ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การทำธุรกรรมต่างๆหรือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องที่ปกติไปแล้ว ซึ่งรวมถึงการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ จากต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Netflix, Spotify, หรือ Shopee เป็นต้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การใช้บริการเหล่านี้ก็มีภาษีที่ต้องเสียเช่นกัน นั่นคือ ภาษี e-Service
กฎหมาย e-Service ออกมาเพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างชาติ (e-Service) โดยกฎหมายฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป (พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2564)
ภาษี e-Service คืออะไร?
e-Service Tax หรือ ภาษีบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการซื้อสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) จากต่างประเทศ เช่น การสมัครสมาชิก Netflix, การซื้อแอปพลิเคชันบนมือถือ, การซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ต่างประเทศ เป็นต้น
โดยภาษีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เราจ่ายกันอยู่เป็นประจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเสียภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ รวมถึงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับทางภาครัฐในการนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีเหล่านี้ไปพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ทำไมต้องเก็บภาษี e-Service
- เพื่อสร้างความเท่าเทียมและให้เกิดความเป็นธรรมทางภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศในเรื่องของภาระภาษีที่เท่าเทียมกัน
- เพิ่มรายได้ของภาครัฐ เพื่อนำรายได้จากการเก็บภาษี e-Service ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น
- เพื่อควบคุมให้การค้าขายทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- และเพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศโดยการจัดเก็บภาษี e-Service อาจกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการในประเทศมากขึ้น
ใครต้องเสียภาษี e-Service
โดยทั่วไป ผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และมีรายได้จากการให้บริการในประเทศไทยเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บและนำส่งภาษี e-Service ให้กับกรมสรรพากรแทนผู้บริโภค
ในกรณีที่ผู้รับบริการเป็นบุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการต่างประเทศหรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศจะมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการที่เป็นประชาชนทั่วไปได้รับความสะดวกมากขึ้น (จากเดิมที่มีภาระต้องนำส่งภาษีแทนผู้ประกอบการต่างประเทศ)
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังคงมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ ตามแบบ ภ.พ.36 โดยยังคงสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งดังกล่าวไปใช้เป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
แล้วใครบ้างต้องเสีย ภาษี e-Service?
แบ่งได้ 3 รูปแบบดังนี้
- ผู้ประกอบการต่างประเทศ
- ผู้ใช้บริการในประเทศไทยที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ผู้ใช้บริการในประเทศที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
บริการใดบ้างที่ถูกบังคับใช้?
บรอการทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวคือ บริการซึ่งรวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด โดยลักษณะของบริการเป็นไปโดยอัตโนมัติในสาระสำคัญ โดยบริการดังกล่าวมาสามารถกระทำได้หากปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น
- ธุรกิจ e-Commerce ที่เปิดให้บริการซื้อขายสินค้าผ่าน Marketplace ออนไลน์
- ธุรกิจที่มีรายได้จากค่าโฆษณาและเปิดให้บริการโฆษณา
- ธุรกิจตัวกลาง ในลักษณะเอเย่นต์จำหน่ายสินค้าและบริการ เช่น แพลตฟอร์มท่องเที่ยวต่างๆ
- ธุรกิจตัวกลาง หรือ P2P เช่น กลุ่มบริการ Delivery บริการรถโดยสาร เป็นต้น
- ธุรกิจที่มีรายได้ระบบสมาชิก (Subscription) เช่น บริการ Streaming ภาพยนต์/เพลงออนไลน์
ผู้ประกอบการต่างชาติที่อยู่ในบังคับกฎหมายฉบับนี้ต้องทำอย่างไร?
ผู้ประกอบการดังกล่าวจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบ VES (VAT for Electronic Service) โดยสามารถเข้าถึงระบบดังกล่าวได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (https://eservice.rd.go.th/rd-ves-web/landing)
เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถ ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ระบบ VAT registrants outside of Thailand (https://eservice.rd.go.th/rd-ves-web/search/company)
แล้วประเทศอื่นมีกฎหมายลักษณะนี้ไหม?
กว่า 60 ประเทศ ได้มีการออกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มในลักษณะเช่นนี้แล้ว เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น เนื่องจากเป็นทางออกที่เป็นมาตรฐานสากลซึ่งองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)
ตารางการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทางกฎหมาย e-Service

vเมื่อเก็บ e-Service Tax แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
- ผู้ประกอบการต่างประเทศจะต้องมีต้นทุนที่เท่ากับผู้ประกอบการในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันกับผู้เล่น
- แพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติผลักภาระภาษีให้ผู้บริโภคเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด หรือบางส่วน หรืออาจยอมรับภาระไว้เอง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ประกอบการต่างชาติ
- กรมสรรพากรคาดว่าจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากนโยบายภาษี e-Service เพิ่มขึ้นได้ราว 5,000 ล้านบาท
ที่มา: iTax
e-Service Tax เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมทางภาษีและเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล และเป็นอีกส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในยุคดิจิทัล การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ e-Service Tax นี้ จะช่วยให้ผู้บริโภคผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถวางแผนการเงินและปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องอีกด้วยค่ะ
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม: https://etaxeasy.com/blog-etaxinvoice/