ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย คืออะไร?

ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย คืออะไร ภาษีซื้อ และ ภาษีขาย เป็นคำศัพท์ที่เราได้ยินกันบ่อยในแวดวงธุรกิจและการเงิน แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงและความแตกต่างระหว่างทั้งสองอย่าง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้กระจ่างกันค่ะ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้ในกรณีไหนได้บ้างคะ ภาษีซื้อ คืออะไร คือภาษีที่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการต้องชำระให้กับหน่วยงานรัฐในขณะทำการซื้อ โดยทั่วไปแล้ว ภาษีนี้จะถูกบวกเข้าไปในราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อ และผู้ขายจะมีหน้าที่ในการรวบรวมภาษีนี้เพื่อนำส่งให้กับรัฐบาล ภาษีผู้ซื้อมักถูกนำไปใช้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งเป็นระบบภาษีที่มีการเรียกเก็บในหลายประเทศ โดยผู้ซื้อจะต้องชำระ VAT ในอัตราที่กำหนดเมื่อทำการซื้อสินค้าหรือบริการ และผู้ขายจะต้องออกใบเสร็จรับเงินที่ระบุจำนวน VAT ที่ชำระไปด้วย การเก็บภาษี ผู้ซื้อช่วยให้รัฐบาลมีรายได้สำหรับการพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และการดูแลสังคม ภาษีซื้อช่วย หรือ การใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในการกระจายรายได้และสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยการใช้ภาษีในการสนับสนุนโครงการพัฒนาที่มีประโยชน์ต่อสังคม ระบบภาษีที่ถูกต้องช่วยให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม โดยการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการจ่ายของผู้ซื้อ ผู้ขายสามารถนำภาษีซื้อที่จ่ายไปแล้วมาใช้ในการลดภาษีขาย (VAT) ที่ต้องชำระให้กับรัฐ ซึ่งช่วยกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจ รวมไปถึง Etax invoice & e-receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ การเรียกเก็บภาษี จากสินค้าหรือบริการบางประเภทอาจช่วยควบคุมการบริโภค เช่น การเก็บภาษี…

ความเเตกต่าง Commercial Invoice กับ Proforma Invoice

ความเเตกต่าง Commercial Invoice กับ Proforma Invoice ทุกคนสงสัยกันไหมคะว่า Commercial Invoice กับ Proforma Invoice คือเอกสารตัวเดียวกันหรือเปล่า Proforma Invoice (ใบเเจ้งราคา) Proforma Invoice คืออะไร เอกสารที่ออกโดยผู้ขายเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริการ ที่เสนอขาย โดยไม่ใช่ใบแจ้งหนี้ที่เป็นทางการ เอกสารนี้มักจะใช้เพื่อแสดงรายละเอียดเป็นข้อมูลเบื้องต้น เช่น ราคา จำนวน และเงื่อนไขการขายก่อนที่การทำธุรกรรมจะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อลูกค้าหรือผู้ซื้อยอมรับในเงื่อนต่าง ๆ ก็จะทำการเปิดสั่งซื้อสินค้าโดยอ้างอิงเลขที่และวันที่ของ Proforma Invoice วันนั้น โดยปกติแล้วลูกค้าจะต้องดูข้อมูลว่าถูกต้องหรือไหม ดังนั้น Proforma Invoice คือเอกสารเสนอขายและเป็นเอกสารทำการตกลงระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ นั่นเองค่ะ Proforma Invoice สำคัญอย่างไร เป็นเอกสารที่ใช้ในการเสนอราคาสินค้า และเงื่อนไขการขายก่อนการตัดสินใจซื้อช่วยให้ผู้ขายและผู้ซื้อเข้าใจถึงข้อมูลสินค้า ข้อมูลราคาสินค้า การวางแผนงบประมาณ และบริการการจัดเตรียมเอกสารข้อมูล ในกรณีของการนำเข้าสินค้า Proforma Invoice อาจถูกใช้เพื่อขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าหรือการขอเงินกู้จากธนาคาร Proforma Invoice จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำธุรกรรม…

ภ.ง.ด. 53 คืออะไร?

ภ.ง.ด. 53 คืออะไร? “หลายๆคนอาจะยังสงสัยกันค่ะว่า ภ.ง.ด. 53 คืออะไร สำคัญอย่างไร และใช้ตอนไหนบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะว่าจริงๆแล้ว  ภ.ง.ด. 53 คืออะไร” ภ.ง.ด. 53 คือแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บุคคลหรือหน่วยงานที่จ่ายเงินให้กับผู้รับเงินที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา จะต้องทำการหักภาษีไว้ และยื่นแบบเพื่อชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ซึ่งตามกฎหมายไทยกำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินต้องเป็นผู้ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งกรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด รายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่าย การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 53 จะใช้เมื่อมีการจ่ายเงินในลักษณะดังนี้: ค่าบริการ เช่น ค่าโฆษณา ค่ารักษาความปลอดภัย หรือค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ เช่น ค่าจ้างที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการ ค่าสิทธิ (Royalties) เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินกำไรที่จ่ายให้นิติบุคคลอื่นหรือบุคคลธรรมดา อัตราภาษี ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะมีอัตราตั้งแต่ 1% – 5% ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ที่จ่าย…

ธุรกิจMulti-level Marketing (MLM) หรือ ธุรกิจขายตรง เสียภาษียังไง

ธุรกิจMulti-level Marketing (MLM) หรือ ธุรกิจขายตรง เสียภาษียังไง ธุรกิจ Multi-level Marketing (MLM) หรือ Direct Selling (ขายตรง)ในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทั่วไป เช่นเดียวกับธุรกิจประเภทอื่น ๆ โดยภาษีที่เกี่ยวข้องและวิธีการเสียภาษีมีดังนี้ เจ้าของธุรกิจประเภทนี้ต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับทางสำนักงานกรมสรรพากร ธุรกิจ MLM หรือ Direct Selling ที่จดทะเบียน VAT จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าในอัตรา 7% ของราคาสินค้าหรือบริการ ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 (แบบยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทุกเดือน 2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) หากธุรกิจ MLM จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ (หลังจากหักค่าใช้จ่าย)…

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

3 ประเภทภาษีหลัก ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ Franchise ควรรู้ ถ้าต้องพูดถึงเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการนำแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมาขยับขยายธุรกิจ แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มักสงสัยคือ ภาษี ที่ต้องเสีย มีอะไรบ้าง? และต้องเสียภาษีอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจเรื่องภาษีสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างชัดเจนมากชึ้น สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ จะมีประเภทไหนบ้าง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเสียภาษีหลายประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ได้แก่ 1. ฝ่ายเจ้าของแฟรนไชส์ (franchiser) คือ ภาษีเงินได้สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ซึ่งโดยเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการให้สิทธิ์การใช้แบรนด์ ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากเจ้าของแฟรนไชส์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากมีรายได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ภาษีอื่นๆ: อาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย เป็นต้น 2.…

ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร

ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการปรับปรุงยอดเงินที่ต้องชำระในธุรกรรมทางการค้า โดยมักเกี่ยวข้องกับการออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice) และการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เอกสารทั้งสองประเภทนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในธุรกิจ เพื่อปรับแก้ไขการทำธุรกรรมที่มีข้อผิดพลาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงในข้อตกลง ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) คือ เอกสารที่ออกเมื่อมีการเพิ่มราคาสินค้าหรือบริการ เนื่องจากสินค้าหรือบริการที่ส่งมอบไปนั้น “เกินกว่า” จำนวนที่ตกลงซื้อขายกันไว้ หรือให้บริการ “เกินกว่า” ข้อกำหนดที่ตกลงกัน (ส่งมอบเกิน) เหตุผลที่ต้องออก: คำนวณราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ “ต่ำกว่า” ที่เป็นจริง (คำนวณเงินขาด) มีการเพิ่มปริมาณสินค้าหรือบริการที่ส่งมอบให้ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบกำกับภาษีเดิม เช่น ค่าขนส่ง ค่าติดตั้ง ผลกระทบ: ทำให้ยอดเงินที่ต้องชำระเพิ่มขึ้น ใบลดหนี้ (Credit Note) คือ เอกสารที่ออกเพื่อลดหนี้ให้กับลูกค้า โดยจะออกเมื่อมีการส่งสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า และได้ทำการออกใบกำกับภาษีแก่ลูกค้าเรียบร้อย แต่ต่อมาได้เกิดปัญหาขึ้น เช่น สินค้าหรือบริการ ได้รับไม่ครบถ้วน สินค้าเสียหาย ไม่ตรงตามที่ได้ตกลงกันไว้ มีการส่งสินค้าคืน เหตุผลที่ต้องออก: เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือปรับปรุงยอดเงินที่ต้องชำระให้ถูกต้อง เมื่อลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการไม่ครบถ้วนตามที่สั่งซื้อ เมื่อสินค้าหรือบริการที่ได้รับมีคุณภาพไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อมีการตกลงกันที่จะลดราคาสินค้าหรือบริการ ผลกระทบ: ทำให้ยอดเงินที่ต้องชำระลดลง…

ใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต่างกันอย่างไร

ใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร เอกสารใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี แต่มีหน้าที่และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น 1. ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) วัตถุประสงค์ คือ ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงมูลค่าสินค้าหรือบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ผู้ซื้อต้องชำระ ผู้จัดทำ : ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รายละเอียดข้อมูลที่ระบุ เช่น  ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อและผู้ขาย รายละเอียดสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย จำนวนเงินรวม / ราคา ภาษีมูลค่าเพิ่ม วันที่ออกใบกำกับภาษี ความสำคัญ เช่น  เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  ใช้เป็นหลักฐานในการเบิกค่า ใช้จ่ายทางภาษีของผู้ซื้อ ใช้ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax Certificate) วัตถุประสงค์ คือ ใช้สำหรับพื่อแสดงจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายให้แก่บุคคลอื่น เช่น …

