ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2568

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2568 กลับมาอีกครั้งอย่างเป็นทางการกับโครงการดี ๆ จากภาครัฐ กับโครงการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 2568 หรือช้อปดีมีคืนที่หลาย ๆ คนเคยได้ยินกันนั้นเองค่ะ และในบทความนี้จะพามาดู ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2568 จะมีอะไรกันบ้างติดตามได้ที่บทความนี้เลยค่ะ โครงการ Easy e-Receipt 2568 เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย โดยให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ โดยมีเงื่อนไข และ รายละเอียดดังนี้ ระยะเวลาโครงการ 16 มกราคม 2568 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 วงเงินลดหย่อนภาษี สูงสุด 50,000 บาท แบ่งเป็น สินค้าและบริการทั่วไป สูงสุด 30,000 บาท (รวมถึงแพ็คเกจทัวร์ โรงแรม และที่พัก) สินค้าจากวิสาหกิจชุมชน (OTOP) สูงสุด 20,000 บาท เงื่อนไขสำคัญโครงการ EASY…

เตรียมพร้อมก่อนกลับมาของ มาตรการ Easy e-Receipt ปี68

มาเเน่! Easy e-Receipt ปี68 เตรียมความพร้อมสำหรับการกลับมาอีกครั้งกับมาตรการจากทางภาครัฐอย่าง โครงการ Easy e-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 50,000 บาท คาดการณ์ว่าเริ่มต้นโครงการ ช่วงมกราคม 2568 ซึ่งโดยโครงการ Easy e-Receipt เป็นมาตรการลดหย่อนภาษีที่กรมสรรพากรจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายภายในประเทศ และสนับสนุนการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ค่ะ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับกับโครงการ Easy e-Receipt สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2568 (ยื่นแบบแสดงรายการภาษีในปี 2569) ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง หักลดหย่อนสูงสุดได้ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ต้องเป็นการซื้อสินค้าและบริการ ภายในประเทศไทย และออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ เป็นผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สินค้าและบริการที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อน สามารถใช้สิทธิได้เฉพาะร้านค้าหรือบริการที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ Etax invoice & e-Receipt เท่านั้น ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์…

การจัดการภาษี เทคโนโลยีช่วยให้จัดการง่ายขึ้นอย่างไร?

เทคโนโลยีที่ช่วยให้ การจัดการภาษี ง่ายขึ้น ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกด้านของชีวิตประจำวัน การจัดการภาษี ซึ่งเคยเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและใช้เวลาอย่างมาก ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลข้อมูลแบบอัตโนมัติ การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถสูง หรือแม้แต่ระบบคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทั้งหมดนี้ช่วยให้การบริหารจัดการภาษีง่ายขึ้นสำหรับทั้งบุคคลและธุรกิจ บทความนี้จะสำรวจเทคโนโลยีหลักที่ช่วยให้การจัดการภาษีสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1. ซอฟต์แวร์ หนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดคือซอฟต์แวร์การจัดการภาษี เช่น QuickBooks, Xero, หรือ SAP ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยบุคคลและธุรกิจในการคำนวณภาษี การยื่นภาษี และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ระบบเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารเพื่อนำเข้าข้อมูลทางการเงินโดยอัตโนมัติ ช่วยลดข้อผิดพลาดในการกรอกข้อมูล นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์การแจ้งเตือนกำหนดเวลาชำระภาษี และการจัดทำรายงานเพื่อการตรวจสอบย้อนหลัง ทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการพลาดกำหนดการหรือการเสียค่าปรับที่ไม่จำเป็น 2. ระบบการยื่นภาษีออนไลน์ (E-Filing) ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย การยื่นภาษีออนไลน์หรือระบบ e-Filing ได้กลายเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากช่วยลดขั้นตอนการจัดการเอกสารแบบเดิม และเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานกรอกแบบฟอร์มและส่งข้อมูลได้ในไม่กี่นาที ระบบยังมีฟังก์ชันการคำนวณอัตโนมัติและการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบื้องต้น ช่วยลดเวลาและความซับซ้อน 3. การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ระบบคลาวด์ช่วยให้ธุรกิจสามารถเก็บข้อมูลภาษีทั้งหมดในที่เดียวและเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา ผู้ใช้งานสามารถแชร์ข้อมูลกับนักบัญชีหรือทีมงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างง่ายดายผ่านระบบออนไลน์ ข้อดีของการใช้ระบบคลาวด์คือความปลอดภัยของข้อมูล การป้องกันการสูญหายของเอกสาร และความยืดหยุ่นในการขยายระบบเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถสำรองข้อมูลและกู้คืนได้ในกรณีฉุกเฉิน 4. การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)…

