e-Withholding Tax กับการหัก ณ ที่จ่าย

e-withholding tax กับการหัก ณ ที่จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เปรียบเสมือนกลไกสำคัญในการจัดเก็บภาษีที่ภาครัฐได้กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักจ่ายล่วงหน้า โดยผู้จ่ายเงิน (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงิน (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน ลูกจ้าง ฟรีแลนซ์ ในอัตราที่กำหนดไว้ และนำส่งเงินภาษีที่หักไว้ให้กับทางกรมสรรพากร เป็นต้น ทำไมต้องมีภาษีหัก ณ ที่จ่าย? เพื่อช่วยลดภาระผู้เสียภาษีช่วยให้ผู้เสียภาษีมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายก่อน และไม่ต้องจ่ายภาษีก้อนใหญ่ในคราวเดียวปลายปี เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีช่วยให้กรมสรรพากรลดการเลี่ยงภาษีและยากต่อการเลี่ยงภาษี เพราะมีกลไกการหักภาษีไว้ก่อน ในส่วนของระบบ e-Withholding Tax เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับในเรื่องของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระบบนี้ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งฝั่งผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินสามารถบริหารจัดการภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้ง่าย และยังช่วยในเรื่องของการ ลดค่าใช้จ่ายในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนขององค์กร ด้วยการเปลี่ยนจะการใช้กระดาษแทนที่ด้วยการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาทำงานโดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการจัดการเกี่ยวเรื่องของการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ลดขั้นตอนในการทำงานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดเก็บเอกสาร ความถูกต้องของข้อมูลในเอกสาร ดีทั้งการค้นหาได้ง่ายรวดเร็วและยังได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อไปในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้ยื่นก็จะไม่ต้องมานั่งห่วงว่าเอกสารจะสูญหายมั้ยและไม่ต้องรื้อค้นเอกสารให้วุ่นวาย เพราะสามารถค้นหาได้ง่าย โดยค้นหาผ่านเว็ปไซต์ของทางกรมสรรพากร และยังมีสิทธิประโยชน์อีกมากมาย ระบบ e-Withholding…

การจัดเก็บภาษี (e-commerce)

การจัดเก็บภาษี (e-commerce) ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน การทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ (e-commerce) มีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันเพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ และ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการ เสนอขายและนำส่งสินค้าให้กับทางลูกค้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กรมสรรพากรต้องปรับระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่นี้ โดยหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจ e-commerce มีดังนี้ 1. ใครต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการ e-commerce ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่จับต้องได้หรือสินค้าดิจิทัล ไม่ว่าจะขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย เช่น บริการสตรีมมิ่งเพลง ภาพยนตร์ เกม อีบุ๊ค 2. ประเภทของภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คำนวณจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 1: ภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี กรณีเสียภาษีตามวิธีที่ 2: ภาษี = เงินได้พึงประเมิน…