ทำอย่างไรดี เมื่อยื่นภาษีช้า
เราเชื่อว่าหลายคนคงถึงเวลาแล้วที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าอยู่ดีๆ บางครั้งเราอาจจะลืมการชำระเบี้ยเสียภาษีหรือเลยกำหนดเวลาในการชำระภาษีในเวลานั้น ไป แล้วเราควรทำอะไรต่อหลังจากนี้ถ้าเกิดเราดันลืมขึ้นมาจริงๆ
หลายคนอาจเคยประสบปัญหา แต่รู้หรือไม่ว่าการยื่นภาษีล่าช้า ซึ่งส่งผลเสียตามมาหลายประการ วันนี้เราจะมาอธิบายถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากท่านยื่นภาษีล่าช้า และแนะนำวิธีแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงต่อบทลงโทษ
ผลที่ตามมาของการยื่นภาษีช้า
1.ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
ประเภท หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1,2,3,53,90,91,94
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
- หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ประเภท ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 , ภ.พ.36
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท
ส่วนของนิติบุคคล
ประเภท ภ.ง.ด. 50, ภ.ง.ด. 51
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 1,000 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท
ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ล่าช้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
2.เงินเพิ่ม
เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
โดยเงินเพิ่มที่เสียต้องไม่เกินจำนวนภาษี
หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม
3.เบี้ยปรับภาษี
- จํานวนเงิน หรือการชําระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็นจํานวนเงินที่ควรจะเป็นตั้งแต่แรก ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นตัวผู้ที่เสียภาษีจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินเพิ่มจากจำนวนเดิมที่มีอยู่ โดยเงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีอากรที่ต้องชําระจะขึ้นอยู่กับสรรพากรเป็นคนกำหนด
แต่ละเบี้ยปรับมีค่าปรับยังไงบ้าง
1.ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 15 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ
2.ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ
3.ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
4.ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลัง 60 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
- เบี้ยปรับเงินเพิ่ม – ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กรณียื่นแบบ ภงด.90 ภงด.91 เกินกำหนดเวลา - ค่าปรับอาญา ถ้ายื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท ไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร (ในทางปฏิบัติสามารถขอลดค่าปรับได้ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 200 บาท)
- เงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี (นับเศษของเดือนเป็น 1 เดือน เช่น 1 เดือน 15 วัน ก็จะนับเป็น 2 เดือนทันที)
“กรณีไม่ชำระภาษีตามกำหนดเวลา ต้องเสียเบี้ยปรับเพิ่มเติม 1-2 เท่า ของภาษีที่ต้องจ่าย ขึ้นอยู่กับกรณีความผิด เป็นต้น”
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นในส่วน
- ถูกประเมินภาษีเพิ่มเติม กรณีสรรพากรตรวจสอบพบว่ามีรายได้ที่ยังไม่แจ้ง
- สูญเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล
- ถูกดำเนินคดีอาญา กรณีทุจริต หรือเจตนาเลี่ยงภาษี
ดังนั้น ควรยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ภายในกำหนดเวลา เพื่อป้องกันผลเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
แก้ไขกรณีการยื่นภาษีช้าด้วยวิธียื่นขอลดเบี้ยปรับ
ในกรณีนี้ถ้าตัวผู้เสียภาษีรู้แล้วว่าตนจะต้องเสียค่าปรับในกรณีใด ให้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง และกรอกแบบฟอร์มภาษี นำไปยื่น
กระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยการยื่นเพิ่มเติม หรือ ยื่นเกินกำหนดเวลาจะไม่สามารถยื่นภาษีผ่านออนไลน์ได้
- คำแนะนำในการวางแผนเกี่ยวกับการยื่นภาษี
- จดบันทึกกำหนดเวลาการยื่นภาษีไว้เพื่อไม่ให้ลืมวันสำคัญ
- เตรียมเอกสารที่จำเป็นให้พร้อมสำหรับการยื่นภาษีล่วงหน้า เช่น แบบฟอร์มในการกรอกข้อมูลภาษีและเอกสารสำคัญต่างๆ อาทิ
- หนังสือรับรองการหักภาษี เช่น
- 50 ทวิ
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- เงินปันผล
- เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้
- เบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้
- เบี้ยเลี้ยงบิดา มารดา หรือ (ใบ ล.ย 03)สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้
- เอกสารกองทุน LTF/RME สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้
- ยื่นภาษีออนไลน์ช่วยให้สะดวกในการยื่นภาษีและสามารถตรวจสอบสถานะได้ง่าย
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและวิธีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่เสมอ
- หนังสือรับรองการหักภาษี เช่น
1. กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านเว็บไซต์
- ไปที่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/
- เลือกเมนู “ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”
- ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วยเลขประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน
- เลือกประเภทแบบฟอร์มที่ต้องการยื่น (ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91)
- กรอกข้อมูลตามระบบ
- ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนส่ง
- เมื่อส่งข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงใบเสร็จรับเงิน
- พิมพ์ใบเสร็จรับเงินเก็บไว้เป็นหลักฐาน
2. กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ด้วยตนเอง
- ไปที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90/91 จากเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/ หรือขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
- กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน
- เตรียมเอกสารประกอบการยื่นภาษี
- ยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90/91 พร้อมเอกสารประกอบที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
- ชำระเงินภาษี (กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ)
การยื่นภาษีตรงตามกำหนดเวลา เป็นหน้าที่ของผู้เสียภาษีทุกคน การละเลยหรือหลีกเลี่ยงการเสียภาษี อาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับและเบี้ยปรับเพิ่มเติม ดังนั้น ควรวางแผนและจัดการเรื่องภาษีล่วงหน้า เพื่อป้องกันปัญหาและความยุ่งยากในภายหลัง
เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถือเป็นบทลงโทษเกี่ยวกับภาษีอากรอย่างหนึ่ง และอาจมีโทษทางอาญาด้วย แล้วแต่ความผิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงขั้นไหน โดยหากบุคคลใดยื่นแบบฯ ภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบฯ ล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบฯ จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วย ซึ่งมีบทลงโทษ ดังนี้
- กรณีจ่ายล่าช้าทางผู้เสียภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (นับจากเศษของเดือนให้เป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้จนถึงครบกำหนดวันชำระภาษี
- กรณีที่เจ้าพนักงานตรวจสอบแล้วมีการออกหมายเรียก และปรากฏว่าผู้เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ไว้ แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไปไม่ครบตามจำนวน นอกจากผู้เสียภาษีจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดเอาไว้
- กรณีผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในเวลาที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
- กรณีตั้งใจ และให้ข้อมูลเป็นเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
- และกรณีมีการเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น
เริ่มใช้ระบบใบกำกับภาษีเเละใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax Invoice& e-receipt) เพื่อลดต้นทุน ทำงานสะดวกเเละรวดเร็วมากขึ้น
สนใจใช้etax ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ปรึกษาฟรี
Call : 062-6265059
Line : https://lin.ee/FDgKp5v หรือ @etaxeasy
Website : https://etaxeasy.com