ภาษี e-Service มีความสำคัญอย่างไร
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การทำธุรกรรมต่างๆหรือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องที่ปกติไปแล้ว ซึ่งรวมถึงการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ จากต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Netflix, Spotify, หรือ Shopee เป็นต้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การใช้บริการเหล่านี้ก็มีภาษีที่ต้องเสียเช่นกัน นั่นคือ ภาษี e-Service
ภาษี e-Service คืออะไร?
ภาษี e-Service หรือ ภาษีบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการซื้อสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) จากต่างประเทศ เช่น การสมัครสมาชิก Netflix, การซื้อแอปพลิเคชันบนมือถือ, การซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ต่างประเทศ เป็นต้น โดยภาษีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT%) ที่เราจ่ายกันอยู่เป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเสียภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ รวมถึงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับทางภาครัฐในการนำรายได้จากการจักเก็บภาษีเหล่านี้ไปพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ทำไมต้องมีภาษี e-Service?
- เพื่อสร้างความเท่าเทียมและให้เกิดความเป็นธรรมทางภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศในเรื่องของภาระภาษีที่เท่าเทียมกัน
- เพิ่มรายได้ของภาครัฐ เพื่อนำรายได้จากการเก็บภาษี E-Service ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น
- เพื่อควบคุมให้การค้าขายทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- และเพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศโดยการจัดเก็บภาษี E-Service อาจกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการในประเทศมากขึ้น
ใครต้องเสียภาษี e-Service
โดยทั่วไป ผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และมีรายได้จากการให้บริการในประเทศไทยเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บและนำส่งภาษี e-Service ให้กับกรมสรรพากรแทนผู้บริโภค
ประเภทของภาษี e-Service
ภาษี e-Service ส่วนใหญ่จะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT%) ซึ่งเป็นอัตราที่รัฐบาลกำหนด อย่างไรก็ตาม อาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าหรือบริการที่ซื้อ
ตารางการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทางกฎหมาย e-Service
ภาษี e-Service นั้นครอบคลุมไปถึงบริการทางอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายรูปแบบที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ซึ่งรวมถึงแพลตฟอร์มสื่อและโซเชียลมีเดียหลายแห่งด้วยค่ะ และแพลตฟอร์มที่เสียภาษี E-Service ได้แก่
- แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ดูหนัง ฟังเพลง เช่น
- Netflix
- Spotify
- Disney
- HBO Go
- Spotify
- WETV VIP
- Prime video
- VIU premium
- IQIYI VIP
- MONOMAX
- True ID
- AIS PLAY เป็นต้น
- แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น
- TikTok
- Line
- YouTube
- Twitter หรือ X
- LinkedIn (สำหรับบริการบางอย่าง เช่น การโฆษณา)
- แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ เช่น
- Steam
- Epic Games Store
- แพลตฟอร์มค้นหา
- แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
- Amazon
- Lazada
- Shopee
- TikTok Shop
- JD CENTER
- TEMU
- SHEIN(สำหรับบริการบางอย่าง เช่น การขายสินค้าดิจิทัล)
- แพลตฟอร์มจองตั๋ว เช่น
- com
- Agoda
- แพลตฟอร์มเรียกรถ เช่น
- Grab
- Line Man เป็นต้น
ภาษี e-Service เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมทางภาษีและเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล และเป็นอีกส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในยุคดิจิทัล การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษี e-Service นี้ จะช่วยให้ผู้บริโภคผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถวางแผนการเงินและปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องอีกด้วยค่ะ