ยื่นภาษีนิติบุคคลครั้งเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง

ยื่นภาษีนิติบุคคลครั้งเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง ถ้าพูดถึงการดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่สำคัญมากหลายประการ หนึ่งในนั้น คือ การจัดการภาษี ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาที่ต้องยื่นภาษีครั้งแรก ผู้ประกอบการนิติบุคคลจะต้องให้ความสำคัญกับการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงการนำ “ภาษีขาย” มาใส่ในแบบฟอร์มการยื่นแบบให้ครบถ้วน บทความนี้เรามาพูดถึงเรื่องของการ ยื่นภาษีนิติบุคคลครั้งเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง กันค่ะ หลังจากที่นิติบุคคลจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีแล้ว จำเป็นต้องดำเนินการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง ดังนี้: การยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากสิ้นสุด 6 เดือนแรกของรอบบัญชี โดยคำนวณจากประมาณการกำไรสุทธิครึ่งปี หากไม่ยื่นหรือยื่นล่าช้า อาจถูกปรับหรือเสียเบี้ยปรับตามกฎหมาย การยื่นภาษีประจำปี (ภ.ง.ด.50) ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากสิ้นสุดรอบบัญชี 12 เดือน เช่น หากรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ต้องยื่นภายในวันที่ 30 พฤษภาคมของปีถัดไป . ภาษีขายคืออะไร? ภาษีขายเป็นส่วนหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ธุรกิจเรียกเก็บจากลูกค้าเมื่อขายสินค้า หรือให้บริการในแต่ละธุรกรรม ตัวเลขนี้ไม่ใช่รายได้ของธุรกิจ แต่เป็นหน้าที่ที่ธุรกิจต้องเก็บไว้เพื่อส่งต่อให้กับกรมสรรพากรในภายหลัง…

รายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่?

รายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่? หลายคนอาจกำลังสงสัยว่า รายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่? หรือ มีรายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีมั้ยนะ? ซึ่งการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด การรู้ว่ารายได้ของเรานั้นต้องเสียภาษีเท่าไหร่ สามารถช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  1. รายได้ที่ต้องเสียภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ของผู้มีรายได้ในประเทศ ซึ่งรายได้ที่ต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็น 8 ประเภทตามกฎหมาย โดยประเภทที่พบบ่อย ได้แก่ รายได้จากการทำงานประจำ (เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส) รายได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัว รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน หรือยานพาหนะ รายได้จากการขายทรัพย์สิน เช่น หุ้น บ้าน หรือที่ดิน รายได้จากดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากการลงทุน 2. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีของบุคคลธรรมดาในประเทศไทยเป็นแบบขั้นบันได กล่าวคือ ยิ่งมีรายได้สูง อัตราภาษีจะยิ่งเพิ่มขึ้น โดยอัตราภาษีจะมีทั้งหมด 7 ขั้น ได้แก่ รายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ไม่เสียภาษี รายได้สุทธิเกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกิน 300,000 บาท…

ใบเสร็จหาย ทำอย่างไรได้บ้าง?

ใบเสร็จหาย ทำอย่างไรได้บ้าง? “ทุกคนเคยเป็นกันมั้ยคะ เวลาที่เราไปซื้อของหรือชำระค่าอะไรก็แล้วแต่!! บางทีก็เผลอทิ้งบิลไปหรือเก็บไว้ แต่!! จำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆมาช่วยให้คนขี้ลืมแบบเราๆ หายกังวลกับการที่จะต้องมาเก็บใบเสร็จแล้วหาไม่เจอ หรือ ใบเสร็จหาย เพื่อให้สะดวกต่อผู้ใช้งานมาฝากกันค่ะ” ในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ ระบบ e-Tax Invoice หรือระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยยกระดับการจัดการเอกสารทางการเงินขององค์กรให้สะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัล ระบบ e-Tax Invoice คือการจัดการใบกำกับภาษีในรูปแบบดิจิทัลที่ได้รับการรับรองโดยกรมสรรพากร ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดทำ ส่ง และจัดเก็บเอกสารภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ใบเสร็จหาย ต้องทำอย่างไร? แม้ว่าการใช้ e-Tax Invoice จะลดโอกาสในการสูญหายของเอกสาร แต่หากเกิดกรณีบิลสูญหายหรือไม่สามารถเข้าถึงได้ สามารถแก้ไขได้ดังนี้: แจ้งผู้ที่ออกบิล ติดต่อผู้ที่ออก e-Tax Invoice เพื่อขอสำเนาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ซึ่งในระบบดิจิทัลสามารถออกสำเนาได้อย่างรวดเร็ว เข้าระบบเพื่อดาวน์โหลดเอกสารอีกครั้ง หากผู้ใช้งานมีบัญชีในระบบที่จัดเก็บ e-Tax Invoice เช่น ระบบของกรมสรรพากร หรือระบบ ERP ขององค์กร สามารถดาวน์โหลดเอกสารที่ต้องการได้ทันที เก็บหลักฐานการร้องขอในกรณีที่ต้องใช้เอกสารแทนบิลที่สูญหาย เช่น สำเนา หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากระบบ…

