รู้ก่อนได้เปรียบ e-Tax Invoice& e-Receipt
“eTax Invoice & e-Receipt คือ ระบบการออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนรูปแบบกระดาษทั่วไป โดยผู้ประกอบการสามารถออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเว็บแอปพลิเคชัน(Web Application) กับทางผู้ให้บริการอาทิเช่น ระบบ Etaxeasy เพื่อให้รูปแบบเอกสารถูกต้องตามแบบที่กรมสรรพากรกำหนด และส่งมอบให้กับลูกค้าผ่านทางอีเมล หรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แทนการส่งมอบเอกสารในรูปแบบกระดาษ เป็นต้น”
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คืออะไร
ตามคำนิยามที่กรมสรรพากรให้ไว้ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) คือ ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้หมายความรวมถึง ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามมาตรา 86/6 ใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยระบบ e-Tax Invoice by Email ในส่วนของใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คือใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ด้วยวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนดแล้ว
– โดยสรุปก็คือใบกำกับภาษีและใบรับที่เราคุ้นเคยแต่ถูกจัดทำให้มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง
แล้วลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คืออะไร
ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวอักษร อักขระ หรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจความหมายได้แต่ในการใช้งานจะมีกลไกในการสร้างและการตรวจสอบลายมือชื่อดังกล่าว อันสามารถเชื่อมโยงถึงตัวบุคคลผู้สร้างหรือเจ้าของลายมือชื่อ ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
การใช้ลายมือชื่อดิจิทัล หากเป็นกรณีของการทำธุรกรรมที่มีความสำคัญ มีชั้นความลับ หรือมีมูลค่ามากๆ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายอาจต้องการความมั่นใจว่า บุคคลที่ตนเองติดต่อด้วยนั้นเป็นคนๆ นั้นจริงก็อาจมีการกำหนดให้ใช้ลายมือชื่อดิจิทัล อันเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอักษร อักขระ หรือสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจความหมายได้ แต่ในการใช้งานจะมีกลไกในการสร้างและการตรวจสอบลายมือชื่อดังกล่าว อันสามารถเชื่อมโยงถึงตัวบุคคลผู้สร้างหรือเจ้าของลายมือชื่อ
โดยเทคโนโลยีที่ใช้เป็นกลไกในการสร้างและตรวจสอบลายมือชื่อดิจิทัลนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1. Public Key Infrastructure เทคโนโลยีการเข้ารหัสลับควบคู่กับการจัดการรหัสต่างๆที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า PKI (หรือโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ) โดยเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ เป็นเทคโนโลยีที่อาศัยระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ (Public Key Cryptography) ที่ประกอบด้วยกุญแจส่วนตัว (Private key) และกุญแจสาธารณะ (Public key) ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวใช้ในการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) รวมทั้งการรักษาความลับของข้อมูล (Data Confidentiality) ความครบถ้วนของข้อมูล (Data Integrity) และการห้ามปฏิเสธความรับผิด (Non-repudiation)
2. วิธีการจัดการกุญแจแบบ PGP (Pretty Good Privacy)
โดยที่ทั้งสองวิธีการนั้น พัฒนาขึ้นจากวิทยาการเข้ารหัสลับ (Cryptography) จึงทำให้มีคุณสมบัติในการสร้างและตรวจสอบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ผลเป็นที่แน่นอน
สรุปแล้วนั้นเหตุที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล ก็เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล และทำให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับ-ส่งระหว่างกันนั้นใครเป็นผู้ส่ง และข้อมูลมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังจากมีการลงลายมือชื่อแล้วหรือไม่ อีกทั้ง ยังเป็นการป้องกัน กรณีข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับ ไม่ต้องการให้ผู้อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตล่วงรู้ข้อมูล
ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
1. ผู้ประกอบการที่ขอจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt
– ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือมีหน้าที่ออกใบรับ
– มีใบรับรองอิเล็กทรอกนิกส์
– มีระบบควบคุมภายในที่ดี โดยมีวิธีสร้างส่ง และเก็บรักษาข้อมูลที่เชื่อถือได้
2. ผู้ประกอบการที่ขอจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice by Email
– ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
– มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
หน้าที่ของผู้ออกใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์
1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนด
2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
4. เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของ etax invoice & e-receipt
-ประโยชน์-
1. เป็นการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานให้ง่ายขึ้น ลดความซับซ้อนของงาน ทำให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. เนื่องจากการจัดทำและเตรียมเอกสารอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ทำให้ใช้เวลาในการจัดทำน้อยลง อีกทั้งยังลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสารอีกด้วย และยังลดระยะเวลาในการค้นหาเอกสาร
3. สามารถนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลต่อในระบบสารสนเทศภายในองค์กรได้ทันที
4. ประหยัดพื้นที่และลดต้นทุนในการจัดเก็บเอกสาร ลดขั้นตอนการออกเอกสารด้วยระบบ e-Tax Invoice& e-Receipt ช่วยให้สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที โดยไม่ต้องพิมพ์เอกสารกระดาษ ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อกระดาษ หมึกพิมพ์ และค่าขนส่งจัดเก็บเอกสารง่ายเนื่องจาก เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ถูกจัดเก็บไว้ในระบบ ค้นหาได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาเอกสารกระดาษ และยังช่วยลดในส่วนของภาระงาน ในการจัดการเอกสาร ทำให้สามารถทำงานอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-วัตถุประสงค์-
1. ส่งเสริมและสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และ National e-Payment
2. รองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร เตรียมพร้อมเข้าสู่ Digital Transformation
3. ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและการบริหารจัดการของภาครัฐและภาคเอกชน
4. ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน และช่วยแก้ไขในส่วนที่องค์กรสามารถทำได้ เช่น ลดการใช้เอกสารในรูปแบบของกระดาษ
5. เพิ่มความมั่นใจ ผ่านการดำนเนินการภายใต้มาตรฐานที่กรมสรรพากรยอมรับและเป็นมาตรฐานสากล
“eTax Invoice & e-Receipt เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจยุคดิจิทัล ผู้ประกอบการที่เข้าใจและนำระบบนี้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะได้รับประโยชน์มากมาย ทั้งด้านความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และยังสามารถสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจผู้ประกอบการที่ใช้ระบบ e-Tax Invoice& e-Receipt จะได้เปรียบผู้ประกอบการที่ไม่ได้ใช้ระบบในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ สร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัย และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ดังนั้น ผู้ประกอบการควรพิจารณาใช้ระบบ e-Tax Invoice& e-Receipt เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ”
e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นระบบที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีประโยชน์ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคเนื่องจากเป็นการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล และเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับผู้ประกอบการทุกคน ช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นอีกด้วย