ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
ในยุคที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆและเทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านี้ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน นับเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย สื่อโซเชียลมีเดียก็กลายเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับทั้งบุคคลทั่วไปและธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดียไม่ได้เป็นเพียงแค่ช่องทางในการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลอีกต่อไป แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังในการสร้างแบรนด์ สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี และช่วยให้การขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปในทิศทางที่ยั่งยืนมั่นคงอีกด้วย
บทบาทสำคัญของสื่อโซเชียลมีเดียต่อธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ
- ช่องทางการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสื่อโซเชียลมีเดียช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แนะนำสินค้า หรือบริการ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า
- สร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ของธุรกิจสามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและจดจำได้ผ่านการโพสต์เนื้อหาที่น่าสนใจ สร้างสรรค์ และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
- เพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ในส่วนของสื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการโปรโมตสินค้าและบริการ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลและตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
- วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค สื่อโซเชียลมีเดียมีเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างละเอียด ทำให้สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
- สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถสร้างความแตกต่างและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งได้
“สื่อโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ให้เติบโตและประสบความสำเร็จ ธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัลจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ และติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ”
“แต่อย่าลืมนะคะว่าการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะอยู่ในช่องทางไหนทุกๆธุรกิจที่มีเงินได้ทุกประเภทย่อมมีหน้าที่ในการรับภาระหน้าที่ในการเสียภาษีจำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในทุกๆเดือน ตามกฎของกรมสรรพากรที่ได้กำหนดไว้ในเงินได้แต่ละเภทนั้นๆ”
ธุรกิจออนไลน์จะต้องเสียภาษี 2 ประเภทหลัก คือ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาต้องเสียจากเงินได้ทุกประเภท รวมถึงเงินได้จากการขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ด้วย โดยอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ
ระยะเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ?
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
อัตราภาษีเงินได้แต่ละประเภท
อัตราภาษีเงินได้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ และจำนวนเงินได้ที่ได้รับ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลทั่วไป เช่น พนักงานบริษัท ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ หรือ นักลงทุน
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล: คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคล เช่น บริษัทมหาชน จำกัด บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน จำกัด
การคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
- เงินได้จากการทำงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส
- เงินได้จากการประกอบธุรกิจ เช่น กำไรจากการขายสินค้าหรือบริการ
- เงินได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขายหลักทรัพย์
- เงินได้อื่นๆ เช่น เงินรางวัล เงินชดเชย
การคำนวณภาษีเงินได้
การคำนวณภาษีเงินได้ อาจมีความซับซ้อน โดยขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ และค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้ อย่างไรก็ตาม หลักการโดยทั่วไปคือ นำเงินได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีในแต่ละขั้นบันได แล้วคำนวณภาษีที่ต้องชำระ
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้
- หาเงินได้สุทธินำเงินได้ทั้งหมดมาหักค่าใช้จ่ายที่กฎหมายอนุญาตให้หักได้
- คำนวณภาษีเช่นการนำเงินได้สุทธิมายึดตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้
- หักค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนผู้สูงอายุ
- **ชำระภาษีที่คำนวณได้
ตารางเปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ปีภาษี 2567)
ตัวอย่าง เช่น
สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 40,000 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 480,000 บาท
ขั้นตอนแรก : นำมาหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมา 50% ของจำนวนเงินที่ได้พึงประเมินไม่เกิน 100,000 บาท* (480,000 – 100,000 = 380,000 บาท)
ขั้นตอนที่สอง : หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท + หักเงินสะสมกองทุนประกันสังคมรวมทั้งปี 9,000 บาท
(380,000 – 60,000 – 9,000 = 311,000 บาท)
ขั้นตอนที่สาม : นำจำนวนเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษี จากตาราง 150,000 บาทแรกได้รับการยกเว้น
(311,000 – 150,000 = 161,000 บาท)
และนำเงินส่วนต่างที่เหลือ มาคูณอัตราภาษี 5% ในตารางอัตราภาษีขั้นที่ 2
(161,000 X 5% = 8,050 บาท)
ดังนั้น เงินภาษีที่จะต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากร เท่ากับ 8,050 บาทถ้วน
การยื่นแบบแสดงรายการภาษี
การยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย และภาษีที่ต้องชำระ ให้กับกรมสรรพากร
ช่องทางในการยื่นภาษี
วิธีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีอย่างถูกต้องในปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางให้เลือกใช้ โดยแต่ละช่องทางจะมีข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ ขนาดธุรกิจ และความสะดวกของผู้ประกอบการเอง เป็นต้น
กรณีถ้าเป็นบุคคลธรรมดา
สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีแบบกระดาษได้ที่กรมสรรพากรในพื้นที่นั้นๆ หรือสามารถยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านระบบ e-filing ของกรมสรรพากร
- ผ่านโปรแกรม RD Smart Tax
- ผ่าน e-Filing
กรณีถ้าเป็นนิติบุคคล
สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีแบบกระดาษได้ที่กรมสรรพากรได้โดยตรงที่กรมสรรพากรในเขตพื้นที่นั้นๆ
หรือสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีในรูปแบบอิเล็กนิกส์โดยออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางผู้ให้บริการระบบ etax invoice (ใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์) ผู้เสียภาษีสามารถนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ etax invoice&e-receipt ใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในระบบงานเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง