จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม vs ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
“การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat มีข้อดีมากมาย และยังสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของคุณอีกด้วย!! แล้วระหว่าง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม vs ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีความแตกต่างกันอย่างไร?”
ยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ ว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำคัญและดีอย่างไรกับธุรกิจของคุณ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับนั้นแตกต่างจากธุรกิจที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาสรุปข้อมูลสั้นๆ เพื่อให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ให้เข้าใจว่าระหว่างการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจาก ผู้ที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร
1. เกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
-
- ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในทางธุรกิจ ทุกๆ กิจการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม หากมีรายได้ที่เกินเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ต้องมีหน้าที่ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าหากไม่ได้อยู่เกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ก็สามารถขอยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากผู้ประกอบการรายใด้ ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กิจการนั้นๆ มีรายได้เกินกำหนดของกรมสรรพากร คือ 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องรีบทำการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดเท่านั้น คือ 30 วัน นับจากวันที่มูลค่าฐานภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด หากไม่ยื่นจดทะเบียนมีความมีความเสี่ยงถูกปรับกรณีที่ประกอบธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีโทษปรับทางกฎหมายตามที่กรมสรรพากรได้กำหนดไว้
- ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้รับการใช้บริการนั้นในประเทศไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. สิทธิประโยชน์ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
-
- สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ หมายความว่า เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไปได้ ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ
- สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ
- สามารถหักภาษีซื้อจากยอดภาษีขายได้ กรณีที่มียอดขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถหักภาษีซื้อที่จ่ายไปจากยอดภาษีขายได้ ช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องชำระ
- สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ แสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีขนาดใหญ่ มั่นคง และปฏิบัติตามกฎหมาย
- มีสิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice by email และ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้
3. ผลเสียของการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เสียเปรียบทางธุรกิจ:
- เสียเปรียบทางการเงินเพราะไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้
- อาจถูกมองว่าเป็นธุรกิจที่ไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบได้ทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
- ลูกค้าบางรายอาจไม่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการจากธุรกิจที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- มีความเสี่ยงถูกปรับ: กรณีที่ประกอบธุรกิจโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีรายได้เกินที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ต้องรีบยื่นขอจดทะเบียนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่มูลค่าฐานภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด หากไม่จดจะมีโทษปรับทางกฎหมาย
ตัวอย่างธุรกิจที่ควรจด VAT แม้รายได้ยังไม่ถึงเกณฑ์
1. ธุรกิจที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า
รับเหมาก่อสร้างให้หน่วยงานราชการ
ขายสินค้าหรือบริการให้บริษัทเอกชน
ขายซอฟต์แวร์ หรือระบบ IT ให้ภาครัฐ/องค์กรขนาดใหญ่
กลุ่มลูกค้าเหล่านี้มักต้องการ “ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป” เพื่อใช้ในการหักภาษีหรือขอคืนภาษีจากภาษีซื้อ หากคุณไม่สามารถออกเอกสารภาษีได้ตามระบบ อาจทำให้เสียโอกาสรับงาน หรือถูกมองว่าไม่พร้อมดำเนินธุรกิจในระยะยาว
2. ธุรกิจที่มีต้นทุนจากนิติบุคคล ซึ่งมี VAT แฝงอยู่
ร้านค้าออนไลน์ที่ซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์รายใหญ่
โรงพิมพ์ หรือสายโปรดักชันที่ต้องซื้ออุปกรณ์ราคาแพง
ร้านอาหารที่ต้องซื้อวัตถุดิบผ่านบริษัทจัดส่งวัตถุดิบ
การจด VAT ช่วยให้คุณสามารถ “ขอคืนภาษีซื้อ” ได้ ซึ่งหมายถึงการลดต้นทุนโดยตรง เช่น ซื้อของ 100,000 บาท มี VAT 7% = 7,000 บาท → ขอคืนได้ ถ้าเป็นผู้จด VAT แล้ว
3. ธุรกิจที่ต้องการภาพลักษณ์มืออาชีพ
นักออกแบบเว็บไซต์/กราฟิกฟรีแลนซ์
โปรแกรมเมอร์ที่รับจ้างเขียนระบบ
ที่ปรึกษาด้านบัญชี การตลาด กฎหมาย ฯลฯ
ลูกค้าองค์กรจำนวนมากต้องการจ้างผู้ให้บริการที่สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีได้ครบถ้วน เพราะเกี่ยวข้องกับระบบภาษีของบริษัท หากคุณจด VAT ตั้งแต่ต้น จะช่วยลดข้อจำกัดในการเจรจา และสร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น
4. ธุรกิจที่กำลัง “ขยายตัว” และวางแผนเติบโต
หากคุณรู้ว่าอีกไม่กี่เดือนยอดขายจะเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี การจดล่วงหน้าอาจช่วยให้คุณไม่ต้องวิ่งวุ่นตอนยอดทะลุเกณฑ์กลางปี อีกทั้งยังไม่เสี่ยงค่าปรับจากการจดไม่ทันเวลา
หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าหรือคู่ค้า เพื่อแสดงมูลค่าของภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้เรียกเก็บ 7%
2. ออกใบกำกับภาษี
2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ
2.3 การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์
3. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
3.1 รายงานภาษีซื้อ
3.2 รายงานภาษีขาย
3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการยื่น
4.1 การยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
4.2 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
4.3 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย
4.4 การยื่นแบบฯ และชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขาสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้า

สรุป: จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม vs ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
สรุป: การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เหมาะกับธุรกิจที่มีแนวโน้มจะเติบโต คือมียอดขายต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาท หรือต้องการขอคืนภาษีซื้อ ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็สามารถประกอบธุรกิจโดยไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แต่ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด และเข้าใจผลดีผลเสียก่อนตัดสินใจ
อ่านบทความเพิ่มเติม:
1 Comment