ภาษี e-Service คืออะไร

ภาษี e-Service มีความสำคัญอย่างไร ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การทำธุรกรรมต่างๆหรือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องที่ปกติไปแล้ว ซึ่งรวมถึงการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ จากต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Netflix, Spotify, หรือ Shopee เป็นต้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การใช้บริการเหล่านี้ก็มีภาษีที่ต้องเสียเช่นกัน นั่นคือ ภาษี e-Service ภาษี e-Service คืออะไร? ภาษี e-Service หรือ ภาษีบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการซื้อสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) จากต่างประเทศ เช่น การสมัครสมาชิก Netflix, การซื้อแอปพลิเคชันบนมือถือ, การซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ต่างประเทศ เป็นต้น โดยภาษีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT%) ที่เราจ่ายกันอยู่เป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเสียภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ รวมถึงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับทางภาครัฐในการนำรายได้จากการจักเก็บภาษีเหล่านี้ไปพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ทำไมต้องมีภาษี e-Service? เพื่อสร้างความเท่าเทียมและให้เกิดความเป็นธรรมทางภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศในเรื่องของภาระภาษีที่เท่าเทียมกัน เพิ่มรายได้ของภาครัฐ เพื่อนำรายได้จากการเก็บภาษี E-Service ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น เพื่อควบคุมให้การค้าขายทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศโดยการจัดเก็บภาษี E-Service อาจกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการในประเทศมากขึ้น ใครต้องเสียภาษี e-Service โดยทั่วไป ผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และมีรายได้จากการให้บริการในประเทศไทยเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บและนำส่งภาษี…

ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท

การยื่นภาษี คือ? การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน เพื่อให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและทันเวลา ผู้ที่ต้องยื่นภาษีในแต่ละประเภท จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทให้ชัดเจน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีให้ถูกต้อง ล้วนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนภาษีและการหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย การยื่นภาษีล่าช้าอาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับและดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถวางแผนการยื่นภาษีได้ง่ายและถูกต้องและเข้าใจช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น เราจะมาสรุปสั้นให้ฟังค่ะว่า ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีความแตกต่างกันและมีความสำคัญอย่างไร ทำไมช่วงเวลาในการยื่นภาษีจึงสำคัญ? หลีกเลี่ยงค่าปรับที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้าอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับ วางแผนทางการเงินเพื่อให้ผู้สียภาษีรู้กำหนดเวลาในการยื่นภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการยื่นภาษีตรงตามกำหนด อาจทำให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อช่วงเวลาในการยื่นภาษี ประเภทของภาษีแต่ละประเภทของภาษีจะมีกำหนดเวลาในการยื่นที่แตกต่างกัน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับนิติบุคคล กำหนดเวลาในการยื่นภาษีจะขึ้นอยู่กับรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทกำหนด การขยายเวลาในบางกรณี กรมสรรพากรอาจมีการประกาศขยายเวลาในการยื่นภาษีออกไป เนื่องจากเหตุจำเป็น เช่น ภัยธรรมชาติ หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบฯ กำหนดเวลาในการยื่นแบบฯ หมายเหตุ ภ.ง.ด.90 ม.ค. – มี.ค. ของปีถัดไป ใช้เสียภาษีเงินได้ประจําปีสําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2)-(8) แห่งประมวลรัษฎากรหรือมีเงินได้ฯ ตาม มาตรา 40(1) และ มาตรา…

ประเภทของอัตราภาษีเงินได้

ประเภทของอัตราภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ เป็นหนึ่งในภาษีที่คนทำงานส่วนใหญ่ต้องพบเจอ และเป็นเรื่องที่หลายคนอาจรู้สึกสับสนและอยากเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอัตราภาษีและวิธีการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดา บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราภาษีเงินได้ในแต่ละประเภท พร้อมตารางเปรียบเทียบที่เข้าใจง่าย และแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้คุณสามารถวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีเงินได้คืออะไร? ภาษีเงินได้ คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีรายได้ ซึ่งรายได้นี้สามารถเกิดจากการทำงาน การประกอบธุรกิจ การลงทุน หรือการได้รับทรัพย์สินอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยจะมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ข้อมูลล่าสุดและถูกต้องที่สุด สามารถตรวจสอบได้จาก เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือ หน่วยงานภาษีที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไป อัตราภาษีจะแบ่งเป็นขั้นบันได ตามระดับของเงินได้ที่ได้รับ ซึ่งหมายความว่า ยิ่งมีรายได้สูง อัตราภาษีก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยค่ะ ประเภทของอัตราภาษีเงินได้ อัตราภาษีเงินได้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ และจำนวนเงินได้ที่ได้รับ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลทั่วไป เช่น พนักงานบริษัท ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ หรือ นักลงทุน ภาษีเงินได้นิติบุคคล: คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคล เช่น บริษัทมหาชน จำกัด บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน จำกัด…

e-Billing คืออะไร?

