ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่ทุกคนจะต้องเคยได้ยินมาบ้าง แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร
ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ เราจะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย
พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย
ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย คือ เงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ
ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการ
ยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้ากิจการไม่หักไว้ จะถือว่าเป็นความผิดของกิจการ
หรือบางครั้งเจอคู่ค้าที่ไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย แนะนำว่าควรเปลี่ยนเจ้า เพราะตามหลักการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้
ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย
ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย
ออกให้ทันภายในกำหนดเวลา
มีความถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด
ต้องหักเมื่อไร
เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระหว่างดำเนินกิจการ
แต่ละประเภทค่าใช้จ่ายนั้นจะถูกหัก ณ ที่จ่ายในเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง
ทุกๆ ครั้งที่มีการขายของและขนส่ง โดยที่บริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง
เช่น บริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น จะต้อง หัก ณ ที่จ่าย 1% แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ก็ยังไม่ต้องหัก
หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา
ก็คือการจ้างให้บริษัท หรือเอเจนซี่โฆษณา มาโฆษณาให้เราผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งภาษีกลุ่มนี้จะหักแค่ 2% เท่านั้น
หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram ที่ไม่ใช่บริการด้านการตลาด ทำหัก ณ ที่ จ่าย
หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
ถ้าเราเช่าออฟฟิศ หรือสถานที่ที่เรามีสิทธิในการถือกุญแจ ก็จะนับเป็นอัตราภาษี 5% เพราะถ้าเป็นแค่สถานที่ที่
เราไม่มีสิทธิในการถือกุญแจ เช่นการเช่าสถานที่เพื่อจัดงานสัมมนา หรือจัดอีเวนต์ กฎหมายจะถือว่ามันอยู่ในหมวดจ้างบริการ
ซึ่งจะหัก 3% แทนแต่ถ้าเราถือกุญแจจะถือเป็นค่าเช่าสถานที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเจ้าของที่ดิน 5%