเนินธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต้องมีการชำระภาษีและค่าธรรมเนียมหลายประเภทซึ่งเป็นข้อกำหนดตามกฎหมาย ธุรกิจโรงแรมเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ใช้บริการจำนวนมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้มีภาระภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องหลากหลายรายการ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและครอบคลุม บทความนี้จะแนะนำภาษีและค่าธรรมเนียมหลัก ๆ ที่ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต้องชำระ มีดังนี้ค่ะ ธุรกิจโรงแรมเสียภาษีอะไรบ้าง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับธุรกิจโรงแรมขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินธุรกิจและประเภทของรายได้ที่ได้รับ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการโรงแรมจะต้องคำนวณภาษีจากรายได้ที่ได้รับหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเป็นไปตามระดับรายได้ โดยมีการจัดเก็บในลักษณะของอัตราก้าวหน้า (progressive tax rates) ซึ่งหมายความว่ารายได้ที่สูงขึ้นจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น โดย ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ 91) ตามกำหนดเวลา โดยทั่วไปจะต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ภาษีเงินได้นิติบุคคล ธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจะคิดจากกำไรสุทธิที่เกิดจากการประกอบกิจการ โดยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจโรงแรมทั่วไปจะอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ (ตาม พ.ร.บ. ประมวลรัษฎากร) ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจโรงแรมมีรายละเอียดสำคัญ  ภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยมีอัตรา 20% ของกำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทที่มีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี กำไรสุทธิจะคำนวณจากรายได้รวมหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เช่น ค่าจ้างพนักงาน,…

ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย คืออะไร?

ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย คืออะไร? ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย เป็นคำศัพท์ที่เราได้ยินกันบ่อยในแวดวงธุรกิจและการเงิน แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง และความแตกต่างระหว่างทั้งสองอย่าง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้กระจ่างกันค่ะ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้ในกรณีไหนได้บ้าง? ความแตกต่างระหว่าง ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย ภาษีซื้อ คืออะไร? ภาษีซื้อ คือ ภาษีที่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการต้องชำระให้กับหน่วยงานรัฐในขณะทำการซื้อ โดยทั่วไปแล้ว ภาษีนี้จะถูกบวกเข้าไปในราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อ และผู้ขายจะมีหน้าที่ในการรวบรวมภาษีนี้เพื่อนำส่งให้กับรัฐบาล ภาษีซื้อมักถูกนำไปใช้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งเป็นระบบภาษีที่มีการเรียกเก็บในหลายประเทศ โดยผู้ซื้อจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราที่กำหนดเมื่อทำการซื้อสินค้าหรือบริการ และผู้ขายจะต้องออกใบเสร็จรับเงินที่ระบุจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ชำระไปด้วย การเก็บภาษี ผู้ซื้อช่วยให้รัฐบาลมีรายได้สำหรับการพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และการดูแลสังคม ภาษีซื้อช่วย หรือ การใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในการกระจายรายได้และสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยการใช้ภาษีในการสนับสนุนโครงการพัฒนาที่มีประโยชน์ต่อสังคม ระบบภาษีที่ถูกต้องช่วยให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม โดยการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการจ่ายของผู้ซื้อ ผู้ขายสามารถนำภาษีซื้อที่จ่ายไปแล้วมาใช้ในการลดภาษีขาย (VAT) ที่ต้องชำระให้กับรัฐ ซึ่งช่วยกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจ รวมไปถึง e-Tax invoice &…

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม vs ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม vs ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม “การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat มีข้อดีมากมาย และยังสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของคุณอีกด้วย!! แล้วระหว่าง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม vs ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีความแตกต่างกันอย่างไร?” สารบัญ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม vs ไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม เกณฑ์การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม สิทธิประโยชน์ของการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ผลเสียของการไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ตัวอย่างธุรกิจที่ควรจด VAT แม้รายได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ หน้าที่ของผู้ประกอบการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม สรุป: จดภาษีมูลค่าเพิ่ม vs ไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ ว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำคัญและดีอย่างไรกับธุรกิจของคุณ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นแตกต่างจากธุรกิจที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาสรุปข้อมูลสั้นๆ เพื่อให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ให้เข้าใจว่าระหว่างการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจาก ผู้ที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร 1. เกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในทางธุรกิจ ทุกๆ กิจการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม หากมีรายได้ที่เกินเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ต้องมีหน้าที่ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าหากไม่ได้อยู่เกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ก็สามารถขอยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากผู้ประกอบการรายใด้ ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กิจการนั้นๆ มีรายได้เกินกำหนดของกรมสรรพากร คือ 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องรีบทำการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น คือ 30 วัน…

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้เก็บภาษีจากลูกค้า และนำส่งให้กับกรมสรรพากร โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ก็มีบางกรณีที่ ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดVAT ดังนี้ 1. ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการรายย่อย หรือที่มักเรียกกันว่า “พ่อค้าแม่ค้า” มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย พวกเขาเป็นผู้สร้างงาน นำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น และกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก บทความนี้มุ่งเน้นไปที่ประเภทของผู้ประกอบการรายย่อยที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ ผู้ประกอบการแบบดั้งเดิม: แม่ค้าขายของในตลาด: พบเห็นได้ทั่วไปในตลาดสด ตลาดนัด ขายสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน ฯลฯ ร้านค้าปลีก: ตั้งอยู่ในชุมชน ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า ขายสินค้าหลากหลายประเภท เช่น เสื้อผ้า อาหาร ของใช้ในบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ผู้ให้บริการ: เช่น ช่างตัดผม…

ประชาชนเสียภาษีอะไรบ้าง

ประชาชนเสียภาษีอะไรบ้าง TAX คืออะไร? TAX คือ เงินภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ และใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งไม่ได้มีสิ่งตอบแทนแก่ผู้เสียภาษีโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น สามารถแบ่งได้เป็น 2   ประเภท 1️ ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆ ของบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ 2️ ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจาก ผู้บริโภค เป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้ กับ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้ชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย ใครบ้างที่จะต้องเสียภาษี TAX? บุคคลที่มีรายได้จากค่าจ้าง เงินเดือน จะต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล VAT คืออะไร? VAT คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากผู้บริโภค เป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับกับผู้ซื้อ หรือ ผู้บริโภคเป็นผู้ชำระแทนผู้ขาย เงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิต และจำหน่ายสินค้า/บริการ ซึ่งจะรวมที่ผลิตภายในประเทศ และนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยจัดอยู่ในภาษีทางอ้อม จากข้อย่อยของ TAX ใครบ้างที่จะต้องเสียภาษี VAT?…