เรื่องภาษีที่ผู้ประกอบการร้านทองควรรู้

เรื่องภาษีที่ผู้ประกอบการร้านทองควรรู้ การประกอบธุรกิจร้านทองนั้นเกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องและวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านทองกันค่ะว่า ประเภทภาษีนั้นสำคัญอย่างไรและมีอะไรบ้าง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านทอง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้จากการประกอบธุรกิจโดยผู้ประกอบการร้านทองจะต้องนำรายได้จากการขายทองรูปพรรณ ค่ากำเหน็จ ค่าหลอมทองเก่า มาคำนวณภาษีเงินได้ และ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจได้ เช่น ค่าเช่า ค่าจ้าง ค่าซื้อทองคำ ฯลฯ อัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับฐานภาษีที่คำนวณได้ หากในกรณีหากผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรที่ได้จากการขายทองคำ โดยมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีเงินได้นิติบุคคล หากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิของกิจการกำไรสุทธิคำนวณจากรายได้ทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามที่กฎหมายกำหนดอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับระดับของกำไรสุทธิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายทองคำหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและผู้ประกอบการจะต้องนำส่งให้กรมสรรพากร สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับทองคำ เช่น การขายทองรูปพรรณใหม่ การหลอมทองเก่า จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น การเรียกเก็บ VATผู้ประกอบการร้านทองต้องเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อในอัตรากำหนด สินค้าที่ต้องเสีย VATได้แก่ ทองรูปพรรณใหม่ ค่ากำเหน็จ ค่าหลอมทองเก่า ภาษีธุรกิจเฉพาะ หากในบางกรณี เช่น การรับจำนำ การให้กู้ยืมเงิน อาจต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มเติมอัตราภาษีและเงื่อนไขการเสียภาษีจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ การรับจำนำในกรณีหากมีการประกอบธุรกิจรับจำนำ…

ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ในยุคที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆและเทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านี้ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน นับเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย สื่อโซเชียลมีเดียก็กลายเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับทั้งบุคคลทั่วไปและธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดียไม่ได้เป็นเพียงแค่ช่องทางในการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลอีกต่อไป แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังในการสร้างแบรนด์ สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี และช่วยให้การขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปในทิศทางที่ยั่งยืนมั่นคงอีกด้วย บทบาทสำคัญของสื่อโซเชียลมีเดียต่อธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ช่องทางการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสื่อโซเชียลมีเดียช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แนะนำสินค้า หรือบริการ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า สร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ของธุรกิจสามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและจดจำได้ผ่านการโพสต์เนื้อหาที่น่าสนใจ สร้างสรรค์ และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย  เพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ในส่วนของสื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการโปรโมตสินค้าและบริการ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลและตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค สื่อโซเชียลมีเดียมีเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างละเอียด ทำให้สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถสร้างความแตกต่างและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งได้ “สื่อโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ให้เติบโตและประสบความสำเร็จ ธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัลจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ และติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ”“แต่อย่าลืมนะคะว่าการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะอยู่ในช่องทางไหนทุกๆธุรกิจที่มีเงินได้ทุกประเภทย่อมมีหน้าที่ในการรับภาระหน้าที่ในการเสียภาษีจำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในทุกๆเดือน ตามกฎของกรมสรรพากรที่ได้กำหนดไว้ในเงินได้แต่ละเภทนั้นๆ” ธุรกิจออนไลน์จะต้องเสียภาษี 2 ประเภทหลัก คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่บุคคลธรรมดาต้องเสียจากเงินได้ทุกประเภท รวมถึงเงินได้จากการขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ด้วย โดยอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ ระยะเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี คือ? ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม:…

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง

อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง การเริ่มต้นธุรกิจเป็นความฝันของหลายๆ คน แต่การจะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่แค่เพียงไอเดียที่ดีและความมุ่งมั่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเข้าใจในกฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การเป็นเจ้าของกิจการนั้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบมากมาย หลายๆเรื่องซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องให้ความสำคัญ หากคุณกำลังวางแผนที่จะเปิดธุรกิจ หรือกำลังดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องภาษีที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการได้ดียิ่งขึ้น ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่องภาษี? การทำธุรกิจไม่ใช่แค่เรื่องของการสร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากไม่เข้าใจเรื่องภาษี อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น การถูกปรับ หรือการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของภาษีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการทุกคน ภาษีที่ผู้ประกอบการควรทราบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลหากคุณจดทะเบียนธุรกิจเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด คุณต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการ หากธุรกิจของคุณมีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเรียกเก็บภาษีจากลูกค้า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่หักจากเงินได้ที่จ่ายให้บุคคลอื่น เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ คุณต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการบางประเภท เช่น กิจการโรงแรม ร้านอาหาร ภาษีสรรพสามิต…