ทำไมการค้ายุคใหม่ควรใช้ e-Tax Invoice: การค้ายุคใหม่จาก Commerce สู่ E-Commerce
ในอดีต “การค้า” คือการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในสถานที่จริง เช่น ตลาด ร้านค้า หรือศูนย์การค้า แต่ปัจจุบันด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต การค้ายุคใหม่ได้เปลี่ยนผ่านจาก Commerce สู่ E-Commerce หรือการค้าแบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งไม่เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการขาย แต่ยังเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งระบบ เช่นเดียวกันกับเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ได้เปลี่ยนจากรูปแบบ “กระดาษ” มาเป็นแบบ “อิเล็กทรอนิกส์” โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษเลยด้วยซ้ำ หรือที่เรียกว่า e-Tax Invoice & e-Receipt
คอมเมิร์ซ์ (Commerce) คือ การซื้อขายสินค้าและบริการในรูปแบบดั้งเดิม มีช่องทางการขาย ผ่านหน้าร้าน ตลาด ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งมีความแตกต่างจาก อีคอมเมิร์ซ์ (E-Commerce)
อีคอมเมิร์ซ์ (E-Commerce) คือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือการทำธุรกรรมซื้อขาย การให้บริการ หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นเป็นสื่อกลางในการซื้อ-ขายออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ หรือในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Commerce กับ E-Commerce
หัวข้อ | Commerce (แบบดั้งเดิม) | E-Commerce (แบบออนไลน์) |
ช่องทางขาย | ร้านค้า, ตลาด | เว็บไซต์, Shopee, Facebook |
เวลาเปิด-ปิดร้าน | เวลาทำการจำกัด | ขายได้ 24 ชั่วโมง |
การเข้าถึงลูกค้า | เฉพาะในพื้นที่ | ทั่วประเทศ / ทั่วโลก |
วิธีโปรโมทสินค้า | ป้าย, ใบปลิว, โปรโมชั่นหน้าร้าน | Ads, SEO, Influencer |
ประเภทเอกสารที่ใช้ | กระดาษ | e-Document / e-Tax Invoice & e-Receipt |

บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไมต้องเปลี่ยนจาก Commerce สู่ E-Commerce?
- เข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น
- ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกันและทำการซื้อขายกันได้ทั่วโลก
- ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ
- เปลี่ยนจาก Commerce สู่ E-Commerce ไม่ต้องลงทุนเช่าพื้นที่เพื่อเปิดหน้าร้าน และจ้างแรงงานมาเพื่อบริการขายสินค้า
- มีความยืดยุ่นและปรับตัวได้เร็ว
- อยากเปลี่ยนโปรโมชั่น เปลี่ยนราคาหรือเพิ่มสินค้า ทำได้ทันทีในระบบ
- มีข้อมูลวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า
- มีระบบหลังบ้านที่สามารถดูยอดขาย วิเคราะห์สินค้า และพฤติกรรมลูกค้าแบบเรียลไทม์
- รองรับการเติบโตของธุรกิจได้ง่ายขึ้น
- ขยายธุรกิจได้ง่าย โดยไม่ต้องเปิดสาขาเพิ่ม
ตัวอย่างการเปลี่ยนผ่าน
ร้านขายเสื้อผ้า เปิดร้านบน Shopee, Facebook Shop หรือทำเว็บไซต์เอง
ร้านอาหาร ลงขายใน Grab, LINE MAN หรือโปรโมทผ่าน TikTok
ร้านหนังสือ เปลี่ยนมาขาย E-Book หรือจัดส่งแบบพัสดุ
บริการรับทำบัญชี เสนอแพ็กเกจบริการผ่านเว็บไซต์ พร้อมระบบจองออนไลน์
การค้ายุคใหม่ (E-Commerce) ระบบ e-Tax Invoice
การค้าในสมัยก่อน เอกสารบัญชีและภาษียังคงเป็นรูปแบบ “กระดาษ” ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องเก็บรักษาไว้เพื่อการตรวจสอบย้อนหลัง ซึ่งใช้ต้นทุนสิ้นเปลืองอย่างมาก แต่การค้ายุคใหม่ (E-Commerce) ไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ในรูปแบบกระดาษอีกต่อไป เพราะปัจจุบันนี้ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทสำคัญ และสร้างมาตราฐาน ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ให้ธุรกิจมากยิ่งขึ้นด้วยการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ในเอกสาร ซึ่งเอกสารจะมีการเข้ารหัสทำให้ถูกปลอมแปลงได้ยาก
การจัดการเอกสารสำคัญสำหรับธุรกิจจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เช่น “ใบกำกับภาษี” ปัจจุบันนี้กรมสรรพากรได้พัฒนาระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาระบบเอกสารนี้ ทั้งการส่งมอบและจัดเก็บเอกสารใบกำกับภาษี โดยกิจการสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) โดยไม่ต้องใช้กระดาษเลยด้วยซ้ำ เพราะสามารถจัดส่งเอกสารให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น E-mail / SMS เป็นต้น เช่นเดียวกับการส่งสำเนาใบกำกับภาษีให้กับกรมสรรพากรเช่นเดียวกัน ซึ่งจะต้องจัดส่งเป็นไฟล์ XML ตามมาตรฐานกรมสรรพกร
เปรียบเทียบ เอกสารกระดาษ vs e-Tax Invoice & e-Receipt
รายการ | เอกสารกระดาษ | e-Tax Invoice & e-Receipt (เอกสารอิเล็กทรอนิกส์) |
รูปแบบเอกสาร | เอกสารพิมพ์ลงกระดาษ | ไฟล์ดิจิทัล (PDF/XML) |
การจัดส่ง | ส่งไปรษณีย์, มอบด้วยมือ | ส่งผ่านอีเมล หรือระบบออนไลน์ |
ต้นทุน | ค่ากระดาษ, ค่าพิมพ์, ค่าจัดส่ง | ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการใช้กระดาษ |
ความเร็วในการส่งเอกสาร | ใช้เวลา 1-3 วัน (ตามการจัดส่ง) | ส่งได้ทันทีแบบ Real-time |
ความปลอดภัยของเอกสาร | อาจสูญหายหรือถูกปลอมแปลงได้ง่าย | มีลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) ป้องกันการแก้ไข |
การจัดเก็บเอกสาร | ต้องเก็บเป็นแฟ้มกระดาษ | จัดเก็บแบบอิเล็กทรอนิกส์ ค้นหาและเรียกดูง่าย |
การนำส่งสรรพากร | ส่งเอกสารกระดาษ | ส่งผ่านระบบ |
โดยสรุป การค้าในยุคปัจจุบันนี้ได้พัฒนาสู่ E-Commerce ซึ่งสร้างโอกาสในการขายมากกว่าการค้ายุคเดิม (Commerce) เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น ลดต้นทุนกิจการ รวมถึงมีความยืนหยุ่นและสามารถปรับตัวได้เร็วกว่า นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญนั้นคือ “เอกสารทางธุรกิจ” ที่ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงจาก “รูปแบบกระดาษ” ไปสู่ “รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์” อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ในเอกสารบางประเภทที่มีความสำคัญมากๆ อย่างเช่น “ใบกำกับภาษี” ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัลตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร หรือที่เรียกว่า ระบบ e-Tax Invoice เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลตามกฎหมาย จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจการค้าได้อย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียวค่ะ