8 ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง
กรณีผู้มีเงินได้ในการประกอบอาชีพมีความแตกต่างกัน และมีความยากง่ายหรือต้นทุนที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ในกฎหมายจึงได้แบ่งประเภทเงินได้ออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการของผู้เสียภาษี ซึ่งภาษีเงินได้เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือบุคคลผู้ที่มีรายได้ โดยการคำนวณภาษีก็จะแตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองมาดูตารางสรุป 8 ประเภทของภาษีเงินได้กันเลยค่ะว่า แต่ละประเภทเนี้ยมีความแตกต่างกันอย่างไร เงินได้ที่เรารับอยู่ตอนนี้จัดอยู่ในประเภทเงินได้ ประเภทใดกันแน่นะ
เงินได้ประเภทที่ 1
เป็นเงินได้ที่จัดอยู่ในหมวดของ พนักงานประจำหรือบุคคลที่รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเงินในส่วน เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส หรือเงินให้สวัสดิการก็ตามที
เงินได้ประเภทที่ 2
เป็นเงินได้จัดอยู่ในหมวดของ อาชีพอิสระหรือที่เค้าเรียกกันวันว่า ฟรีแลนซ์ ตามที่เราๆเคยได้ยินกันเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำแต่จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว หรือไม่ก็ตาม
ภาษีเงินได้ประเภทที่ 3
เป็นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอื่นๆ หรือเป็นเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
ภาษีเงินได้ประเภทที่ 4
เป็นประเภทเงินได้ที่เกิดจากดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
- ประเภทภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ยเงินฝาก หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือเงินกู้ยืม มีหลักประกันมั้ยจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ ผลประโยชน์ค่าตอบแทนอื่น ๆ ทีเกิดจากการให้กู้ยืมไม่ว่าจะเป็นจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
- ประเภทภาษีเงินได้ที่เกิดจากการลงทุนแล้วได้เป็นเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรและประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ
- ประเภทภาษีเงินได้ที่เกิดจากได้รับเงินโบนัสที่มีการจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น และหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น
- ประเภทภาษีเงินได้ที่เกิดจากผลประโยชน์ที่ได้ในการโอนหุ้นส่วนหรือ หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ เป็นต้น
“โดยเงินได้ประเภทที่ 4 นี้ตามกฎหมายสามารถใช้สิทธิโดยการเลือกจ่ายภาษีด้วยการ หัก ภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมกับประเภทเงินได้อื่นๆ เป็นต้น”
ภาษีเงินได้ประเภทที่ 5
ประเภทภาษีเงินได้ที่เกิดจากมีการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น เช่น การให้เช่าทรัพย์สินเงินทอง ไม่ว่าจะเป็น บ้าน รถ ที่ดิน และอื่นๆอีกมากมาย เป็นต้น
ภาษีเงินได้ประเภทที่ 6
เป็นประเภทภาษีเงินได้ที่เกิดจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ว่าจะเป็น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป และ วิชาชีพอื่นที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดเอาไว้แล้ว เป็นต้น
ภาษีเงินได้ประเภทที่ 7
เป็นประเภทภาษีเงินได้ที่เกิดจากการรับเหมาโดยที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาจัดการเองทั้งหมด
ภาษีเงินได้ประเภทที่ 8
เป็นประเภทภาษีเงินได้ที่เกิดจากการทำธุรกิจ ทางการพาณิชย์ การเกษตรและอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม และ การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ภาษีเงินได้ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีรายได้ ซึ่งเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นในแต่ละปีภาษี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศและสังคม และเป็นภาษีที่หลายคนต้องเผชิญหน้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในภาระทางการเงินที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของภาษีเงินได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้จากการทำงานประจำ นักธุรกิจ หรือผู้ลงทุน การทำความเข้าใจประเภทของภาษีเงินได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ จะช่วยให้เราสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดภาระทางภาษี และนำเงินไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อย่างคุ้มค่า
เพราะฉะนั้นผู้มีเงินได้ต้องมีหน้าที่ยื่นภาษีให้กับทางกรมสรรพากรไม่ว่าจะเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ช่องทางการยื่นแบบสามารถแยกประเภทได้ดังนี้
ประเภทผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีในรูปแบบกระดาษได้ที่ทางกรมสรรพากร ที่อยู่ในเขตพื้นที่นั้นๆ
- ในกรณีที่ออกแบบแสดงรายการภาษีออกมาในรูปแบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice) สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ในระบบ etax invoice & e-receipt ของกรมสรรพากร หรือสามารถยื่นผ่านช่องทางระบบ e-filing ของกรมสรรพากร เป็นต้น
ประเภทผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
- สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีในรูปแบบกระดาษได้ที่กรมสรรพากร ที่อยู่ในเขตพื้นที่นั้นๆ
- สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางผู้ให้บริการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice & e-receipt) ซึ่งในปัจจุบันทางบริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆเริ่มหันมาใช้การออกแบบอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น เนื่องจากหลายๆองค์กรมีการออกใบกำกับภาษีในจำนวนที่มาก ระบบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (etax invoice & e-receipt) จึงเป็นอะไรที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เพราะระบบ etax สร้างความสะดวกสบายในการใช้งานส่งผลดีให้กับองค์กรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเรื่องเวลาความถูกต้องความปลอดภัย ช่วยประหยัดทั้งทรัพยากร ค่าใช้จ่าย และที่สำคัญยังเปิดโอกาสทางธุรกิจในหลายๆมาตราการของทางภาครัฐได้อีกมากเลยทีเดียว สร้างภาพลักษณ์และความมีประสิทธิภาพได้ไปอย่างดีอีกด้วย