หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจหรือยังสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 ว่าคืออะไร โดยตามกฎหมายแล้วกำหนดให้กลุ่มนิติบุคคล อาทิ เช่น (บริษัทจำกัด. ห้างหุ้นส่วนจำกัด. หรือ บริษัทมหาชน) ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถยื่นภาษี ได้ 2 ช่วง คือ ช่วงกลางปี และช่วงปลายปี แต่จะยื่นแบบไหนเเละเริ่มอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51กันค่ะว่า แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร
ภ.ง.ด 50 คืออะไร?
ในการเสียภาษีเงินได้ปลายปีนั้น จะต้องใช้แบบกรอกข้อมูลที่เป็นฟอร์มของ ภ.ง.ด.50 และต้องเซ็นรับรองจากฝ่ายบัญชี หรือผู้ตรวจสอบบัญชี โดยแนบเอกสารงบการเงินต่างๆที่มีการเซ็นรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร โดยมีกำหนดให้ส่งแบบภายใน 150 วัน โดยใช้ช่องทางในการยื่นผ่าน Website ของกรมสรรพากร ช่องทาง e-filing ตัวอย่างเช่น หากปิดงบ วันที่ 31 ธันวาคม ทางผู้ประกอบการจะต้องนำส่ง ภ.ง.ด.50 ภายใน วันที่30พฤษภาคม (ภายใน 150 วัน นับจากวันที่ปิดงบจนถึงวันที่ต้องนำส่ง) โดยฝ่ายบัญชีจะต้องนำกำไรมาคูณกับอัตราภาษีเพื่อนำข้อมูลที่ได้มากรอกใน ภ.ง.ด.50 เป็นต้น
ยกตัวอย่าง เช่น (ภาษีเงินได้ = กำไรทางภาษี x อัตราภาษี)
วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50
สำหรับตัวอย่างแบบ ภ.ง.ด.50 และวิธีการในการกรอกแบบ ทุกท่านสามารถดูรายละเอียดจากกรมสรรพากรตามลิงค์นี้ https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/cit/int5053_231253.pdf วิธีการกรอกแบบภ.ง.ด.50
กำหนดเวลายื่น:
- ต้องยื่นภายใน 150 วัน นับถัดจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น
ช่องทางในการยื่นเอกสารหัก ณ ที่จ่าย สามารถยื่นผ่านช่องทางใดได้บ้าง:
- ยื่นผ่านระบบ e-filing บนเว็ปไซต์ของกรมสรรพากร
- ยื่นได้ที่ ณ สำนักงานกรมสรรพากรในพื้นที่ โดยตรง
ภ.ง.ด. 51 คืออะไร?
ในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จะต้องนำส่งช่วงกลางปี ภ.ง.ด.51 ซึ่งแบบในการกรอกจะต้องมีฝ่ายบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี มีการเซ็นรับรองก่อน จึงจะนำส่งให้กับทางกรมสรรพากรได้ โดยใช้ช่องทางการยื่นได้ที่ Website ของกรมสรรพากร ผ่านระบบ e-filing ซึ่งตามกฏหมายผู้ประกอบการต้องนำส่งแบบ ให้กับทางกรมสรรพากร ภายใน 2 เดือน นับจากวันที่ปิดงบ วันที่ 30 มิถุนายน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงมีหน้าที่นำส่งแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในเดือน สิงหาคม ของทุกๆปี
วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 51
วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 51 ตามลิ้งค์นี้ https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/cit/2564/Ins51_240564.pdf สำหรับการกรอกแบบ โดยสามารถดูข้อมูลยอดขายหรือภาษีขายในระบบ Etax ได้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 51 ได้ง่ายขึ้น
ภ.ง.ด.51 จะมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้ประกอบการต้องรู้ คือ การคำนวณภาษีแบบกลางปี
การคำนวณเเบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- ประเภทที่ 1 : คำนวณภาษีจากกำไรสุทธิของรอบบัญชีหกเดือนแรก
- ประเภทที่ 2 : คำนวณจากภาษีครึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิ
- ประเภทที่ 3 : คำนวณจากภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย
ประเภทที่ 1
การคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิในรอบบัญชี 6 เดือนแรก ต้องเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น บริษัทมหาชนต่างๆ อาทิ ธนาคาร ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินต่างๆ เป็นต้นและต้องยื่นภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงแรกของปีเท่านั้น
ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้กำไรที่เกิดขึ้นจริง เพราะโดยส่วนมีการปิดบัญชีทุกๆเดือน และหลังจากนั้น จะมีผู้สอบบัญชีเข้าตรวจสอบงบการเงิน ไตรมาสละ 1 ครั้ง จึงต้องใช้ข้อมูลของกำไลที่เกิดขึ้นจริงที่เป็นยอดสุทธิช่วงแรกของปี นำมายื่นภาษีก่อนครึ่งหนึ่ง
ประเภทที่ 2
ในส่วนของผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีครึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิ สามารถใช้ได้กับนิติบุคคลทั่วไป และไม่จดทะเบียนในตลากหลักทรัพย์ อาทิเช่น ธนาคาร ธุรกิจเกี่ยวกับการเงินทุกประเภท หรือบจก.มหาชน เป็นต้น จำเป็นต้องยื่นภาษีด้วยด้วยการนำกำไรสุทธิประจำปี นำมายื่นเพื่อเสียภาษีครึ่งหนึ่งก่อน
เหตุผลที่ใช้ประมาณการกำไร
- นิติบุคคลกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ปิดบัญชีปีละครั้งตอนสิ้นปี
- ยังไม่มีตัวเลขกำไรที่แท้จริงในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา
- การใช้ประมาณการกำไรนั้นช่วยทำให้การทำงานของกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้เร็วขึ้น
ประเภทที่ 3
ในส่วนของผู้ประกอบการที่เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย จะมีเพียง 2 ประเภทธุรกิจหลักๆได้แก่
- ประเภทธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ
- เสียภาษีจาก รายได้ก่อนหักรายจ่าย ในอัตราร้อยละ ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.52 ภายใน 150 วัน นับจากวันที่สิ้นรอบบัญชี
- มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการแล้วมีรายได้
- เสียภาษีจาก รายได้ก่อนหักรายจ่าย ในอัตราร้อยละ ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.55 ภายใน 150 วัน นับจากวันที่สิ้นรอบบัญชี
การยื่น ภ.ง.ด.51 สามารถยื่นผ่านช่องไหนได้บ้าง
- กำหนดเวลายื่น
- ภ.ง.ด. 51 ภายใน 2 เดือน นับถัดจากวันที่ปิดงบกลางปี วันที่ 30 มิถุนายน
- กรณีปิดกิจการ ยื่นภายใน 30 วัน นับถัดจากวันปิดกิจการ
- การยื่น
- ยื่นผ่านระบบกรมสรรพากร ช่องทาง e-filing
- ยื่นใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ได้ที่ ณ สำนักงานกรมสรรพากรในพื้นที่ โดยตรง
สรุปกรณีที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51
ภ.ง.ด.50: บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ต้องปิดงบ วันที่ 31 ธันวาคม ทางผู้ประกอบการจะต้องนำส่ง ภ.ง.ด.50 ภายใน วันที่30พฤษภาคม (ภายใน 150 วัน นับจากวันที่ปิดงบจนถึงวันที่ต้องนำส่งเท่านั้น
ภ.ง.ด.51: บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากการประมาณการกำไรสุทธิหรือจากกำไรสุทธิ กรณีเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเออร์ ทางผู้ประกอบการต้องนำส่งแบบ ให้กับทางกรมสรรพากร ภายใน 2 เดือน นับจากวันที่ปิดงบ คือวันที่ 30 มิถุนายน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงมีหน้าที่นำส่งแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในเดือน สิงหาคม ของทุกๆปี เป็นต้น
หากมีการยื่นภาษีช้า การละเลยหรือหลีกเลี่ยงการเสียภาษี มีโทษปรับตามอาญา ดังนี้
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 1,000 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท
ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลที่นิติบุคคลต้องยื่นต่อกรมสรรพากร แต่มีวัตถุประสงค์และระยะเวลาในการยื่นที่แตกต่างกัน ดังนี้ ทั้ง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการนิติบุคคลในการปฏิบัติตามที่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดเอาไว้ว่าด้วยกฎหมายและเพื่อทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสองแบบจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมกยิ่งขึ้น
ปรึกษาด้าน e-tax Invoice
เริ่มใช้ระบบใบกำกับภาษีเเละใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax Invoice& e-Receipt) เพื่อลดต้นทุน ทำงานสะดวกเเละรวดเร็วมากขึ้น
สนใจใช้บริการ ปรึกษาฟรี
📞 095-5594566 / 061-4014550
💚 Line : @etaxeasy
🌐 https://etaxeasy.com