ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท

การยื่นภาษี คือ? การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน เพื่อให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและทันเวลา ผู้ที่ต้องยื่นภาษีในแต่ละประเภท จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทให้ชัดเจน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีให้ถูกต้อง ล้วนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนภาษีและการหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย การยื่นภาษีล่าช้าอาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับและดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถวางแผนการยื่นภาษีได้ง่ายและถูกต้องและเข้าใจช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น เราจะมาสรุปสั้นให้ฟังค่ะว่า ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีความแตกต่างกันและมีความสำคัญอย่างไร ทำไมช่วงเวลาในการยื่นภาษีจึงสำคัญ? หลีกเลี่ยงค่าปรับที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้าอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับ วางแผนทางการเงินเพื่อให้ผู้สียภาษีรู้กำหนดเวลาในการยื่นภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการยื่นภาษีตรงตามกำหนด อาจทำให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อช่วงเวลาในการยื่นภาษี ประเภทของภาษีแต่ละประเภทของภาษีจะมีกำหนดเวลาในการยื่นที่แตกต่างกัน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับนิติบุคคล กำหนดเวลาในการยื่นภาษีจะขึ้นอยู่กับรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทกำหนด การขยายเวลาในบางกรณี กรมสรรพากรอาจมีการประกาศขยายเวลาในการยื่นภาษีออกไป เนื่องจากเหตุจำเป็น เช่น ภัยธรรมชาติ หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบฯ กำหนดเวลาในการยื่นแบบฯ หมายเหตุ ภ.ง.ด.90 ม.ค. – มี.ค. ของปีถัดไป ใช้เสียภาษีเงินได้ประจําปีสําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2)-(8) แห่งประมวลรัษฎากรหรือมีเงินได้ฯ ตาม มาตรา 40(1) และ มาตรา…

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง อาจจะยังมีหลายคนสงสัยว่าบุคคลที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์เค้าเสียกันหรือป่าว ถ้าเสียภาษีแล้วประเภทภาษีของอาชีพฟรีมีอะไรบ้าง ในฐานะฟรีแลนซ์ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่นเดียวกับผู้มีรายได้ประจำทั่วไป โดยเงินได้ของคุณจะจัดอยู่ใน “เงินได้ประเภทที่ 2 ตามประมวลรัษฎากร หรือ “เงินได้มาตรา 40 (2)” ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นประชาชนคนไทยและมีรายได้ ทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้กับประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม ฟรีแลนซ์ หรือที่เค้าเรียกกันว่า อาชีพอิสระ เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง เลือกเวลาทำงาน เลือกสถานที่ทำงานเองได้ โดยไม่ต้องสังกัดองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่การเป็นฟรีแลนซ์นั้น ก็มาพร้อมกับ ภาระหน้าที่ ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ค่ะ ภาษีหลัก ที่ฟรีแลนซ์ต้องเสียมีดังนี้ ประเภทภาษี กรณีที่ต้องเสีย อัตราภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีรายได้จากการประกอบอาชีพ ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ภาษีธุรกิจเฉพาะ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เหมือนกับอาชีพทั่วไป โดยจะต้องเสียภาษี 2 รอบ ดังนี้…

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ ถ้าต้องพูดถึงการเสียภาษีในบ้านเรื่องนั้นมีภาษีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ภาษีประเภทนิติบุคคล,  ภาษีบุคคลธรรมดา, ภาษีป้าย, ภาษที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง,  ภาษีสรรพาสามิต, ภาษีศุลกากร, ภาษีอากรแสตมป์, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ นับเป็นอีกหนึ่งภาษีที่มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีจากเจ้าของกิจการที่ประกอบธุรกิจตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ภาษีประเภทนี้มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับภาครัฐ และยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจนั้นๆประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามหลักของกฎหมายอีกด้วย ผู้ประกอบการหน้าใหม่หลายๆธุรกิจที่ยังไม่รู้ว่า ภาษีธุรกิจเฉพาะคืออะไร แล้วทาง ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีแบบไหน และ มีกิจการประเภทใดบ้าง ประเภทของธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ ประเภทที่ 1: ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น การขายสินค้าทั่วไป การบริการ การขนส่ง หรือผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ประเภทที่ 2: ผู้ประกอบการm ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทที่ 3: ธุรกิจที่ต้องเสียภาษีในอัตรา 5% ของยอดขาย เช่น ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสวนสนุก ธุรกิจขายสุรา อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับแต่ละประเภทธุรกิจจะแตกต่างกันไป ดังนี้ กิจการธนาคาร:…

