การยื่นภาษี คือ?
การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน เพื่อให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและทันเวลา ผู้ที่ต้องยื่นภาษีในแต่ละประเภท จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทให้ชัดเจน
ช่วงเวลาในการยื่นภาษีให้ถูกต้อง ล้วนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนภาษีและการหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย การยื่นภาษีล่าช้าอาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับและดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถวางแผนการยื่นภาษีได้ง่ายและถูกต้องและเข้าใจช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น เราจะมาสรุปสั้นให้ฟังค่ะว่า ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีความแตกต่างกันและมีความสำคัญอย่างไร
ทำไมช่วงเวลาในการยื่นภาษีจึงสำคัญ?
- หลีกเลี่ยงค่าปรับที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้าอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับ
- วางแผนทางการเงินเพื่อให้ผู้สียภาษีรู้กำหนดเวลาในการยื่นภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการยื่นภาษีตรงตามกำหนด อาจทำให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อช่วงเวลาในการยื่นภาษี
- ประเภทของภาษีแต่ละประเภทของภาษีจะมีกำหนดเวลาในการยื่นที่แตกต่างกัน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น
- รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับนิติบุคคล กำหนดเวลาในการยื่นภาษีจะขึ้นอยู่กับรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทกำหนด
- การขยายเวลาในบางกรณี กรมสรรพากรอาจมีการประกาศขยายเวลาในการยื่นภาษีออกไป เนื่องจากเหตุจำเป็น เช่น ภัยธรรมชาติ หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน
ช่วงเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แบบฯ | กำหนดเวลาในการยื่นแบบฯ | หมายเหตุ |
ภ.ง.ด.90 | ม.ค. – มี.ค. ของปีถัดไป | ใช้เสียภาษีเงินได้ประจําปีสําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2)-(8) แห่งประมวลรัษฎากรหรือมีเงินได้ฯ ตาม มาตรา 40(1) และ มาตรา 40(2)-(8) ในรอบปีภาษีที่ผ่านมา |
ภ.ง.ด.91 | ม.ค. – มี.ค. ของปีถัดไป | ใช้เสียภาษีเงินได้ประจําปีสําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรในรอบปีภาษีที่ผ่านมา |
ภ.ง.ด.92 | ม.ค. – มี.ค. ของปีถัดไป | ใช้สําหรับผู้จ่ายเงินได้ที่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับเงินได้จากการจ้างแรงงานตาม มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่พนักกงานด้วยสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ |
ภ.ง.ด.93 | ภายในเดือน ธ.ค.ของปีที่ได้รับเงินพึงประเมิน | ใช้สําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินที่มีความจำเป็นต้องยื่นแบบเสียภาษีก่อนกําหนดเวลายื่นแบบเสียภาษีเงินได้ประจําปีภาษี |
ภ.ง.ด.94 | ก.ค. – ก.ย. ของปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน | ใช้เสียภาษีเงินได้ครึ่งปีสําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากรที่ได้รับเงิน ได้พึงประเมินตั้งแต่เดือน ม.ค. – มิ.ย. ของปีนั้น |
ภ.ง.ด.95 | ม.ค. – มี.ค ของปีถัดไป | ใช้เสียภาษีเงินได้ประจําปีภาษีสําหรับคนต่างด้าวที่ได้รับค่าจ้างแรงงานจากสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาคในรอบปีที่ผ่านมา |
การยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
แบบฯ | กำหนดเวลาในการยื่นแบบฯ | หมายเหตุ |
ภ.ง.ด 50 | ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี | ใช้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกําไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี |
ภ.ง.ด 51 | ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี | ใช้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากการประมาณการกําไรสุทธิหรือจากกำไรสุทธิกรณีเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน บริษัท หลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ |
ภ.ง.ด 52 | ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี | ใช้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ รวมทั้งไทยโดยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เฉพาะการขนส่งขาออกจากประเทศไทย |
ภ.ง.ด 55 | ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี | ใช้กับมูลนิธิหรือสมาคมที่เป็นนิติบุคคลซึ่งมีรายได้โดยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ |
*** กรณีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่ม 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.
– ภ.ง.ด.51 ยื่นแบบฯ ตั้งแต่เดือน ก.ค. – ส.ค. ของปีนั้น
– ภ.ง.ด.50, ภ.ง.ด.52, ภ.ง.ด.55 กําหนดยื่นแบบภายใน 150 วัน ให้นับวันที่ 1 ม.ค. ของปีถัดไป เป็นวันแรก
การยื่นภาษีธุรกิจเฉพาะ
แบบฯ | กำหนดเวลาในการยื่นแบบฯ | หมายเหตุ |
ภ.ธ 40 | ตั้งแต่วันที่ 1-15 ของเดือนถัดไปทุก เดือนไมว่าเดือนภาษีนั้นจะมีรายรับ หรือไม่ก็ตาม | – ใช้กับผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะโดยเสียภาษีจากฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ – ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหากําไรให้เสียภาษีขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่กรมที่ดิน โดยไม่ต้องยื่นแบบภ.ธ.40 ที่กรมสรรพากรอีก |
การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
แบบฯ | กำหนดเวลาในการยื่นแบบฯ | หมายเหตุ |
ภ.ง.ด 30 | ตั้งแต่วันที่ 1-15 ของเดือนถัดไปทุกเดือน ไม่ว่าเดือนภาษีนั้นจะมีรายรับหรือไม่ | ใช้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเสียภาษีที่คํานวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี |
ภ.ง.ด 36 | – ตั้งแต่วันที่ 1-7 ของเดือนถัดไนับแต่วันสิ้นเดือนที่มีการจ่ายเงินได้
– ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับโอนสิทธิ | ใช้กับผู้จ่ายเงินทุกรายที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรที่เข้ามาขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวหรือใช้กับผู้จ่ายเงินทุกรายที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและ นําผลการให้บริการมาใช้ในราชอาณาจักรหรือใช้กับผู้ขายทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือใช้กับส่วนราชการที่ขายทรัพย์สินที่ถูกยึดของผู้ประกอบการจดทะเบียน – ใช้กับผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่เสีภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 |
ภ.ง.ด 30.2 | ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อ | เป็นกรณียื่นแบบฯ ปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของรายได้ |
ภ.ง.ด 30.3 | ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อ | เป็นกรณียื่นแบบปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคาร |
ตารางการชำระอากรแสตมป์
ลักษณะแห่งตราสาร | แบบฯ |
ลักษณะตราสาร 1 เช่าที่ดินโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 2 โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้พันธบัตรและ และใบรับรองหนี้ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆเป็นผู้ออก | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 3 เช่าซื้อทรัพย์สิน | อ.ส.4 ข |
ลักษณะตราสาร 4 จ้างทําของ | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 5 กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร | อ.ส.4 ข |
ลักษณะตราสาร 6 กรมธรรม์ประกันภัย | อ.ส.4 ข |
ลักษณะตราสาร 7 ใบมอบอํานาจ | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 8 ใบมอบฉันทะสําหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 9 (1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช่อย่างตั๋วแลกเงิน
| อ.ส.4 ก อ.ส.4 ก |
ลักษณะตราสาร 10 บิลออฟเลดิง | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 11 (1) ใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ (2) พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย | อ.ส.4 ก อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 12 เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค | อ.ส.4 ก |
ลักษณะตราสาร 13 ใบรับฝากเงินประเภทประจําของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย | อ.ส.4 ก |
ลักษณะตราสาร 14 เลตเตอร์ออฟเครดิต | อ.ส.4 ข |
ลักษณะตราสาร 15 เช็คสําหรับผู้เดินทาง | อ.ส.4 ก |
ลักษณะตราสาร 16 ใบรับของ | อ.ส.4 ข |
ลักษณะตราสาร 17 ค้ำประกัน | อ.ส.4 ข |
ลักษณะตราสาร 18 จํานํา | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 19 ใบรับของคลังสินค้า | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 20 คําสั่งให้ส่งมอบของ | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 21 ตัวแทน | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 22 คําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 23 คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร | อ.ส.4 ข |
ลักษณะตราสาร 24 หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจํากัดที่ส่งต่อนายทะเบียน | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 25 ข้อบังคับของบริษัทจํากัดที่ส่งต่อนายทะเบียน | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 26 ข้อบังคับใหม่หรือสําเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจํากัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบยน | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 27 หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน | อ.ส.4 |
ลักษณะตราสาร 28 (ก) ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล (ข) ใบรับสําหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุ ให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ** ชําระอากรแสตมป์ ณ หน่วยงานที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ (ค) ใบรับสําหรับการขายขายฝากให้เช่าซื้อหรือโอนกรรมสิทธิ ยานพาหนะทั้งนี้เฉพาะยานพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ | อ.ส.4 อ.ส.4 อ.ส.4 ข |
ช่องทางในการยื่นภาษี
กรณีถ้าเป็นบุคคลธรรมดา
- สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีแบบกระดาษได้ที่กรมสรรพากรในพื้นที่นั้นๆ หรือสามารถยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านระบบ e-filing ของกรมสรรพากร
- ผ่านโปรแกรม RD Smart Tax
กรณีถ้าเป็นนิติบุคคล
- สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีแบบกระดาษได้ที่กรมสรรพากรได้โดยตรงที่กรมสรรพากรในเขตพื้นที่นั้นๆ
- สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบ e-filing โดยสามารถดูข้อมูลทางภาษี ผ่านระบบ etax invoice & e-receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เสียภาษีสามารถนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ etax invoive&e-receipt ใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในระบบงานเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง
ช่วงเวลาในการยื่นภาษีมีความสำคัญมาก การยื่นภาษีตรงเวลาก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและทางการเงิน การยื่นแบบแสดงรายการภาษีก็เช่นนับเป็นอีกหน้าที่สำคัญของผู้มีเงินได้ การเลือกช่องทางในการยื่นที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