เตรียมความพร้อม ก่อนการกลับมาEasy e-Receipt ปี 2568 ลดหย่อนภาษี

เตรียมพร้อมก่อนกลับมาของมาตรการ Easy e-Receipt ปี 2568 เริ่มเเรกเราไปทำความเข้าใจของรายละเอียดของมาตรการ Easy e-Receipt ของปี 2567 เพื่อเตรียมความพร้อมในปี 2568 ที่จะถึงนี้กันค่ะ Easy e-Receipt คืออะไร? Easy e-Receipt เป็นโครงการจากทางภาครัฐเพื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรายละเอียดของปี 2567 มีเงื่อนไขว่าบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ สามารถใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดหย่อนภาษีในปี 2567 โดยสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท และไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีแบบกระดาษได้ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2568 มาตรการนี้จะกลับมา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เรามาศึกษารายละเอียดเเละเงื่อนไขกันอีกรอบค่ะ โดยค่าใช้จ่ายที่นำมาหักลดหย่อนได้ มีดังนี้ค่ะ ค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ เช่น ค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร ค่าเดินทาง หรือค่าสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและพัฒนาทักษะ เช่น ค่าเรียนหรือค่าสัมมนาต่างๆ มาตรการ Easy e-Receipt เป็นแนวทางที่ภาครัฐผลักดันเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการใบเสร็จจากระบบกระดาษไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร บริษัท หรือ…

รายการลดหย่อนภาษีปี 2567 เตรียมพร้อมยื่นปี 2568

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2567 สำหรับยื่นภาษีต้นปี 2568 สรุปรวมวิธีการลดหย่อนภาษี กับรายการลดหย่อนภาษีปีภาษี 2567 ว่ามีอะไรบ้างมาดูเนื้อหากันเลยค่ะ การเตรียมตัวยื่นภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนในปี 2567 ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับ แต่ยังช่วยให้คุณสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่ ต่อไปนี้คือขั้นตอนและคำแนะนำที่สำคัญในการเตรียมตัว มีดังนี้ค่ะ 1.รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการกรอกยื่นภาษี รายได้: รวบรวมเอกสารแสดงรายได้ทั้งหมด เช่น ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) หรือเอกสารรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าจ้าง โบนัส ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ ค่าใช้จ่าย: เก็บใบเสร็จหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้ลดหย่อนได้ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาท คู่สมรส (ไม่มีรายได้): 60,000 บาท บุตร (อายุไม่เกิน 20 ปี): 30,000 บาท/คน การลงทุน: ตรวจสอบเอกสารการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม…

ความเเตกต่างของ ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53

ความเเตกต่างของ ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53 การทำความเข้าใจเรื่องการยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53 เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย เพราะช่วยให้สามารถดำเนินการทางภาษีอย่างถูกต้องและป้องกันปัญหาทางกฎหมายได้ ภ.ง.ด. 3 คืออะไร ภ.ง.ด. 3 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย) ที่เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากบุคคลธรรมดา เช่น ค่าแรง ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าจ้างทำของ, เงินรางวัล ที่เกิดขึ้นในธุรกิจ โดยใช้ในการหักภาษีจากผู้รับเงินที่เป็นบุคคลธรรมดาและยื่นต่อกรมสรรพากร เป็นต้น ลักษณะการใช้งาน ผู้มีหน้าที่ใช้แบบ ภ.ง.ด. 3: ใช้โดยบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จ่ายรายได้ให้บุคคลธรรมดาแล้วมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กำหนด ตัวอย่างรายได้ที่หักภาษี: ค่าแรง ค่าจ้าง ค่าบริการ…

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ vs. ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ต่างกันอย่างไร?

ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ vs. ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ต่างกันอย่างไร การเปรียบเทียบต้นทุนในการออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) และใบกำกับภาษีแบบกระดาษ มีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะในด้านต้นทุนทางธุรกิจ ความสะดวกสบาย และประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล ซึ่งแต่ละวิธีมี ข้อดี และค่าใช้จ่ายต่างกัน เรามาดูการเปรียบเทียบระหว่าง ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ vs. ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ต่างกันอย่างไร ? เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้กันค่ะ 1. ต้นทุนการออกใบกำกับภาษี ต้นทุนการออกใบกำกับภาษี แบบกระดาษ ใบกำกับภาษีแบบกระดาษมีต้นทุนหลายประการที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้นทุนการพิมพ์ และการจัดเก็บเอกสาร: ต้องมีการพิมพ์ใบกำกับภาษีออกมาเป็นกระดาษ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในส่วนของกระดาษ หมึกพิมพ์ และการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ ทั้งยังต้องมีการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้เมื่อจำเป็น ต้นทุนการจัดการข้อมูล และเวลาในการทำงาน: เนื่องจากใบกำกับภาษีแบบกระดาษต้องใช้เวลามากขึ้นในการจัดเตรียมเอกสาร และการจัดการเอกสาร อาจมีข้อผิดพลาดได้ง่ายกว่าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง และส่งมอบเอกสาร: การจัดส่งใบกำกับภาษีทางไปรษณีย์ หรือ พนักงานจัดส่งของบริษัท ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งอาจเพิ่มภาระให้กับธุรกิจ ต้นทุนการออกใบกำกับภาษี แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ…