การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องแค่ การบริหารต้นทุน-กำไร เท่านั้น การวางแผนการเงินและภาษี รวมถึงการวางระบบในการดำเนินธุรกิจก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งหากต้องวางแผนว่า ธุรกิจของท่าน ควรจะดำเนินธุรกิจแบบไหนดี? ระหว่าง บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล ก็ต้องศึกษารายละเอียดและความแตกต่างของ 2 รูปแบบนี้เสียก่อน จึงจะตัดสินใจได้ว่าจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบไหนดี ซึ่งหลักๆ ก็จะมีผลในเรื่องของ “ภาษี” และการบริหารจัดการภายในธุรกิจ ซึ่งการดำเนินธุรกิจทั้งสองแบบ จะแตกต่างกันอย่างไร ติดตามอ่านได้ที่บทความนี้เลยค่ะ
1. การดำเนินกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา
การเริ่มต้นทำธุรกิจขนาดเล็ก หรือ กิจการที่เจ้าของดำเนินการเพียงคนเดียว มักเริ่มต้นในรูปแบบ “บุคคลธรรมดา” ซึ่งมีความคล่องตัวสูงและจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง แต่ก็มีข้อควรรู้เรื่อง การเสียภาษี และ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
รูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา
หากมีเจ้าของเพียงคนเดียว ธุรกิจจะถูกนับเป็น กิจการของบุคคลธรรมดา
แต่หากมีผู้ร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยไม่ได้จดทะเบียนบริษัท จะถือเป็น “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ซึ่งผู้ร่วมลงทุนทุกคนต้องมีหน้าที่ในการเสียภาษีจากรายได้ของตน
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91)
เจ้าของกิจการต้องยื่นแบบแสดงรายได้ทุกปี และเสียภาษีตามขั้นบันไดภาษีที่กฎหมายกำหนดภาษีหัก ณ ที่จ่าย
กรณีรับงานจากบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ ผู้ว่าจ้างจะทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้บางส่วนก่อนจ่ายเงินให้ และออกหนังสือรับรองการหักภาษี เพื่อให้นำมาหักลดยอดภาษีตอนยื่นแบบปลายปีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถออก ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ได้แล้ว โดยไม่ต้องใช้กระดาษเลยด้วยซ้ำ ลดต้นทุนการดำเนินการ ค่าพิมพ์ และค่าจัดส่งการจดทะเบียนพาณิชย์
แม้จะไม่ใช่บริษัท แต่ควรจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้กิจการดูน่าเชื่อถือ เป็นการแสดงตัวตนทางธุรกิจต่อสาธารณะว่าดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง มีที่อยู่ชัดเจน
ข้อดีของการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา
บริหารงานได้คล่องตัว: ตัดสินใจได้ทันที ไม่ต้องผ่านผู้ถือหุ้น
รับผลกำไรทั้งหมดคนเดียว: ไม่ต้องแบ่งกำไรกับใคร
เริ่มต้นง่าย ไม่ซับซ้อน: ไม่ต้องจดบริษัท ไม่ต้องทำบัญชีแบบเต็มรูปแบบ ประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อจำกัดและความเสี่ยง
แหล่งเงินทุนจำกัด: ไม่สามารถระดมทุนหรือกู้ยืมได้ง่ายเท่ากับบริษัท
ขาดความน่าเชื่อถือในสายตาผู้ลงทุนหรือคู่ค้า
การเสียภาษีแบบเหมาจ่าย: ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ละเอียดเหมือนบริษัท แม้ขาดทุนก็อาจต้องเสียภาษี
การทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาเหมาะกับผู้เริ่มต้นธุรกิจหรือกิจการขนาดเล็กที่ต้องการความเรียบง่ายและต้นทุนต่ำ แต่หากกิจการเริ่มเติบโต การเปลี่ยนไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาจช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ลดภาระภาษี และเปิดโอกาสทางการเงินได้มากขึ้น
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม:

2. การดำเนินกิจการในรูปแบบนิติบุคคล
การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คือการจัดตั้งธุรกิจให้แยกออกจากตัวเจ้าของอย่างเป็นทางการ เป็นโครงสร้างที่นิยมใช้เมื่อต้องการขยายกิจการ เพิ่มความน่าเชื่อถือ และ วางแผนภาษี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
บริษัทจำกัด (รูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด)
การเสียภาษีของนิติบุคคล
บริษัททั่วไป จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ
บริษัทขนาดเล็ก ที่เข้าเงื่อนไข:
ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท
รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่:ยกเว้นภาษีสำหรับ กำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก
อัตราภาษีแบบขั้นบันได (เฉพาะส่วนที่เกินจาก 300,000 บาท)
ข้อดีของการดำเนินธุรกิจแบบนิติบุคคล
- แยกหนี้สินจากเจ้าของชัดเจน
หากกิจการมีหนี้ ผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบเพียงไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่เท่านั้น ลดความเสี่ยงของเจ้าของกิจการ - ความน่าเชื่อถือสูงขึ้น
มีระบบบัญชีและเอกสารที่เป็นทางการ ทำให้ธนาคาร และคู่ค้ามั่นใจในสถานะทางการเงินของกิจการ - วางแผนธุรกิจได้ดีขึ้น
ข้อมูลทางบัญชีชัดเจน ช่วยให้บริหารจัดการ วางแผนลงทุน และควบคุมค่าใช้จ่ายได้แม่นยำขึ้น
- แยกหนี้สินจากเจ้าของชัดเจน
ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบนิติบุคคล
- มีขั้นตอนจัดตั้งและบริหารซับซ้อนกว่า
ต้องจดทะเบียนบริษัท มีข้อบังคับ จัดประชุมผู้ถือหุ้น และส่งงบการเงินทุกปี - ต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
ต้องจัดทำบัญชี และยื่นภาษีตามมาตรฐาน บางกรณีต้องจ้างนักบัญชีหรือผู้สอบบัญชี ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายด้านเอกสาร และการบริหารเพิ่ม
- มีขั้นตอนจัดตั้งและบริหารซับซ้อนกว่า
สรุป
ไม่ว่าจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ระหว่าง บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล ต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ผู้ประกอบการควรเลือกพิจารณาตามความเหมาะสมกับธุรกิจตัวเอง
การเลือกโครงสร้างธุรกิจควรพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น
- ขนาดของกิจการ
- รายได้ต่อปี
- ความต้องการขยายธุรกิจ
- ความพร้อมในการบริหารจัดการ
จะดำเนินธุรกิจแบบใดนั้น ไม่มีรูปแบบใดดีที่สุดแบบตายตัว อยู่ที่เจ้าของกิจการจะวางแผนให้เหมาะสมกับเป้าหมายและความสามารถในการบริหาร
สนใจใช้ระบบ e-Tax Invoice กับ EtaxEasy
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
- โทร: 062-626-5059
- LINE: @etaxeasy
- FB: @etaxeasy