4 สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs
ถ้าให้พูดถึงการทำธุรกิจในประเทศไทย นอกจากต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการตลาด การแข่งขัน และการจัดการแล้วยังมีภาระหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การเสียภาษี ภาษีเปรียบเสมือนหลอดเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงประเทศ ช่วยให้รัฐบาลมีรายได้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ แต่สำหรับผู้ประกอบการ ภาษีอาจเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลยทีเดียวอย่างไรก็ตาม ทางภาครัฐยังได้มองเห็นถึงความสำคัญของภาคธุรกิจ จึงได้ออก มาตรการภาษี มากมายเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อนำไปส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต แข็งแกร่ง และสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ รัฐบาลไม่ได้มีเพียงสิทธิประโยชน์ให้เพียงอย่างเดียว แต่ทางกรมสรรพากรก็ได้มีการพัฒนาระบบ Etax ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ประกอบการที่ใช้บริการระบบEtax ได้มีตัวช่วยในการจัดการเอกสารง่ายขึ้นเพื่อใช้นำไปใช้ในการยื่นภาษีได้อย่างสะดวกสะบายอีกด้วย
“รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจ (SMEs) มาโดยตลอด หนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลใช้เพื่อสนับสนุน ธุรกิจ SMEs คือการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งเป็นการลดภาระทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ SMEs ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ในการขยายธุรกิจได้มากขึ้น”
ธุรกิจ (SMEs) มีขนาดกลางและขนาดย่อม มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐบาลจึงได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ธุรกิจ SMEs เติบโตและไปได้ไกลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ประเภทของสิทธิประโยชน์ทางภาษี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ แบ่งออกได้เป็นประเภทหลักๆ ดังนี้
1.การยกเว้นภาษี และ ลดหย่อนภาษี
ยกเว้นการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บางส่วนหรือทั้งหมด เป็นระยะเวลาหนึ่ง และ ลดหย่อนเงินได้ก่อนคำนวณภาษี
เงื่อนไข
ธุรกิจ SMEs ที่มีทุนการจดทะเบียน ที่ชำระแล้วเสร็จ ไม่เกิน 5 ล้านบาท ได้รับรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อรอบระยะบัญชี นิติบุคคลทั่วไป
กำไรสุทธิ
0-300,000
300,001-3,000,000
มากกว่า 3,000,000 ล้านบาท
อัตราภาษี ร้อยละ
ยกเว้น
15
20
2.การหักค่าใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการใช้ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- หักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จากรายได้ก่อนคำนวณภาษี เช่น การชื้อ หรือจัดจ้างให้ติดตั้งโปรแกรมที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถนำยอดที่จ่ายจริงตามจำนวนที่กรมสรรพากรกำหนดไม่เกิน 100,000 บาทมาหักในรายได้ที่คำนวณไว้ในแต่ละรอบบัญชี
- ธุรกิจ SMEs ที่ลงทุนในกิจกรรมวิจัยและพัฒนา จะได้รับสิทธิ์หักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
3.ภาษีเพื่อส่งเสริม นักธุรกิจหน้าใหม่ หรือ New Start Up ในเขตพื้นที่เฉพาะ
- มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท หลังจากหักทุนจดทะเบียนวันสุดท้าย และมียอดขาย ในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
- รับรายได้จากการขาย ในเขตพื้นที่ที่กรมสรรพากรได้กำหนดไว้ หรือรายได้ที่เกี่ยวข้อง ไม่เกินร้อยละ 80 ของยอดขายทั้งหมดในรอบบัญชี เป็นต้น
- ยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ในรอบที่กรมสรรพากรมได้กำหนดไว้เท่านั้น คือ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567
- ตามกฏหมาย การส่งเสริมการลงทุน ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
- ขยายเวลาในการยกเว้นภาษีเงินได้ออกไปอีก 3 ปี ให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจในชุมชน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 จนถึง 31 ธันวาคม 2568
และยังได้รับการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือจะเสียภาษีในอัตราน้อยกว่าธุรกิจทั่วไป เป็นต้น
4.มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ
- ธุรกิจ SMEs ที่จ้างงานผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปสามารถหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายในการจ้างงานได้ ตามทีกรมสรรพากรได้กำหนดไว้
- มาตรการนี้ช่วยให้ธุรกิจ SMEs ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างงานผู้สูงอายุ
การยื่นภาษีนั้นล้วนเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน หลักๆจะเป็นผู้มีรายได้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ตามรูปแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และในส่วนของนิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีบำรุงพื้นที่ ภาษีที่อยู่และสิ่งปลูกสร้าง ภาษีสรรพสามิต ภาษีอากรแสตมป์ เช่นเดียวกัน ภาษีทุกประเภทล้วนมีสิทธิประโยชน์มากมายทางภาษี แต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันออกไป มีหลากหลายองค์ประกอบ มีทั้งข้อดีแล้วข้อเสีย ภาษีทุกประเภทก็ไม่ได้มีเพียงสิทธิประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีโทษปรับที่แตกต่างกันออกไปสำหรับกรณีบุคคลที่ยื่นภาษีช้าหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี ตามกฏหมายที่กรมสรรพากรได้กำหนดต่างมีบทลงโทษ แต่ละประเภทก็ยังมีบทลงโทษที่แตกต่างกันออกไป