ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คืออะไร ?
“รู้หรือไม่ว่า ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของเอกสารใบกำกับภาษี หรือบางคนอาจจะไม่เคยรู้เลยว่าหน้าของใบกำกับภาษีนั้นเป็นแบบไหน วันนี้ เราจะมาบอกให้รู้ถึงความความหมายและข้อมูลในใบกำกับภาษีนั้น ว่าเป็นอย่างไร คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรค่ะ”
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญทางธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญ ที่ทางผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องจัดทำ และออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง
“ใบกำกับภาษี เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เอกสารฉบับนี้ไม่เพียงแสดงรายละเอียดการซื้อขาย แต่ยังมีบทบาทสำคัญในระบบภาษีอีกด้วย”
ในปัจจุบันเชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะเคยได้ยินกับคำว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax หรือ e-Tax Invoice) ก็คือเอกสารใบกำกับภาษี เเต่อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์นั่นเองครับ
แล้วใครบ้างที่มีหน้าที่ในการจัดทำใบกำกับภาษี ?
ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ไม่ว่าจะในรูปแบบของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ถ้ามีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ ปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทครับ
แล้วต้องออกใบกำกับภาษีตอนไหน? ออกให้กับใคร?
สำหรับเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีนั้น ขอแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ครับ
1. ประเภทขายสินค้า
สำหรับการขายสินค้า ผู้ขายต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทันทีที่มีการส่งมอบสินค้า หรือ โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อก่อนส่งมอบ หรือ ได้รับชำระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ แล้วแต่กรณี
2. ประเภทให้บริการ
สำหรับการให้บริการนั้น ผู้ให้บริการจะต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้ชำระค่าบริการ หรือเมื่อมีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตัวเองหรือบุคคลอื่นก่อนได้รับชำระค่าบริการ แล้วแต่กรณี
นอกจากนี้ ผู้ขายและผู้ให้บริการต้องทำสำเนาใบกำกับภาษี และเก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีครับ
ใบกำกับภาษี มีกี่ประเภท?
ใบกำกับภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่:
– ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
– ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
หัวข้อ Checklist | ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป | ใบกำกับภาษีอย่างย่อ |
1.หัวข้อ | ในเอกสารเเสดงคำว่า “ใบกำกับภาษี” ที่เห็นชัดเจน | ในเอกสารเเสดงคำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ที่เห็นชัดเจน |
2.รายละเอียดของผู้ขาย-ผู้ซื้อ | เเสดงข้อมูล “ชื่อ ที่อยู่ เเละเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี” รวมทั้ง “ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” | เเสดงข้อมูล “ชื่อหรือชื่อย่อ ที่อยู่ เเละเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี” |
3.หมายเลขใบกำกับภาษี | เเสดงข้อมูล “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี เเละหมายเลขลำดับของเล่ม(ถ้ามี)” | เเสดงข้อมูล “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี เเละหมายเลขลำดับของเล่ม(ถ้ามี)” |
4.รายละเอียดข้อมุลสินค้า/บริการ | เเสดงรายละเอียด “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ เเละมูลค่าของสินค้าหรือบริการ” | เเสดงรายละเอียด “ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจน ว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เเล้ว” |
5.จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม | จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้เเยกออกจากมูลค่าของสินค้า/บริการให้ชัดเจน | รวมกับราคาสินค้าเเละบริการ |
6.วันที่ออกใบกำกับภาษี | เเสดงรายละเอียด “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี” | เเสดงรายละเอียด “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี”ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญในการออกใบกำกับภาษี ต้องมีการใส่ข้อมูลระบุวัน เดือนปี ที่ออกใบกำกับภาษีให้ชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเสียภาษีที่เกิดจริง |
หมายเหตุ | – | ตัวเเทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้ |
ประโยชน์ และ วัตถุประสงค์หลัก ของใบกำกับภาษี คือ?
- การแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการในใบกำกับภาษี ยกตัวอย่างเช่น ใบกำกับภาษี จะแสดงรายละเอียดสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย ราคาต่อหน่วย จำนวนสินค้าหรือบริการ รวมทั้งราคารวมทั้งหมด เป็นต้น
- การแสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี ยกตัวอย่างเช่น ในใบกำกับภาษี จะแยกแสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ผู้ขายเรียกเก็บจากผู้ซื้อ เป็นต้น
- เพื่อนำไปเป็นหลักฐานประกอบการเสียภาษีสำหรับผู้ซื้อหรือระหว่างระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เช่น ผู้ซื้อสามารถนำใบกำกับภาษีไปหักภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่จ่ายจากราคาสินค้าหรือบริการและ ใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) และภ.พ. 30เป็นต้น
- เพื่อนำไปเป็นหลักฐานประกอบการทำบัญชีเอกสารใบกำกับภาษีเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการทำบัญชี ใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อและการหักภาษีซื้อ สำหรับผู้ซื้อ เพื่อให้รู้ที่มาของรายได้และค่าใช้จ่าย เป็นต้น
รายละเอียดสำคัญ บนใบกำกับภาษีที่ต้องมีตามกฎหมาย ประกอบด้วย
- คำว่า “ใบกำกับภาษี”
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เช่น เลข 13 หลักของผู้ขายหรือผู้ให้บริการ
- ชื่อและที่อยู่ของผู้ขายหรือผู้ให้บริการ
- ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ
- เลขที่ใบกำกับภาษี
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
- รายละเอียดสินค้าหรือบริการ เช่น ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ หน่วยวัด และราคาต่อหน่วย
- จำนวนเงิน เช่น ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เรียกเก็บ
- ราคารวม เช่น ราคายอดรวมรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ข้อความอื่นๆ ที่กรมสรรพากรกำหนด เป็นต้น
ประเภทของใบกำกับภาษี
- ใบกำกับภาษีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
- ใบกำกับภาษีเต็มรูป เช่น เป็นใบกำกับภาษีที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
- ใบกำกับภาษีอย่างย่อ เช่น เป็นใบกำกับภาษีที่มีรายละเอียดบางส่วนที่สามารถตัดทอนออกได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร เป็นต้น
สรุปใจความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการออกใบกำกับภาษี
กฎหมายเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษี มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างมาก ผู้ประกอบการควรศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายอย่างละเอียด เพื่อปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น การออกใบกำกับภาษี ไม่ได้เป็นเพียงภาระทางกฎหมาย แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถนำไปสู่ระบบภาษีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย เป็นต้น และใบกำกับภาษี (Tax Invoice) เปรียบเสมือนเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ใจความสำคัญของใบกำกับภาษีมีดังนี้
- ข้อมูลประจำตัวผู้ขาย
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (เลขทะเบียนพาณิชย์)
- ชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย
- ชื่อและนามสกุลของผู้เซ็นชื่อออกใบกำกับภาษี
- ข้อมูลประจำตัวผู้ซื้อ
- ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (หากมี)
- ข้อมูลสินค้าหรือบริการ
- รายละเอียดสินค้าหรือบริการ
- หน่วยนับ
- ปริมาณ
- ราคาต่อหน่วย
- ยอดรวม
- ข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่ม
- อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%)
- ยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ยอดรวมสุทธิ
- ข้อมูลอื่นๆ
- วันที่ออกใบกำกับภาษี
- เลขที่ใบกำกับภาษี
- เงื่อนไขการชำระเงิน เป็นต้น
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (etax/e-tax invoice/e-Tax)
ใบกำกับภาษีเป็นหนึ่งในประเภทเอกสารที่สามารถจัดทำเป็นในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร หรือที่เรียกว่า ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax invoice) โดยอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น XML,PDF/A-3 หรืออื่นๆ ที่สามารถเข้าถึงเเละนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง เเละมีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง เเละมีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ระบุตัวตนของผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อที่ออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “การลงลายมือชื่อดิจิทัล” เเละส่งเอกสารให้เเก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ช่องทาง Email หรือ SMS เป็นต้น