ภ.ง.ด. 53 คืออะไร?
“หลายๆคนอาจะยังสงสัยกันค่ะว่า ภ.ง.ด. 53 คืออะไร สำคัญอย่างไร และใช้ตอนไหนบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะว่าจริงๆแล้ว ภ.ง.ด. 53 คืออะไร”
ภ.ง.ด. 53 คือแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บุคคลหรือหน่วยงานที่จ่ายเงินให้กับผู้รับเงินที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา จะต้องทำการหักภาษีไว้ และยื่นแบบเพื่อชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ซึ่งตามกฎหมายไทยกำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินต้องเป็นผู้ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งกรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด
รายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่าย
การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 53 จะใช้เมื่อมีการจ่ายเงินในลักษณะดังนี้:
- ค่าบริการ เช่น ค่าโฆษณา ค่ารักษาความปลอดภัย หรือค่าที่ปรึกษา
- ค่าจ้างทำของ เช่น ค่าจ้างที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการ
- ค่าสิทธิ (Royalties) เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา
- ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินกำไรที่จ่ายให้นิติบุคคลอื่นหรือบุคคลธรรมดา
อัตราภาษี
ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะมีอัตราตั้งแต่ 1% – 5% ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ที่จ่าย เช่น
- ค่าบริการ อัตราหักภาษีอยู่ที่ 3%
- ค่าจ้างทำของ อัตราหักภาษีอยู่ที่ 3%
- ค่าสิทธิ อัตราหักภาษีอยู่ที่ 3%
- ดอกเบี้ย อัตราหักภาษีอยู่ที่ 1% เป็นต้น
ประเภทของรายได้ | อัตราเปอร์เซ็นต์ |
ค่าบริการ | 3 % |
ค่าจ้างทำของ | 3 % |
ค่าสิทธิ | 3 % |
ดอกเบี้ย | 1 % |
เงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ได้แก่
- เงินได้จากค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่านายหน้า การให้เช่าทรัพย์สินเช่น ที่ดิน,อาคาร, เครื่องจักร, รถยนต์ เป็นต้น
- เงินได้จากมาตรา 40 (8) เฉพาะกรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่นๆที่นอกเหนือจากนั้น
- เงินได้จากการประกันวินาศภัยเฉพาะกรณีที่จ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคล
- เงินได้จากการขนส่งซึ่งไม่รวมการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ
ผู้ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด 53 ต้องทำอย่างไรบ้าง
- หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้ ตามที่กฎหมายกำหนด
- ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย
- นำส่งภาษีที่ได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดเดือนที่มีการจ่ายเงิน
ช่องทางการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 53
- สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีในรูปแบบกระดาษได้ที่สำนักงานกรมสรรพากรในเขตพื้นที่นั้นๆ
- หรือสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีในเว็ปไซต์ของกรมสรรพากร ผ่านระบบ E-filing
บทลงโทษ
หากผู้จ่ายเงินไม่ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 53 ภายในเวลาที่กำหนด จะมีการเรียกเก็บค่าปรับไม่เกิน 200,000 บาท จำคุกไม่เกินหนึ่งปี และอาจถูกเรียกดอกเบี้ยในกรณีที่ล่าช้า
ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่จะชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว
ภ.ง.ด. 53 คือเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายเงินให้กับนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ให้บริการต่าง ๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่จ่ายเงินต้องดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันการเสียค่าปรับและดอกเบี้ยเพิ่มเติม