e-billing คืออะไร? “เข้าสู่ยุคดิจิทัลอะไรๆก็ดูทันสมัยไปซ่ะหมดแถบจะทุกอย่างก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ความสะดวกในเรื่องของเครื่องมือการทำธุรกิจ และระบบอย่างอีกอื่นมากมายเป็นต้น” e-billing (ใบเเจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์) e-billing ย่อมาจาก electronic billing หมายถึง ระบบการออกใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ คือการออกเอกสารในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์แทนที่ใบแจ้งหนี้แบบกระดาษ โดยผู้ขายจะออกใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งให้ผู้ซื้อผ่านช่องทางอีเมล หรือช่องทางออนไลน์อื่นๆ เเละแทนการส่งใบแจ้งหนี้แบบกระดาษทางไปรษณีย์หรือส่งมอบด้วยมือ เป็นต้น ผู้ประกอบการใช้เพื่อทดแทนใบแจ้งหนี้แบบกระดาษ ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมทางธุรกิจมากขึ้น ช่วยลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ ร่วมทั้งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ประโยชน์ของ e-billing มีอะไรบ้าง? ผู้ขายสามารถออกใบแจ้งหนี้และส่งให้ลูกค้าทางออนไลน์ได้ง่ายดาย ลูกค้าก็สามารถดูและชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ได้เช่นกัน สร้างความสะดวกให้กับทั้งเจ้าของกิจการและผู้ใช้บริการ และในการทำงานได้อย่างมากและยังช่วยควบคุมงบประมาณในการใช้จ่ายภายในองค์กรได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น อาทิ เช่น การใช้งานการออกเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-billing ช่วยให้กระบวนการออกใบแจ้งหนี้และชำระเงินรวดเร็วขึ้นประหยัดเวลาในการส่งและรับใบแจ้งหนี้ สะดวกทั้งผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดี การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-billing ยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอุปกรณ์สำนักงานได้ค่อนข้างเยอะอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของค่าใช้จ่าย เช่น ค่ากระดาษ หมึกพิมพ์ และค่าจัดส่ง การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-billing ยัง ช่วยลดการใช้กระดาษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เเละส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับทางองค์กร การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-billing ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ช่วยป้องกันข้อมูลสูญหายหรือถูกปลอมแปลง…

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง

8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง กรณีผู้มีเงินได้ในการประกอบอาชีพมีความแตกต่างกัน และมีความยากง่ายหรือต้นทุนที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ในกฎหมายจึงได้แบ่งประเภทเงินได้ออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการของผู้เสียภาษี ซึ่งภาษีเงินได้เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือบุคคลผู้ที่มีรายได้ โดยการคำนวณภาษีก็จะแตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองมาดูตารางสรุป 8 ประเภทของภาษีเงินได้กันเลยค่ะว่า แต่ละประเภทเนี้ยมีความแตกต่างกันอย่างไร เงินได้ที่เรารับอยู่ตอนนี้จัดอยู่ในประเภทเงินได้ ประเภทใดกันแน่นะ เงินได้ประเภทที่ 1 เป็นเงินได้ที่จัดอยู่ในหมวดของ พนักงานประจำหรือบุคคลที่รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเงินในส่วน เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส หรือเงินให้สวัสดิการก็ตามที เงินได้ประเภทที่ 2 เป็นเงินได้จัดอยู่ในหมวดของ อาชีพอิสระหรือที่เค้าเรียกกันวันว่า ฟรีแลนซ์ ตามที่เราๆเคยได้ยินกันเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด   เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำแต่จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว หรือไม่ก็ตาม ภาษีเงินได้ประเภทที่ 3 เป็นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอื่นๆ หรือเป็นเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น…