การเข้าเป็นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ถึงระบบธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา”
หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย แต่ในรูปแบบธุรกิจอาจส่งผลในการวางแผนภาษี
และในการจัดการบัญชีของกิจการในอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกรูปแบบของธุรกิจให้เหมาะสมกับ
กิจการของตนเองได้ ว่า ธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเป็นอย่างไร ต่างกันอย่างไรแล้วแบบไหนดีกว่า
1. การดำเนินกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา
ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปกิจการขนาดเล็กที่มีเจ้าของคนเดียว จะมีการบริหารจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ในกรณีที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจะ
มีการตกลงกันเพื่อทำธุรกิจ โดยมีการแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันแต่จะไม่ได้มีการจดบริษัท หุ้นส่วนทุกคนต้องมีการเสียภาษี
แบบบุคคลธรรมดากฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี
ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย และควรจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อบอกให้คนทั่วไปทราบว่า คุณทำธุรกิจแบบถูกต้องเปิดเผย
มีสถานที่ตั้งประกอบกิจการชัดเจน
ข้อดีของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา
มีความคล่องตัวสูง เนื่องจากสามารถคิดและตัดสินใจได้คนเดียว ไม่ต้องรอความคิดเห็นจากผู้ถือหุ้น
รับกำไรแต่เพียงผู้เดียว
จัดตั้งง่าย ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก
ไม่ต้องจัดทำบัญชี ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านเอกสาร
ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา
ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา
มีเงินลงทุนเท่าที่เจ้าของกิจการลงไป การระดมทุนเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขาดความน่าเชื่อถือ
อาจถูกมองว่าไม่มีความมั่นคงทั้งด้านการเงิน และการบริหาร
การเสียภาษีจะเป็นลักษณะเหมาจ่าย แม้ว่าปีนั้นผลประกอบการจะขาดทุน หากแต่ไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักได้
ทำให้ต้องเสียภาษี
2. การดำเนินกิจการในรูปแบบนิติบุคคล
ธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล คือ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่ตกลงทำกิจการร่วมกัน จะมีทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน ถ้าเป็นบริษัททั่วไป จะเสียภาษีอยู่ในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี
แต่ถ้าหากเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท
จะได้รับสิทธิประโยชน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก
ข้อดีการดำเนินกิจการในรูปแบบนิติบุคคล
สามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะมีข้อมูลทางบัญชีที่น่าเชื่อถือ ทำให้ธนาคารรู้ฐานะที่แท้จริงของกิจการ
และ สามารถนำไป วางแผนบริหารจัดการธุรกิจได้
มองความเสี่ยงในแง่ความรับผิดในหนี้สิน ก็จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะธุรกิจจะถูกแยกจากตัวจากเจ้าของกิจการ
อย่างชัดเจน หนี้สินของกิจการจะเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น จำกัดเฉพาะมูลค่าหุ้นที่เป็นเจ้าของเท่านั้น
ข้อเสียของการดำเนินธุรกิจแบบนิติบุคคล
มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ต้องมีการจัดการเอกสาร จัดทำบัญชีตามแบบของกรมสรรพากร ทำให้ในบางกิจการต้องมีการจ้างผู้ทำบัญชี
เพื่อจัดการเอกสารตรงส่วนนี้ ทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายภายในองค์การเพิ่มขึ้น
สรุปการทำธุรกิจไม่จะแบบไหนก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ที่เจ้าของธุรกิจจะเลือกไปปรับใช้ให้เข้ากับองค์กร
โดยเปรียบเทียบกับรายได้ ขนาดขององค์กรไม่มีการดำเนินการแบบไหนที่ดีกว่า