6 ประเภทภาษี ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ควรรู้

ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME ธุรกิจ SME เป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทย มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างการจ้างงาน อย่างไรก็ดี ธุรกิจ SME จำเป็นต้องเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ  ภาษี เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะ ธุรกิจ SME ที่อาจไม่มีทีมบัญชีหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกใบกำกับภาษีมาช่วยดูแล บทความนี้จึงรวบรวมภาษีหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME มาอธิบายให้เข้าใจง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวและจัดการภาษีอย่างถูกต้อง ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME มีดังนี้ 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ บุคคลธรรมดา : ธุรกิจ SME ในรูปแบบนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจ SME ที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บุคคลธรรมดา: สำหรับเจ้าของกิจการที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ของธุรกิจ โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้ นิติบุคคล: สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของธุรกิจ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT):…

พร้อมเพย์(Promptpay) คือจุดเริ่มต้นของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์

รู้หรือไม่ !? พร้อมเพย์ คือจุดเริ่มต้นของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในยุคดิจิทัลที่การทำธุรกรรมออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ ประชาชนเริ่มคุ้นเคยกับการใช้พร้อมเพย์เพื่อโอนเงิน จ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ แทนการใช้เงินสด  หลายคนอาจไม่ทราบว่า พร้อมเพย์ นั้น นอกจากจะเป็นระบบการชำระเงินที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการปูทางสู่อนาคตของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมเพย์ (Promptpay) เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic tax system) เพราะช่วยให้ กรมสรรพากร สามารถโอนเงินคืนภาษีให้กับผู้เสียภาษีได้โดยตรง ผ่านหมายเลขประจำตัวประชาชน (เลข 13 หลัก) สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยไม่ต้องรอเช็คประชาชน สามารถตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีออนไลน์ได้สะดวก โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากร พร้อมเพย์ คือบริการโอนเงินและรับเงินแบบทันที ที่ใช้หมายเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ (หรือหมายเลขอื่นของผู้รับ) แทนเลขที่บัญชีธนาคาร ผ่านช่องทางดิจิทัล โดยเสียค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าการทำธุรกรรมในอดีต ถ้าหากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนหน้า กรมสรรพากรเริ่มริเริ่มระบบ พร้อมเพย์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้สะดวกรวดเร็ว ย่นระยะเวลาการรอคอย และลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก โดยประชาชนสามารถรับเงินคืนภาษีผ่านบัญชีธนาคารที่ผูกกับบัตรประชาชน ต่อมาในปัจจุบัน  กรมสรรพากรได้ต่อยอดระบบ พร้อมเพย์ ไปสู่ระบบ…

ประชาชนเสียภาษีอะไรบ้าง

ประชาชนเสียภาษีอะไรบ้าง TAX คืออะไร? TAX คือ เงินภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ และใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งไม่ได้มีสิ่งตอบแทนแก่ผู้เสียภาษีโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น สามารถแบ่งได้เป็น 2   ประเภท 1️ ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆ ของบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ 2️ ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจาก ผู้บริโภค เป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้ กับ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้ชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย ใครบ้างที่จะต้องเสียภาษี TAX? บุคคลที่มีรายได้จากค่าจ้าง เงินเดือน จะต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล VAT คืออะไร? VAT คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากผู้บริโภค เป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับกับผู้ซื้อ หรือ ผู้บริโภคเป็นผู้ชำระแทนผู้ขาย เงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิต และจำหน่ายสินค้า/บริการ ซึ่งจะรวมที่ผลิตภายในประเทศ และนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยจัดอยู่ในภาษีทางอ้อม จากข้อย่อยของ TAX ใครบ้างที่จะต้องเสียภาษี VAT?…

ความเเตกต่าง e-Tax Invoice เเละ e-Tax Invoice by e-mail

Etax invoice by email VS Etax invoice & e-receipt แตกต่างกันอย่างไร ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นระบบบริการด้านภาษี ที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคต่างๆ ได้จัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) แล้วส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีที่ตกลงกัน นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีหน้าที่ที่จะต้องนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ด้วย ระบบ e-Tax Invoice by e-mail เป็นบริการสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี ที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สามารถแนบไฟล์ PDF/A3 ส่งผ่าน e-mail ให้แก่ผู้ซื้อ และสำเนาให้ระบบ e-Tax Invoice by e-mail เพื่อประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งไฟล์ข้อมูลที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการและผู้ออกใบกำกับภาษีเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมสรรพากร สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล…

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร ทำไมคนทำธุรกิจควรรู้

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร? เอกสารใบกำกับภาษี เป็นเอกสารสำคัญทางการค้า ที่ผู้ประกอบการ ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ทำการออกบิลให้กับทางผู้บริโภคสินค้าหรือผู้ใช้บริการทุกครั้ง ซึ่งจะแสดงข้อมูลของ สินค้า และ บริการ รวมถึงจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บ โดยปกติแล้วผู้ประกอบการจะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา VAT 7% ที่เราเคยเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ทั้งนี้ ภาษีที่คิดจากราคาขาย หากเป็นผู้ขายหรือผู้ให้บริการ จะเรียกว่า ภาษีขาย แต่ถ้าเราเป็นลูกค้าซื้อสินค้าหรือใช้บริการ แล้วมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเรียกว่า ภาษีซื้อ เป็นต้น ใบกำกับภาษี แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือใบกำกับภาษีแบบเต็ม และ ใบกำกับภาษีแบบย่อ โดยใบกำกับภาษีแบบย่อใช้สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการรายย่อย โดยส่วนมากแล้วราคาสินค้าและบริการจะต้องระบุข้อความว่า “รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม” จะต่างกับใบกำกับภาษีแบบเต็ม ที่บอกจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมดูแลตั้งแต่ขึ้นระบบ จนพบคำตอบที่ต้องการ

มาตรการทางภาษีเมื่อใช้ e-Tax Invoice

กรมสรรพากรขยายเวลาต่อกับ 2 มาตรการภาษี การเปลี่ยนการใช้มาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ได้ประโยชน์มากมาย ทั้งลดต้นทุนการพิมพ์กระดาษ หมึกพิมพ์ บุคคลกรที่ต้องจัดการในเรื่องนี้ ปัญหาความยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสารจะหมดไป หาเอกสารได้ง่ายขึ้น มีความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เเละยิ่งไปกว่านั้นทางกรมสรรพากรได้ประกาศสิทธิประโยชน์ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 435 ว่า ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละ หนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่ง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษีค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์หรือค่าบริการใช้พื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 766) พ.ศ. 2566 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นการจ่ายเพื่อประโยชน์ในการจัดทํา ส่งมอบ รับ หรือเก็บรักษาใบกํากับภาษี อิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ หรือการนําส่งเงินภาษี (2) ต้องเป็นรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 (3) ต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการนําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ให้บริการนําส่งเงินภาษี ค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์…