ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากจะกำหนดสิทธิต่างๆ ที่ประชาชนพึงมีไว้แล้ว ยังได้กำหนดหน้าที่ของประชาชน
ที่จะต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งกฎหมายที่ใช้เป็นข้อกำหนดในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลกฎหมายรัษฎากร
ภาษี หมายถึง เงินที่เก็บจากประชาชน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศพื่อนำมาใช้บริหารและพัฒนาประเทศให้
เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษา
ความสงบภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน
โดยภาษีจะแบบออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากกการประกอบอาชีพ โดยมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ได้จากกการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆ ของประชาชนหรือที่เรารู้จักกันว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”
นั้นเอง
“ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” กับ “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” จัดอยู่ในรูปแบบของ #ภาษีทางตรง
โดยภาษีทั้งสองประเภทนี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปและผู้ที่คิดจะเริ่มทำธุรกิจใหม่ควรทราบ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีจะจัดเก็บจากประชาชนผู้มีเงินได้ทั่วไป ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โดยปรกติจะจัดเก็บเป็นปี ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่
กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บได้จากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ในส่วนรูปแบบ #ภาษีทางอ้อม จะมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาประเทศ จึงมีการเรียกเก็บทางอ้อม
ผ่านรูปแบบของการซื้อขายสินค้าและบริการ อันได้แก่
ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะถูกเรียกเก็บจากผู้ขายสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของสินค้า 7 %
ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากกิจการเฉพาะอย่างหรือผู้ประกอบการธุรกิจ เฉพาะที่กฏหมายระบุไว้
อากรสแตมป์ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่ถูกกำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
รายจ่ายของรัฐบาลจะจำแนกตามกลุ่มโครงสร้างแผนงานที่จะกอบด้วยรายจ่ายในกลุ่มภารกิจทางเศรษฐกิจได้แก่ ด้านการผลิตสร้างรายได้
ทรัพยากรณ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมพลังงาน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมถึงรายจ่ายของรัฐ รายจ่ายในกลุ่มภารกิจทางการบริหารได้แก่
การบริหารงานของรัฐบาล พัฒนาะบบการเงิน และสนับสนุนสินค้าในกิจการส่วนพระองค์ และสุดท้ายรายจ่ายในกลุ่มภารกิจทางสังคม
คือรายจ่ายที่นำไปพัฒนาประชาชน และความมั่นคงของชาติ
ฉะนั้นภาษีที่เราเสียนั้นจึงมีความหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศมากไม่ว่าจะนำมาเป็นเงินกองทุนหมุนเวียนภายในประเทศ
หรือการพัฒนาประเทศในเจริญตามยุคสมัยมากยิ่งขึ้น แต่เงินภาษีนั้นใช่ว่าเราจะได้เสียไปหมดทุกอย่าง บางอย่างเราสามารถนำมาลดหย่อนได้
และเงินจากภาษียังอำนวยความสะดวกกลับมายังประชาชนอย่างเช่น รถเมล์ฟรีเพื่อประชาชนเป็นต้น
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคงจะได้คำตอบแล้วนะครับภาษีไม่จ่ายไม่ได้ครับเพราะเป็นหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด หากมีรายได้หรือประกอบ
กิจการที่เข้าข้อกำหนดตามกฎหมายแล้ว จะต้องชำระภาษี ไม่เช่นนั้นแล้วจะมีโทษปรับ ถูกอายัดบัญชี จนไปถึงต้องระวางโทษจำคุกได้
การจ่ายภาษี เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องแสดงรายได้ของตนเอง หรือประเมินตนเอง หรืออาจถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ก่อน