ความเเตกต่าง Commercial Invoice กับ Proforma Invoice

ความเเตกต่าง Commercial Invoice กับ Proforma Invoice ทุกคนสงสัยกันไหมคะว่า Commercial Invoice กับ Proforma Invoice คือเอกสารตัวเดียวกันหรือเปล่า Proforma Invoice (ใบเเจ้งราคา) Proforma Invoice คืออะไร เอกสารที่ออกโดยผู้ขายเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริการ ที่เสนอขาย โดยไม่ใช่ใบแจ้งหนี้ที่เป็นทางการ เอกสารนี้มักจะใช้เพื่อแสดงรายละเอียดเป็นข้อมูลเบื้องต้น เช่น ราคา จำนวน และเงื่อนไขการขายก่อนที่การทำธุรกรรมจะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อลูกค้าหรือผู้ซื้อยอมรับในเงื่อนต่าง ๆ ก็จะทำการเปิดสั่งซื้อสินค้าโดยอ้างอิงเลขที่และวันที่ของ Proforma Invoice วันนั้น โดยปกติแล้วลูกค้าจะต้องดูข้อมูลว่าถูกต้องหรือไหม ดังนั้น Proforma Invoice คือเอกสารเสนอขายและเป็นเอกสารทำการตกลงระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ นั่นเองค่ะ Proforma Invoice สำคัญอย่างไร เป็นเอกสารที่ใช้ในการเสนอราคาสินค้า และเงื่อนไขการขายก่อนการตัดสินใจซื้อช่วยให้ผู้ขายและผู้ซื้อเข้าใจถึงข้อมูลสินค้า ข้อมูลราคาสินค้า การวางแผนงบประมาณ และบริการการจัดเตรียมเอกสารข้อมูล ในกรณีของการนำเข้าสินค้า Proforma Invoice อาจถูกใช้เพื่อขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าหรือการขอเงินกู้จากธนาคาร Proforma Invoice จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำธุรกรรม…

ภ.ง.ด. 53 คืออะไร?

ภ.ง.ด. 53 คืออะไร? “หลายๆคนอาจะยังสงสัยกันค่ะว่า ภ.ง.ด. 53 คืออะไร สำคัญอย่างไร และใช้ตอนไหนบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะว่าจริงๆแล้ว  ภ.ง.ด. 53 คืออะไร” ภ.ง.ด. 53 คือแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บุคคลหรือหน่วยงานที่จ่ายเงินให้กับผู้รับเงินที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา จะต้องทำการหักภาษีไว้ และยื่นแบบเพื่อชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ซึ่งตามกฎหมายไทยกำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินต้องเป็นผู้ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งกรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด รายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่าย การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 53 จะใช้เมื่อมีการจ่ายเงินในลักษณะดังนี้: ค่าบริการ เช่น ค่าโฆษณา ค่ารักษาความปลอดภัย หรือค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ เช่น ค่าจ้างที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการ ค่าสิทธิ (Royalties) เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินกำไรที่จ่ายให้นิติบุคคลอื่นหรือบุคคลธรรมดา อัตราภาษี ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะมีอัตราตั้งแต่ 1% – 5% ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ที่จ่าย…

ธุรกิจMulti-level Marketing (MLM) หรือ ธุรกิจขายตรง เสียภาษียังไง

ธุรกิจMulti-level Marketing (MLM) หรือ ธุรกิจขายตรง เสียภาษียังไง ธุรกิจ Multi-level Marketing (MLM) หรือ Direct Selling (ขายตรง)ในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทั่วไป เช่นเดียวกับธุรกิจประเภทอื่น ๆ โดยภาษีที่เกี่ยวข้องและวิธีการเสียภาษีมีดังนี้ เจ้าของธุรกิจประเภทนี้ต้องรู้เรื่องภาษีอะไรบ้าง 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับทางสำนักงานกรมสรรพากร ธุรกิจ MLM หรือ Direct Selling ที่จดทะเบียน VAT จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าในอัตรา 7% ของราคาสินค้าหรือบริการ ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 (แบบยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทุกเดือน 2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) หากธุรกิจ MLM จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ (หลังจากหักค่าใช้จ่าย)…

