เรื่องภาษีที่ผู้ประกอบการร้านทองควรรู้
การประกอบธุรกิจร้านทองนั้นเกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องและวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านทองกันค่ะว่า ประเภทภาษีนั้นสำคัญอย่างไรและมีอะไรบ้าง
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านทอง
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้จากการประกอบธุรกิจโดยผู้ประกอบการร้านทองจะต้องนำรายได้จากการขายทองรูปพรรณ ค่ากำเหน็จ ค่าหลอมทองเก่า มาคำนวณภาษีเงินได้ และ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจได้ เช่น ค่าเช่า ค่าจ้าง ค่าซื้อทองคำ ฯลฯ อัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับฐานภาษีที่คำนวณได้ หากในกรณีหากผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรที่ได้จากการขายทองคำ โดยมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามที่กฎหมายกำหนด
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
หากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิของกิจการกำไรสุทธิคำนวณจากรายได้ทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามที่กฎหมายกำหนดอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับระดับของกำไรสุทธิ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายทองคำหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและผู้ประกอบการจะต้องนำส่งให้กรมสรรพากร สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับทองคำ เช่น การขายทองรูปพรรณใหม่ การหลอมทองเก่า จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
- การเรียกเก็บ VATผู้ประกอบการร้านทองต้องเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อในอัตรากำหนด
- สินค้าที่ต้องเสีย VATได้แก่ ทองรูปพรรณใหม่ ค่ากำเหน็จ ค่าหลอมทองเก่า
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
หากในบางกรณี เช่น การรับจำนำ การให้กู้ยืมเงิน อาจต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มเติมอัตราภาษีและเงื่อนไขการเสียภาษีจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ
- การรับจำนำในกรณีหากมีการประกอบธุรกิจรับจำนำ จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือรายได้จากการขายของที่หลุดจำนำ
- อัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทของกิจการ
ภาษีอื่นๆ
- ภาษีป้ายโดยต้องเสียภาษีป้ายตามกฎหมายที่กำหนด
- อากรแสตมป์กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกสารสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ อาจต้องเสียอากรแสตมป์ในบางกรณี เช่น สัญญาเช่า สัญญาจำนอง
จุดที่ควรให้ความสำคัญ
- การบันทึกบัญชีอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวณภาษีได้อย่างถูกต้องและง่ายต่อการตรวจสอบของสรรพากร
- การจัดทำเอกสาร เอกสารต่างๆ เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน ต้องจัดทำอย่างถูกต้องและครบถ้วน
- การยื่นแบบแสดงรายการภาษีโดยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้ถูกต้องและตรงตามกำหนดเวลา
- การขอคืนภาษีซื้อในกรณีหากมีการซื้อสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาษี
- ประเภทของทองคำ เช่น ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ หรือทองคำประเภทอื่นๆ
- ช่องทางการขาย เช่น ขายปลีก ขายส่ง หรือจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์
- บริการเสริม เช่น การรับซื้อคืนทองคำ การให้บริการหลอมทองคำ
สำคัญที่ที่สุดในเรื่องของกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายภาษีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้ประกอบการควรติดตามข่าวสารและอัปเดตความรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอยู่เสมอ ควรเก็บรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน ไว้เป็นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การยื่นแบบแสดงรายการภาษีโดยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามกำหนดเวลาที่สำนักงานสรรพากรกำหนด
ช่องทางในการยื่นภาษี
กรณีถ้าเป็นบุคคลธรรมดา
- สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีแบบกระดาษได้ที่กรมสรรพากรในพื้นที่นั้นๆ หรือสามารถยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านระบบ e-filing ของกรมสรรพากร
- ผ่านโปรแกรม RD Smart Tax
กรณีถ้าเป็นนิติบุคคล
- สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีแบบกระดาษได้ที่กรมสรรพากรได้โดยตรงที่กรมสรรพากรในเขตพื้นที่นั้นๆ
- หรือสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีในรูปแบบอิเล็กนิกส์ผ่านระบบ e-filing ของกรมสรรพากร โดยดูข้อมูลการออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางผู้ให้บริการระบบ etax invoice (ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์) ผู้เสียภาษีสามารถนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ etax invoice&e-receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์
“ช่วงเวลาในการยื่นภาษีมีความสำคัญมาก การยื่นภาษีตรงเวลาก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและทางการเงิน การยื่นแบบแสดงรายการภาษีก็เช่นนับเป็นอีกหน้าที่สำคัญของผู้มีเงินได้ การเลือกช่องทางในการยื่นที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”