เรื่องภาษีเป็นเรื่องปวดหัวภาษีนั้นก็มีหลายประเภทซะเหลือเกิน แล้วเราจะต้องรู้ภาษีอะไรบ้างในการเริ่มต้นธุรกิจ ภาษีในการประกอบธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของกิจการต้องเข้าใจและปฏิบัติตามเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในประเทศไทย ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีหลายประเภท เช่น
1.ภาษีทางตรง
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ ภาษีทางตรงเป็นภาษีที่ผู้มีรายได้หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินต้องเสียเองโดยตรง ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้บุคคลอื่น เช่น ลูกค้าหรือผู้บริโภคได้ ต่างจากภาษีทางอ้อมที่สามารถผลักภาระให้กับผู้อื่นได้ (เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax - CIT)
สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนคิดอัตราภาษีตามกำไรสุทธิของธุรกิจ (ปกติ 20% แต่มีอัตราพิเศษสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก) เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้ของนิติบุคคล ได้แก่ เงินได้ประเภทกำไรสุทธิ ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย หรือ การจำหน่ายเงินกำไรจากประเทศไทย
3.ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding tax)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ จะหัก ณ ที่จ่าย ถ้ามีการจ่ายเงินเกิดขึ้น คนที่จ่ายเงินที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือนิติบุคคล หัก ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงิน
ให้กับคนรับ ที่เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาก็ได้ เพื่อนำส่งสรรพากร และเมื่อได้ทำการหักถาษี ณ ที่จ่ายแล้วจะต้องมีการออก
“หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ซึ่งผู้ถูกหักสามารถนำไปขอคืนจากรัฐตอนสิ้นปี หรือนำไปลดหย่อนภาษีได้
4.ภาษีทางอ้อม
ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เราสามารถผลักภาระภาษีให้กับผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ซึ่งมีหลักการจัดเก็บที่แตกต่างกัน ซึ่งภาษีทางอ้อมเป็นภาษีที่ผู้เสียภาษี (เช่น ผู้ประกอบการ) สามารถผลักภาระไปยังผู้อื่นได้ โดยมากมักรวมอยู่ในราคาสินค้าหรือบริการ ทำให้ผู้บริโภคเป็นผู้แบกรับภาระภาษีโดยไม่รู้ตัว
5.ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่รัฐฯ จัดเก็บจากโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ตึกแถว สำนักงาน ร้านค้า เป็นต้น และมีรายได้จากเช่าจะต้องเสียภาษีโรงเรือน 12.5% ต่อปีของค่ารายปี โดยชำระภาษีที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
6.ภาษีป้าย
ภาษีป้าย = ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นป้ายร้าน ป้ายโฆษณา ป้ายประชาสัมพันธ์ โดยจะต้องยื่นประเมินเพื่อเสีย
ภาษีป้ายไม่เกินวันที่ 31 มีนาคมของปีนั้นๆ และจะคิดอัตราภาษีตามขนาดของป้าย หากไม่แจ้งหรือไม่แสดงหลักฐานการ
เสียภาษีป้ายอาจถูกปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท
7.ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax - SBT)
ใช้กับธุรกิจเฉพาะ เช่น ธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการเงินอัตราภาษีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ หรือการขายอสังหาริมทรัพย์ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่มีชื่อว่า ภ.ธ. 40 และในกรณีทั่วไปของธุรกิจ เมื่อมีการขายอสังหาริมทรัพย์หรือการให้กู้ยืมเงินจะเสียภาษีที่อัตรา 3.3% (รวมอัตราภาษีท้องถิ่น)
8.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT - Value Added Tax)
- สำหรับธุรกิจที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- อัตราภาษีปัจจุบันคือ 7% (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายรัฐ)
- ธุรกิจต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน
9.อากรแสตมป์ (Stamp Duty)
ใช้กับเอกสารทางธุรกิจ เช่น สัญญาเช่า สัญญากู้ยืม อัตราภาษีคงที่ตามมูลค่าของเอกสาร
10.ภาษีศุลกากร (Customs Duty)
ภาษีศุลกากร (Customs Duty)สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