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

3 ประเภทภาษีหลัก ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ Franchise ควรรู้ ถ้าต้องพูดถึงเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการนำแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมาขยับขยายธุรกิจ แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มักสงสัยคือ ภาษี ที่ต้องเสีย มีอะไรบ้าง? และต้องเสียภาษีอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจเรื่องภาษีสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างชัดเจนมากชึ้น สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ จะมีประเภทไหนบ้าง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องเสียภาษีหลายประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ได้แก่ 1. ฝ่ายเจ้าของแฟรนไชส์ (franchiser) คือ ภาษีเงินได้สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ซึ่งโดยเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการให้สิทธิ์การใช้แบรนด์ ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากเจ้าของแฟรนไชส์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ เป็นต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากมีรายได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ภาษีอื่นๆ: อาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย เป็นต้น 2.…

ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร

ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้แตกต่างกันอย่างไร ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการปรับปรุงยอดเงินที่ต้องชำระในธุรกรรมทางการค้า โดยมักเกี่ยวข้องกับการออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice) และการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เอกสารทั้งสองประเภทนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในธุรกิจ เพื่อปรับแก้ไขการทำธุรกรรมที่มีข้อผิดพลาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงในข้อตกลง ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) คือ เอกสารที่ออกเมื่อมีการเพิ่มราคาสินค้าหรือบริการ เนื่องจากสินค้าหรือบริการที่ส่งมอบไปนั้น “เกินกว่า” จำนวนที่ตกลงซื้อขายกันไว้ หรือให้บริการ “เกินกว่า” ข้อกำหนดที่ตกลงกัน (ส่งมอบเกิน) เหตุผลที่ต้องออก: คำนวณราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ “ต่ำกว่า” ที่เป็นจริง (คำนวณเงินขาด) มีการเพิ่มปริมาณสินค้าหรือบริการที่ส่งมอบให้ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบกำกับภาษีเดิม เช่น ค่าขนส่ง ค่าติดตั้ง ผลกระทบ: ทำให้ยอดเงินที่ต้องชำระเพิ่มขึ้น ใบลดหนี้ (Credit Note) คือ เอกสารที่ออกเพื่อลดหนี้ให้กับลูกค้า โดยจะออกเมื่อมีการส่งสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า และได้ทำการออกใบกำกับภาษีแก่ลูกค้าเรียบร้อย แต่ต่อมาได้เกิดปัญหาขึ้น เช่น สินค้าหรือบริการ ได้รับไม่ครบถ้วน สินค้าเสียหาย ไม่ตรงตามที่ได้ตกลงกันไว้ มีการส่งสินค้าคืน เหตุผลที่ต้องออก: เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือปรับปรุงยอดเงินที่ต้องชำระให้ถูกต้อง เมื่อลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการไม่ครบถ้วนตามที่สั่งซื้อ เมื่อสินค้าหรือบริการที่ได้รับมีคุณภาพไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อมีการตกลงกันที่จะลดราคาสินค้าหรือบริการ ผลกระทบ: ทำให้ยอดเงินที่ต้องชำระลดลง…

ใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต่างกันอย่างไร

ใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร เอกสารใบกำกับภาษี และ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี แต่มีหน้าที่และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น 1. ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) วัตถุประสงค์ คือ ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงมูลค่าสินค้าหรือบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ผู้ซื้อต้องชำระ ผู้จัดทำ : ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รายละเอียดข้อมูลที่ระบุ เช่น  ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อและผู้ขาย รายละเอียดสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย จำนวนเงินรวม / ราคา ภาษีมูลค่าเพิ่ม วันที่ออกใบกำกับภาษี ความสำคัญ เช่น  เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  ใช้เป็นหลักฐานในการเบิกค่า ใช้จ่ายทางภาษีของผู้ซื้อ ใช้ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax Certificate) วัตถุประสงค์ คือ ใช้สำหรับพื่อแสดงจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายให้แก่บุคคลอื่น เช่น …