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจหรือยังสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 ว่าคืออะไร โดยตามกฎหมายแล้วกำหนดให้กลุ่มนิติบุคคล อาทิ เช่น (บริษัทจำกัด. ห้างหุ้นส่วนจำกัด. หรือ บริษัทมหาชน) ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล  สามารถยื่นภาษี ได้ 2 ช่วง คือ ช่วงกลางปี และช่วงปลายปี แต่จะยื่นแบบไหนเเละเริ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51กันค่ะว่า แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ภ.ง.ด 50 คืออะไร? ในการเสียภาษีเงินได้ปลายปีนั้น จะต้องใช้แบบกรอกข้อมูลที่เป็นฟอร์มของ ภ.ง.ด.50 และต้องเซ็นรับรองจากฝ่ายบัญชี หรือผู้ตรวจสอบบัญชี โดยแนบเอกสารงบการเงินต่างๆที่มีการเซ็นรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร โดยมีกำหนดให้ส่งแบบภายใน 150 วัน โดยใช้ช่องทางในการยื่นผ่าน Website ของกรมสรรพากร ช่องทาง  e-filing ตัวอย่างเช่น หากปิดงบ วันที่ 31 ธันวาคม ทางผู้ประกอบการจะต้องนำส่ง ภ.ง.ด.50…

ความต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล

ความต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธรรมดา หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ซึ่งรวมถึงเงินได้จากการประกอบอาชีพ เงินได้จากการจ้างทำ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจและวิชาชีพ เงินได้จากการประมง เงินได้จากเกษตรกรรม เงินได้จากค่าเช่า เงินได้จากเงินปันผล เงินได้จากดอกเบี้ย และเงินได้อื่นๆ ภาษีนิติบุคคล หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากนิติบุคคล ซึ่งรวมถึงบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน สมาคม มูลนิธิ และนิติบุคคลอื่นๆ ความแตกต่างระหว่างภาษีบุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล หัวข้อ 1.ผู้เสียภาษี 2.ประเภทของรายได้ 3.การเสียภาษี 4.อัตราภาษี 5.ค่าลดหย่อน 6.การยื่นแบบแสดงรายการภาษี     ภาษีบุคคลธรรมดา บุคคลทั่วไป เงินได้จากหลายแหล่ง เสียภาษีตามประเภทของรายได้ แบบก้าวหน้า สูงสุด 35% มีค่าลดหย่อนหลายประเภท ยื่นแบบแสดงรายการภาษีปีละ 1 ครั้ง ภาษีนิติบุคคล นิติบุคคล เงินได้จากการประกอบธุรกิจ เสียภาษีจากกำไรสุทธิ 20% มีค่าลดหย่อนน้อย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีปีละ 1 ครั้ง…

กรณียื่นภาษีช้า

ทำอย่างไรดี เมื่อยื่นภาษีช้า เราเชื่อว่าหลายคนคงถึงเวลาแล้วที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าอยู่ดีๆ บางครั้งเราอาจจะลืมการชำระเบี้ยเสียภาษีหรือเลยกำหนดเวลาในการชำระภาษีในเวลานั้น ไป แล้วเราควรทำอะไรต่อหลังจากนี้ถ้าเกิดเราดันลืมขึ้นมาจริงๆ หลายคนอาจเคยประสบปัญหา แต่รู้หรือไม่ว่าการยื่นภาษีล่าช้า ซึ่งส่งผลเสียตามมาหลายประการ วันนี้เราจะมาอธิบายถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากท่านยื่นภาษีล่าช้า และแนะนำวิธีแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงต่อบทลงโทษ ผลที่ตามมาของการยื่นภาษีช้า 1.ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น) ประเภท หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1,2,3,53,90,91,94 ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท ประเภท ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 , ภ.พ.36 ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท ส่วนของนิติบุคคล…